Business
กรณีศึกษา Tetra Pak บริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องเครื่องดื่ม เข้ามามีบทบาทต่อการรีไซเคิลอย่างไร ?
17 ธ.ค. 2021
หลายคนน่าจะเคยอ่านวิธีการสร้างธุรกิจให้สามารถขายสินค้าได้จำนวนมาก ๆ อยู่บ่อยครั้ง
แต่ประเด็นหนึ่งที่มักจะถูกละเลยในการพูดถึง คือ หลังจากขายสินค้าไปแล้ว สินค้าที่เราได้ผลิตขึ้นมาอาจไปจบลงด้วยการเป็นขยะอยู่ที่ไหนสักแห่ง หรือหลายร้อยแห่ง
แต่ประเด็นหนึ่งที่มักจะถูกละเลยในการพูดถึง คือ หลังจากขายสินค้าไปแล้ว สินค้าที่เราได้ผลิตขึ้นมาอาจไปจบลงด้วยการเป็นขยะอยู่ที่ไหนสักแห่ง หรือหลายร้อยแห่ง
ดังนั้น บริษัทที่เป็นผู้ผลิตเอง ตั้งแต่ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไปจนถึงผู้ผลิตตัวสินค้า ก็ควรมีส่วนเข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้ไม่แพ้การผลิตและขายสินค้า
และถ้าหากใครที่ยังไม่เห็นภาพว่าบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ จะไปมีส่วนร่วมในปลายทางของสินค้าตัวเองได้อย่างไร ?
และถ้าหากใครที่ยังไม่เห็นภาพว่าบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ จะไปมีส่วนร่วมในปลายทางของสินค้าตัวเองได้อย่างไร ?
วันนี้ลงทุนเกิร์ล มีโอกาสได้พูดคุยกับคุณปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด
ซึ่งคุณปฏิญญาจะมาร่วมแบ่งปันแนวคิดตั้งแต่การผลิต ตลอดจนการจัดการกับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วที่บริษัทผลิตขึ้น
แล้วทาง เต็ดตรา แพ้ค ประเทศไทย มีแนวคิดอย่างไร ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง..
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง..
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ เต็ดตรา แพ้ค กันสักเล็กน้อยนะคะ
เต็ดตรา แพ้ค (Tetra Pak) เป็นบริษัทผู้ให้บริการโซลูชันอุปกรณ์เครื่องจักรแบบครบวงจรสำหรับการแปรรูป และผลิตเครื่องดื่ม และอาหาร รวมไปถึง “บรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องที่ทำจากกระดาษเป็นหลัก”
เต็ดตรา แพ้ค (Tetra Pak) เป็นบริษัทผู้ให้บริการโซลูชันอุปกรณ์เครื่องจักรแบบครบวงจรสำหรับการแปรรูป และผลิตเครื่องดื่ม และอาหาร รวมไปถึง “บรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องที่ทำจากกระดาษเป็นหลัก”
โดย เต็ดตรา แพ้ค มีจุดเริ่มต้นจากประเทศสวีเดน และก่อตั้งขึ้นในปี 1952 หรือเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน
ส่วนในประเทศไทย เต็ดตรา แพ้ค ได้ดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว
ส่วนในประเทศไทย เต็ดตรา แพ้ค ได้ดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว
ที่น่าสนใจคือ ในปี 2020 ที่ผ่านมานี้ เต็ดตรา แพ้ค ประเทศไทย ยังสามารถจัดส่งบรรจุภัณฑ์มากกว่า 6,800 ล้านกล่องให้แบรนด์ต่าง ๆ มากกว่า 50 แบรนด์
ซึ่งตัวบรรจุภัณฑ์ของ เต็ดตรา แพ้ค ยังมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยกว่า 70% ของกล่องเครื่องดื่ม หรือตัวบรรจุภัณฑ์ จะผลิตมาจาก “กระดาษ” ซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด 100% และกระดาษที่นำมาใช้ผลิต ยังมาจาก “ป่าปลูกเชิงพาณิชย์” ที่ได้รับการรับรองจาก FSC™ (Forest Stewardship Council™) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างมีความรับผิดชอบ
หรือถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ ที่มาของกระดาษเหล่านี้จะไม่ได้มาจากป่าธรรมชาติ แต่มาจากป่าที่ปลูกไว้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และถ้าหากมีการตัดต้นไม้ไปแล้ว ก็จะมีการปลูกทดแทนขึ้นใหม่อยู่ตลอดและเพิ่มพื้นที่ป่า
ส่วนอีก 25-30% ที่เหลือประกอบด้วยอะลูมิเนียม และพลาสติก เพื่อใช้ปกป้องอาหารและเครื่องดื่มให้สามารถเก็บได้นาน และสะอาดปลอดภัย โดยไม่ต้องแช่เย็นและไม่ใช้วัตถุกันเสีย แต่ยังถือเป็นโจทย์สำคัญในการรีไซเคิล
ดังนั้น ด้วยความที่ เต็ดตรา แพ้ค เป็นพี่ใหญ่แห่งวงการบรรจุภัณฑ์ระดับโลก และเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีการผลิตและบรรจุแบบปลอดเชื้อ รวมไปถึงกล่องเครื่องดื่มที่เป็นกล่องแบบปลอดเชื้อที่บ้านเราเรียกกันว่า “กล่องยูเอชที”
สิ่งที่ตามมาคือ ความรับผิดชอบต่อบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นก็ต้องมากตามไปด้วย
สิ่งที่ตามมาคือ ความรับผิดชอบต่อบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นก็ต้องมากตามไปด้วย
ปีที่แล้ว เต็ดตรา แพ้ค จึงได้มีการกำหนดแคมเปญ “Go Nature. Go Carton.”
ซึ่งจะเป็นกรอบใหญ่ที่ เต็ดตรา แพ้ค ทั่วโลกร่วมกันปฏิบัติ
ซึ่งจะเป็นกรอบใหญ่ที่ เต็ดตรา แพ้ค ทั่วโลกร่วมกันปฏิบัติ
โดยมีเป้าหมายในการ “สื่อสาร” และต้องการแสดงถึง “ความมุ่งมั่น” ของบริษัท ที่ต้องการจะเดินหน้าไปสู่การเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนที่สุดในโลก
สำหรับแคมเปญ Go Nature. Go Carton. จะมีการให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก ๆ เช่น
- พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีการใช้ “วัสดุ” จากธรรมชาติ และวัสดุรีไซเคิลในสัดส่วนที่มากขึ้น
- เมื่อวัสดุถูกใช้แล้ว ต้องสามารถนำกลับมาใช้ให้ได้ทุกส่วน
- ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เท่ากับ 0 ตลอดการผลิตและตลอดวงจรชีวิตของบรรรจุภัณฑ์
- ประหยัดพลังงานในการขนส่ง
- พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีการใช้ “วัสดุ” จากธรรมชาติ และวัสดุรีไซเคิลในสัดส่วนที่มากขึ้น
- เมื่อวัสดุถูกใช้แล้ว ต้องสามารถนำกลับมาใช้ให้ได้ทุกส่วน
- ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เท่ากับ 0 ตลอดการผลิตและตลอดวงจรชีวิตของบรรรจุภัณฑ์
- ประหยัดพลังงานในการขนส่ง
และในปีนี้ ทาง เต็ดตรา แพ้ค ก็ได้ก้าวเข้าสู่เฟสที่ 2 ของแคมเปญ Go Nature. Go Carton. ซึ่งพูดถึงเรื่อง“Unfold Recycling”
โดยจะเน้นสื่อสารไปที่ประเด็น “การรีไซเคิล” กล่องบรรจุภัณฑ์ที่บริษัทผลิตขึ้น เพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่า บริษัทจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับแค่การผลิตสินค้าเพียงด้านเดียว แต่หลังจากบรรจุภัณฑ์ถูกใช้แล้ว บริษัทอยากเห็นการจัดการที่ถูกวิธี และมีการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่าในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
ภายใต้เรื่องของ Unfold Recycling ทั่วโลก เป็นไปตามคอนเซปต์ของแคมเปญสื่อสาร Go Nature Go Carton ซึ่งจะมีองค์ประกอบอยู่ 6 ด้าน ซึ่งก็คือ
1. การออกแบบเพื่อการรีไซเคิล (Go design for recycling) ซึ่งถือเป็นขั้นแรกที่มีความสำคัญต่อทั้งกระบวนการ
ดังนั้น เต็ดตรา แพ้ค จะลดการใช้วัสดุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติให้ได้มากที่สุด และยังมีการทำ R&D เพื่อหาวัสดุที่จะมาใช้ทดแทนพลาสติก และอะลูมิเนียม ซึ่งในตอนนี้สามารถทำสำเร็จได้บางส่วนแล้ว และอยู่ในขั้นของการทดลอง
ดังนั้น เต็ดตรา แพ้ค จะลดการใช้วัสดุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติให้ได้มากที่สุด และยังมีการทำ R&D เพื่อหาวัสดุที่จะมาใช้ทดแทนพลาสติก และอะลูมิเนียม ซึ่งในตอนนี้สามารถทำสำเร็จได้บางส่วนแล้ว และอยู่ในขั้นของการทดลอง
2. ทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน (Go industry coalition)
โดยร่วมมือกับทั้งผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่มรายอื่น กับแบรนด์เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องดื่ม, หน่วยงานท้องถิ่น และโดยเฉพาะภาครัฐที่กำหนดนโยบายและทิศทางในการรีไซเคิล สื่อสารเรื่องการรีไซเคิลที่ไม่ใช่เรื่องของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ดังนั้นการจะทำให้การรีไซเคิลเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ควรให้ความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน
โดยร่วมมือกับทั้งผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่มรายอื่น กับแบรนด์เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องดื่ม, หน่วยงานท้องถิ่น และโดยเฉพาะภาครัฐที่กำหนดนโยบายและทิศทางในการรีไซเคิล สื่อสารเรื่องการรีไซเคิลที่ไม่ใช่เรื่องของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ดังนั้นการจะทำให้การรีไซเคิลเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ควรให้ความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน
3. เพิ่มกำไร ให้กับผู้ประกอบการรีไซเคิล (Go recycle)
สร้างช่องทางการรับซื้อวัสดุจากโรงงานรีไซเคิล เพื่อให้ผู้ประกอบการรีไซเคิลมีรายได้หล่อเลี้ยงธุรกิจ เพราะหากขาดพวกเขาเหล่านี้ไป วงจรของการรีไซเคิลก็จะเกิดปัญหาได้
สร้างช่องทางการรับซื้อวัสดุจากโรงงานรีไซเคิล เพื่อให้ผู้ประกอบการรีไซเคิลมีรายได้หล่อเลี้ยงธุรกิจ เพราะหากขาดพวกเขาเหล่านี้ไป วงจรของการรีไซเคิลก็จะเกิดปัญหาได้
นอกจากนี้ ด้วยความที่ผู้ประกอบการรีไซเคิล มีทั้งรายเล็ก และรายใหญ่ อีกทั้งแต่ละแห่งก็จะมีความชำนาญในการรีไซเคิลวัสดุที่แตกต่างกัน ดังนั้นทาง เต็ดตรา แพ้คจึงได้มีการเข้าไปให้ความรู้ถึงวิธีการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มอย่างถูกต้อง โดยอาศัยประสบการณ์ที่ทำงานร่วมกับผู้จัดเก็บและรีไซเคิลทั่วโลก เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ และสามารถนำกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วกลับมารีไซเคิลได้เพิ่มขึ้น
4. นำวัสดุที่รีไซเคิลแล้ว กลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุด (Go recycling material)
โดยตัวกระดาษที่ถูกรีไซเคิลแล้ว จะถูกนำกลับมาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษ เช่น กล่องลังนอก หรือสิ่งที่มีประโยชน์อื่น ๆ อีกครั้ง ในส่วนของพลาสติกและอลูมิเนียมมีการพัฒนากระบวนการ Upcycle เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในรูปแบบของอุปกรณ์และเครื่องมือ เครื่องใช้ในครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นหลังคา ไม้อัดเทียม เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้อื่น ๆ
โดยตัวกระดาษที่ถูกรีไซเคิลแล้ว จะถูกนำกลับมาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษ เช่น กล่องลังนอก หรือสิ่งที่มีประโยชน์อื่น ๆ อีกครั้ง ในส่วนของพลาสติกและอลูมิเนียมมีการพัฒนากระบวนการ Upcycle เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในรูปแบบของอุปกรณ์และเครื่องมือ เครื่องใช้ในครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นหลังคา ไม้อัดเทียม เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้อื่น ๆ
5. ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีในการรีไซเคิล (Go recycling performance)
การทำให้เกิดมูลค่าสูงสุดในการรีไซเคิล เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียนมีความยั่งยืน เต็ดตรา แพ้ค ทำงานร่วมกับนักวิจัยในการพัฒนากระบวนการรีไซเคิลใหม่ ๆ ที่สามารถนำกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วมาสร้างมูลค่าใหม่ รวมถึงการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ร่วมกับบริษัทรีไซเคิล เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและความสามารถในการดำเนินกิจการในระยะยาว
การทำให้เกิดมูลค่าสูงสุดในการรีไซเคิล เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียนมีความยั่งยืน เต็ดตรา แพ้ค ทำงานร่วมกับนักวิจัยในการพัฒนากระบวนการรีไซเคิลใหม่ ๆ ที่สามารถนำกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วมาสร้างมูลค่าใหม่ รวมถึงการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ร่วมกับบริษัทรีไซเคิล เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและความสามารถในการดำเนินกิจการในระยะยาว
6. การจัดเก็บกล่องเครื่องดื่มกลับมา (Go carton collection)
อยากให้ทุกคนลองนึกภาพตามว่า ในหนึ่งวันเราทิ้งขยะที่ทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง
ซึ่งแน่นอนว่า ก็คงจะมีตั้งแต่วัสดุอย่างกล่องเครื่องดื่ม ขวดแก้ว ไปจนถึงพลาสติก ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีวิธีการจัดเก็บ และรีไซเคิลด้วยขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป
และการใช้งานแต่ละบรรจุภัณฑ์ก็ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ซึ่งคงไม่สามารถให้ผู้ผลิตทุกรายเปลี่ยนมาใช้วัสดุให้เหมือนกันทั้งหมดได้
อยากให้ทุกคนลองนึกภาพตามว่า ในหนึ่งวันเราทิ้งขยะที่ทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง
ซึ่งแน่นอนว่า ก็คงจะมีตั้งแต่วัสดุอย่างกล่องเครื่องดื่ม ขวดแก้ว ไปจนถึงพลาสติก ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีวิธีการจัดเก็บ และรีไซเคิลด้วยขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป
และการใช้งานแต่ละบรรจุภัณฑ์ก็ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ซึ่งคงไม่สามารถให้ผู้ผลิตทุกรายเปลี่ยนมาใช้วัสดุให้เหมือนกันทั้งหมดได้
ดังนั้น สิ่งที่ทางเต็ดตรา แพ้ค ประเทศไทย คิดว่าน่าจะช่วยเร่งกระบวนการนี้ได้ ก็คือ “การประสานงานให้เกิดการจัดเก็บสิ่งที่ตัวเองผลิตกลับมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ พร้อมๆ กับการสนับสนุนให้โรงงานรีไซเคิลมีศักยภาพการผลิตสินค้าจากกล่องเครื่องดื่มรีไซเคิลที่มีมูลค่าสูง เพื่อที่วัสดุใช้แล้วเหล่านั้นจะได้กลับเข้ามาสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด”
นอกจากนี้ ยังต้องเข้าไปให้ความรู้และทำความเข้าใจกับหน่วยงานจัดเก็บขยะว่า กล่องเครื่องดื่มเหล่านี้สามารถส่งกลับมาให้โรงงานผู้ประกอบการรีไซเคิลนำไปใช้ต่อได้ เพราะไม่เช่นนั้น กล่องเหล่านี้ก็อาจไปจบลงในหลุมฝังกลบขยะ
โครงการด้านการจัดเก็บและรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มหรือกล่องยูเอชทีของเต็ดตรา แพ้ค ภายใต้เรื่องราว Unfold Recycling นั้น มีอยู่ในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทย คือ โครงการที่ชื่อว่า “BECARE Project” ซึ่งย่อมาจาก Beverage Carton Recycling Project หรือเรียกในอีกชื่อว่า “โครงการกล่องยูเอชทีรีไซเคิลได้”
โดยตัวโครงการนี้มีเป้าหมายในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บ และการรีไซเคิลกล่องยูเอชทีอย่างถูกวิธี เพื่อลดจำนวนขยะจากกล่องยูเอชที แถมยังได้เพิ่มอัตราการรีไซเคิลกล่องยูเอชทีไปพร้อม ๆ กัน
ซึ่ง BECARE Project เป็นโครงการที่มีมากกว่า 5 ปี และมีจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการแล้วมากถึง 20 จังหวัด
โดยตัวโครงการจะมีการสร้างจุดรับกล่องยูเอชทีใช้แล้วร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น และอาสาเทศบาล รวมถึงโรงเรียน, สถานพยาบาล และหน่วยงานสิ่งแวดล้อมในเขต ของจังหวัดที่เป็นสมาชิก
หลังจากสร้างจุดรับกล่องยูเอชทีใช้แล้วเรียบร้อย
ทางโครงการก็จะส่งรถไปรับกล่องที่ใช้แล้วกลับมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
ซึ่งในปัจจุบันตัวโครงการสามารถจัดเก็บกล่องได้มากกว่า 2,763 ตัน
ทางโครงการก็จะส่งรถไปรับกล่องที่ใช้แล้วกลับมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
ซึ่งในปัจจุบันตัวโครงการสามารถจัดเก็บกล่องได้มากกว่า 2,763 ตัน
BECARE Project ยังมีการนำกล่องยูเอชทีมารีไซเคิลเป็นกระดาษทำ “สื่ออักษรเบรลล์” สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตา โดยที่ผ่านมา สามารถส่งมอบไปแล้วกว่า 1 ล้านแผ่นให้กับโรงเรียนสอนคนตาบอด 13 แห่งทั่วไทย เรียกได้ว่าเป็นโครงการที่ได้ช่วยสิ่งแวดล้อม และยังได้ช่วยเหลือผู้ขาดโอกาสในสังคมอีกด้วย
แต่ไม่เพียงเท่านั้น อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญ และมีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บและรีไซเคิล ก็คือ “การร่วมมือ”
แต่ไม่เพียงเท่านั้น อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญ และมีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บและรีไซเคิล ก็คือ “การร่วมมือ”
เนื่องจากผู้บริโภค ที่ใช้กล่องยูเอชทีมีอยู่ทุกพื้นที่ ทั่วประเทศไทย
ดังนั้น จึงต้องอาศัยแรงจากทุกภาคส่วน เข้ามาช่วยให้งานจัดเก็บและรีไซเคิลกล่องยูเอชทีสามารถดำเนินได้ตามเป้าหมาย
ดังนั้น จึงต้องอาศัยแรงจากทุกภาคส่วน เข้ามาช่วยให้งานจัดเก็บและรีไซเคิลกล่องยูเอชทีสามารถดำเนินได้ตามเป้าหมาย
โดยตลอดเวลากว่า 5 ปีที่ BECARE Project ได้ดำเนินงานมา ตัวโครงการยังได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือระหว่างพันธมิตรทางอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่มเช่นกัน แบรนด์เจ้าของผลิตภัณฑ์ หน่วยงานรัฐในท้องถิ่น และองค์กรต่าง ๆ
ซึ่งความสำเร็จของ BECARE Project ในการส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกันของหน่วยงานต่าง ๆ ยังได้สะท้อนออกมาให้เห็นจาก จำนวนจังหวัดที่เข้าเป็นสมาชิกในปี 2021 ที่เดิมทีทางโครงการได้วางแผนไว้อยู่ที่ 16 จังหวัด
แต่ผลปรากฏว่า หน่วยงานท้องถิ่น ในจังหวัดอื่น ๆ เล็งเห็นถึงประโยชน์ และศักยภาพของ BECARE Project จึงได้ติดต่อเข้ามาขอเข้าร่วมโครงการ จนทำให้จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าที่วางแผนไว้ และยิ่ง BECARE Project มีจังหวัดที่เข้าร่วมมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้การจัดเก็บ และรีไซเคิลเกิดผลกระทบในวงกว้างมากขึ้น
อีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ ในปีหน้าทางโครงการยังได้ต่อยอดความสำเร็จของ BECARE Project ด้วยการพัฒนา “แอปพลิเคชัน” ที่จะนำมาใช้สื่อสารกับหน่วยงานท้องถิ่นต่าง ๆ ในเรื่องการจัดเก็บ เช่น
แต่ละจุดรับมีจำนวนกล่องยูเอชทีที่เก็บมาแล้วเท่าไร
และเมื่อรู้ตัวเลขที่แน่นอน ทางโครงการก็จะนำไปประเมินว่า หากจะส่งรถ 1 คันไปบรรทุกกล่องให้เต็มคันรถ จะต้องแวะไปที่จุดไหนบ้าง เพื่อให้การส่งรถออกไปในแต่ละครั้งเกิดประสิทธิภาพ และลดการสูญเสียทรัพยากรในกระบวนการขนส่งให้ได้มากที่สุดนั่นเอง..
และเมื่อรู้ตัวเลขที่แน่นอน ทางโครงการก็จะนำไปประเมินว่า หากจะส่งรถ 1 คันไปบรรทุกกล่องให้เต็มคันรถ จะต้องแวะไปที่จุดไหนบ้าง เพื่อให้การส่งรถออกไปในแต่ละครั้งเกิดประสิทธิภาพ และลดการสูญเสียทรัพยากรในกระบวนการขนส่งให้ได้มากที่สุดนั่นเอง..
เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้ สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้จาก เต็ดตรา แพ้ค ประเทศไทย ก็คือ การทำธุรกิจจึงไม่ใช่แค่การคำนึงว่าเราต้องการนำเสนออะไรเท่านั้น แต่ยังต้องมองไปให้ไกลกว่านั้นว่า สิ่งที่เราผลิตจะสร้างผลกระทบอะไรต่อโลก และในฐานะผู้ผลิตควรจะเข้ามารับผิดชอบอย่างไร ซึ่งคุณปฏิญญา ก็ได้ให้แง่คิดในเรื่องนี้ไว้ว่า
“หน้าที่ของเรา คือ ทำอย่างไรให้กล่องที่เราผลิตหรือกล่องประเภทเดียวกันไม่ถูกทิ้งกลายเป็นขยะ
และทำให้กล่องเหล่านี้ สามารถนำกลับมาสู่กระบวนการให้ได้มากที่สุด”
และทำให้กล่องเหล่านี้ สามารถนำกลับมาสู่กระบวนการให้ได้มากที่สุด”
ดังนั้น สิ่งที่ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อย่างเราทำได้ ก็คือ พัฒนาตัวบรรจุภัณฑ์ตัวใหม่ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ใช้วัสดุทดแทนได้จากธรรมชาติมากขึ้น รีไซเคิลง่ายขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการรีไซเคิล เพื่อที่ในอนาคตเราจะสามารถนำวัสดุใช้แล้วทั้งหมดกลับมารีไซเคิลได้ โดยไม่สร้างภาระให้โลก”
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมแคมเปญ Go Nature Go Carton ได้ที่ https://www.tetrapak.com/…/campaig…/go-nature-go-carton/home