Business
marimekko แฟชั่นลายดอกไม้ ยอดขาย 5,000 ล้านบาท
16 ต.ค. 2022
marimekko แฟชั่นลายดอกไม้ ยอดขาย 5,000 ล้านบาท /โดย ลงทุนเกิร์ล
บางคนอาจคิดว่า marimekko (มาริเมกโกะ) มาจากประเทศญี่ปุ่น
แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วแบรนด์นี้ไม่ได้มาจากญี่ปุ่น
แถมในตอนแรก แบรนด์ marimekko ก็ยังมี “การห้ามใช้ลายดอกไม้” อีกด้วย
เรื่องราวของ marimekko น่าสนใจอย่างไร ?
marimekko มีต้นกำเนิดมาจากที่ไหน ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 71 ปีที่แล้ว
มีบริษัทพิมพ์ลายผ้าเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ที่ชื่อว่า Printex ตั้งอยู่ในเมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
คุณ Armi Ratia ผู้เป็นภรรยาของ เจ้าของโรงพิมพ์แห่งนี้
ต้องการสร้างความแตกต่างให้กับโรงพิมพ์ของสามี
จึงได้เริ่มชักชวนศิลปินรุ่นใหม่ ให้มาออกแบบลายผ้าที่มีเฉพาะแค่ที่โรงพิมพ์ Printex เท่านั้น
โดยศิลปินคนแรกที่มาออกแบบลายผ้าให้กับ Printex ก็คือ คุณ Maija Isola
ลายผ้าที่เธอออกแบบ ถือว่าเป็นลวดลายที่ทันสมัยมาก สำหรับในสมัยนั้น
และผู้คนในเมืองนี้ ก็ยังพากันชื่นชมลายผ้านี้กันไปทั่ว
แต่ปัญหาใหญ่คือ สินค้ากลับขายไม่ออก..
เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณ Armi Ratia จึงต้องคิดหาทางแก้ไขโดยด่วน
แต่ใครจะไปรู้ว่า จากสินค้าที่ขายไม่ออกในวันนั้น
จะกลายมาเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ จนใครก็คาดไม่ถึง..
คุณ Armi Ratia ได้ชักชวนให้คุณ Riitta Immonen ซึ่งเป็นดิไซเนอร์ชื่อดังในขณะนั้น ใช้ลายผ้าที่คุณ Maija Isola ออกแบบ มาตัดเย็บชุด แล้วนำไปจัดแฟชั่นโชว์
โดยสาเหตุที่ทำให้เธอเลือกจัดแฟชั่นโชว์ ก็เพื่อต้องการแสดงให้ลูกค้าเห็นว่า ผ้าที่เธอผลิตขึ้นมา เวลานำไปใช้งานจริง จะออกมาหน้าตาแบบไหน
ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า ผลจากการนำผ้าเดิมที่ขายไม่ออก มาตัดเย็บเป็นชุด แล้วจัดแฟชั่นโชว์ จะทำให้สินค้าขายดีอย่างถล่มทลาย จนสินค้าทุกชิ้น Sold Out ภายในวันนั้นทันที
ที่น่าทึ่ง คือ หลังจากงานแฟชั่นโชว์ เพียงไม่กี่วัน
บริษัท marimekko ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ในปี 1951
โดยชื่อ “marimekko” เป็นภาษาฟินแลนด์ ที่มีความหมายว่า “ชุดของ Mary”
“Mari” ในภาษาฟินแลนด์ หมายถึงชื่อ Mary หรือ Maria ที่เป็นเหมือนชื่อทั่ว ๆ ไปของผู้หญิง
ส่วน “Mekko” หมายถึงชุดกระโปรงที่เรียบง่าย
ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ก็ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์
นั่นก็คือ ชุดกระโปรงเรียบ ๆ สวมใส่สบาย แสดงถึงไลฟ์สไตล์ง่าย ๆ ของชาวฟินแลนด์
และในปี 1952 marimekko ก็ได้เปิดร้านสาขาแรกที่ เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
ส่วนโลโกของ marimekko ถูกออกแบบขึ้นเมื่อปี 1954 ให้เป็นตัวหนังสือแบบ “ตัวพิมพ์ดีด”
เนื่องจากคุณ Armi Ratia ตั้งใจให้โลโกดูเรียบง่าย และดูคลาสสิก ไม่ตกยุค
แม้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แบรนด์ marimekko จะได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาโดยตลอด
แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่คุณ Armi Ratia ผู้ก่อตั้งแบรนด์ รู้สึกต่อต้านมาเสมอ นั่นก็คือ “ลายดอกไม้”
แต่คุณ Maija Isola ศิลปินคนแรก ที่ออกแบบลายผ้าให้กับแบรนด์ ได้ทำการฉีกกฎข้อนี้
และออกแบบลาย Unikko
ถึงแม้คุณ Armi Ratia จะรู้สึกต่อต้านการใช้ลายดอกไม้มาโดยตลอด
แต่การตัดสินใจวางขายสินค้าชิ้นนี้ กลับกลายเป็นเรื่องที่มาถูกทาง
เพราะหลังจากวางขายได้ไม่นาน ลาย Unikko ก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม
จนทำให้มีลายดอกไม้อื่น ๆ ออกมาวางขายตาม ๆ กัน
และที่สำคัญคือ ลายดอกไม้ ยังคงเป็นหนึ่งในลายที่ได้รับความนิยมจนถึงตอนนี้
ปัจจุบัน marimekko มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 13,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ marimekko ยังสามารถทำรายได้ระดับพันล้านบาททุก ๆ ปี โดยเฉพาะในปี 2021
ปี 2019 รายได้ 4,800 ล้านบาท กำไร 500 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 4,700 ล้านบาท กำไร 520 ล้านบาท
ปี 2021 รายได้ 5,600 ล้านบาท กำไร 900 ล้านบาท
โดยในปีที่ผ่านมา ยอดขายกว่า 61% จะมาจากยอดขายในฟินแลนด์ ตามด้วย
-เอเชียแปซิฟิก 17%
-ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) 8%
-สแกนดิเนเวีย 8%
-อเมริกาเหนือ 6%
อย่างไรก็ตามตอนนี้ คุณ Armi Ratia ผู้ก่อตั้ง marimekko ได้เสียชีวิตไปแล้ว
marimekko ได้ถูกเปลี่ยนมือเจ้าของอยู่หลายครั้ง
โดยปัจจุบัน ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานบริหาร และ CEO ของ marimekko ประเทศฟินแลนด์ก็คือ คุณ Tiina Alahuhta-Kasko
และสำหรับในประเทศไทย
บริษัทที่เป็นผู้นำเข้าและจำหน่าย
รวมถึงบริหารแบรนด์ marimekko ในประเทศไทย ก็คือ “กลุ่มบริษัทธนจิรากรุ๊ป” ซึ่งปัจจุบัน marimekko มีสาขาในไทย รวมทั้งสิ้น 12 แห่ง
เรื่องราวของ Marimekko ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัท
ที่เริ่มต้นมาจากการต่อยอดจากสิ่งที่มี
พัฒนาจนทำให้เป็นสินค้าที่ส่งออกไปทั่วโลก
และจากสินค้าธรรมดา ก็สามารถเพิ่มมูลค่าได้ ถ้าเรามีความคิดสร้างสรรค์
นอกจากนี้ Marimekko ยังทำให้เราเห็นว่า ในบางครั้ง สินค้าที่ขายไม่ออก
จริง ๆ แล้ว อาจไม่ได้อยู่ที่สินค้านั้นไม่ดี หรือ ไอเดียไม่เข้าท่า
เพียงแต่ว่า เราอาจจะยังไม่เจอวิธีนำเสนอ ให้ลูกค้าเห็นคุณค่าของมัน..
-----------------------
<ad>กลุ่มบริษัทธนจิรากรุ๊ป พุ่งเป้าพัฒนาธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) เพื่อเข้ามาเติมเต็มและต่อจิกซอว์เทรนด์ไลฟ์สไตล์ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น หลังจากประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มลูกค้าชาวไทยและต่างชาติที่มาใช้บริการร้าน Marimekko Pop-Up Café คาเฟแห่งแรกในโลก พร้อมเดินหน้าปูทางธุรกิจ F&B ภายใต้แบรนด์อื่นในเครือ หวังเจาะตลาดกลุ่มลูกค้า Gen Y - Gen Z มากขึ้น
www.facebook.com/TANACHIRAGroup
#TANACHIRA #MarimekkoCafeThailand
-----------------------
References:
-https://www.marimekko.com/com_en/world-of-marimekko/our-story
-https://company.marimekko.com/en/about-marimekko/
-https://company.marimekko.com/en/about-marimekko/history/
-https://marimekko.dfs.investis.com/
แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วแบรนด์นี้ไม่ได้มาจากญี่ปุ่น
แถมในตอนแรก แบรนด์ marimekko ก็ยังมี “การห้ามใช้ลายดอกไม้” อีกด้วย
เรื่องราวของ marimekko น่าสนใจอย่างไร ?
marimekko มีต้นกำเนิดมาจากที่ไหน ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 71 ปีที่แล้ว
มีบริษัทพิมพ์ลายผ้าเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ที่ชื่อว่า Printex ตั้งอยู่ในเมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
คุณ Armi Ratia ผู้เป็นภรรยาของ เจ้าของโรงพิมพ์แห่งนี้
ต้องการสร้างความแตกต่างให้กับโรงพิมพ์ของสามี
จึงได้เริ่มชักชวนศิลปินรุ่นใหม่ ให้มาออกแบบลายผ้าที่มีเฉพาะแค่ที่โรงพิมพ์ Printex เท่านั้น
โดยศิลปินคนแรกที่มาออกแบบลายผ้าให้กับ Printex ก็คือ คุณ Maija Isola
ลายผ้าที่เธอออกแบบ ถือว่าเป็นลวดลายที่ทันสมัยมาก สำหรับในสมัยนั้น
และผู้คนในเมืองนี้ ก็ยังพากันชื่นชมลายผ้านี้กันไปทั่ว
แต่ปัญหาใหญ่คือ สินค้ากลับขายไม่ออก..
เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณ Armi Ratia จึงต้องคิดหาทางแก้ไขโดยด่วน
แต่ใครจะไปรู้ว่า จากสินค้าที่ขายไม่ออกในวันนั้น
จะกลายมาเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ จนใครก็คาดไม่ถึง..
คุณ Armi Ratia ได้ชักชวนให้คุณ Riitta Immonen ซึ่งเป็นดิไซเนอร์ชื่อดังในขณะนั้น ใช้ลายผ้าที่คุณ Maija Isola ออกแบบ มาตัดเย็บชุด แล้วนำไปจัดแฟชั่นโชว์
โดยสาเหตุที่ทำให้เธอเลือกจัดแฟชั่นโชว์ ก็เพื่อต้องการแสดงให้ลูกค้าเห็นว่า ผ้าที่เธอผลิตขึ้นมา เวลานำไปใช้งานจริง จะออกมาหน้าตาแบบไหน
ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า ผลจากการนำผ้าเดิมที่ขายไม่ออก มาตัดเย็บเป็นชุด แล้วจัดแฟชั่นโชว์ จะทำให้สินค้าขายดีอย่างถล่มทลาย จนสินค้าทุกชิ้น Sold Out ภายในวันนั้นทันที
ที่น่าทึ่ง คือ หลังจากงานแฟชั่นโชว์ เพียงไม่กี่วัน
บริษัท marimekko ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ในปี 1951
โดยชื่อ “marimekko” เป็นภาษาฟินแลนด์ ที่มีความหมายว่า “ชุดของ Mary”
“Mari” ในภาษาฟินแลนด์ หมายถึงชื่อ Mary หรือ Maria ที่เป็นเหมือนชื่อทั่ว ๆ ไปของผู้หญิง
ส่วน “Mekko” หมายถึงชุดกระโปรงที่เรียบง่าย
ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ก็ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์
นั่นก็คือ ชุดกระโปรงเรียบ ๆ สวมใส่สบาย แสดงถึงไลฟ์สไตล์ง่าย ๆ ของชาวฟินแลนด์
และในปี 1952 marimekko ก็ได้เปิดร้านสาขาแรกที่ เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
ส่วนโลโกของ marimekko ถูกออกแบบขึ้นเมื่อปี 1954 ให้เป็นตัวหนังสือแบบ “ตัวพิมพ์ดีด”
เนื่องจากคุณ Armi Ratia ตั้งใจให้โลโกดูเรียบง่าย และดูคลาสสิก ไม่ตกยุค
แม้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แบรนด์ marimekko จะได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาโดยตลอด
แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่คุณ Armi Ratia ผู้ก่อตั้งแบรนด์ รู้สึกต่อต้านมาเสมอ นั่นก็คือ “ลายดอกไม้”
แต่คุณ Maija Isola ศิลปินคนแรก ที่ออกแบบลายผ้าให้กับแบรนด์ ได้ทำการฉีกกฎข้อนี้
และออกแบบลาย Unikko
ถึงแม้คุณ Armi Ratia จะรู้สึกต่อต้านการใช้ลายดอกไม้มาโดยตลอด
แต่การตัดสินใจวางขายสินค้าชิ้นนี้ กลับกลายเป็นเรื่องที่มาถูกทาง
เพราะหลังจากวางขายได้ไม่นาน ลาย Unikko ก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม
จนทำให้มีลายดอกไม้อื่น ๆ ออกมาวางขายตาม ๆ กัน
และที่สำคัญคือ ลายดอกไม้ ยังคงเป็นหนึ่งในลายที่ได้รับความนิยมจนถึงตอนนี้
ปัจจุบัน marimekko มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 13,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ marimekko ยังสามารถทำรายได้ระดับพันล้านบาททุก ๆ ปี โดยเฉพาะในปี 2021
ปี 2019 รายได้ 4,800 ล้านบาท กำไร 500 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 4,700 ล้านบาท กำไร 520 ล้านบาท
ปี 2021 รายได้ 5,600 ล้านบาท กำไร 900 ล้านบาท
โดยในปีที่ผ่านมา ยอดขายกว่า 61% จะมาจากยอดขายในฟินแลนด์ ตามด้วย
-เอเชียแปซิฟิก 17%
-ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) 8%
-สแกนดิเนเวีย 8%
-อเมริกาเหนือ 6%
อย่างไรก็ตามตอนนี้ คุณ Armi Ratia ผู้ก่อตั้ง marimekko ได้เสียชีวิตไปแล้ว
marimekko ได้ถูกเปลี่ยนมือเจ้าของอยู่หลายครั้ง
โดยปัจจุบัน ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานบริหาร และ CEO ของ marimekko ประเทศฟินแลนด์ก็คือ คุณ Tiina Alahuhta-Kasko
และสำหรับในประเทศไทย
บริษัทที่เป็นผู้นำเข้าและจำหน่าย
รวมถึงบริหารแบรนด์ marimekko ในประเทศไทย ก็คือ “กลุ่มบริษัทธนจิรากรุ๊ป” ซึ่งปัจจุบัน marimekko มีสาขาในไทย รวมทั้งสิ้น 12 แห่ง
เรื่องราวของ Marimekko ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัท
ที่เริ่มต้นมาจากการต่อยอดจากสิ่งที่มี
พัฒนาจนทำให้เป็นสินค้าที่ส่งออกไปทั่วโลก
และจากสินค้าธรรมดา ก็สามารถเพิ่มมูลค่าได้ ถ้าเรามีความคิดสร้างสรรค์
นอกจากนี้ Marimekko ยังทำให้เราเห็นว่า ในบางครั้ง สินค้าที่ขายไม่ออก
จริง ๆ แล้ว อาจไม่ได้อยู่ที่สินค้านั้นไม่ดี หรือ ไอเดียไม่เข้าท่า
เพียงแต่ว่า เราอาจจะยังไม่เจอวิธีนำเสนอ ให้ลูกค้าเห็นคุณค่าของมัน..
-----------------------
<ad>กลุ่มบริษัทธนจิรากรุ๊ป พุ่งเป้าพัฒนาธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) เพื่อเข้ามาเติมเต็มและต่อจิกซอว์เทรนด์ไลฟ์สไตล์ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น หลังจากประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มลูกค้าชาวไทยและต่างชาติที่มาใช้บริการร้าน Marimekko Pop-Up Café คาเฟแห่งแรกในโลก พร้อมเดินหน้าปูทางธุรกิจ F&B ภายใต้แบรนด์อื่นในเครือ หวังเจาะตลาดกลุ่มลูกค้า Gen Y - Gen Z มากขึ้น
www.facebook.com/TANACHIRAGroup
#TANACHIRA #MarimekkoCafeThailand
-----------------------
References:
-https://www.marimekko.com/com_en/world-of-marimekko/our-story
-https://company.marimekko.com/en/about-marimekko/
-https://company.marimekko.com/en/about-marimekko/history/
-https://marimekko.dfs.investis.com/