Entertainment
กรณีศึกษา ทำไม “ร่างทรง” ภาพยนตร์ที่กำกับโดยคนไทย ถึงไปฮิตที่เกาหลีใต้ ?
22 ก.ค. 2021
กรณีศึกษา ทำไม “ร่างทรง” ภาพยนตร์ที่กำกับโดยคนไทย ถึงไปฮิตที่เกาหลีใต้ ? /โดย ลงทุนเกิร์ล
“ถ้าเจอผีที่ต่างประเทศ เราต้องสวดมนต์ภาษาอะไร ?” แม้นี่อาจจะเป็นคำถามเชิงขบขัน แต่ก็คงมีคนไม่น้อยที่ต้องการคำตอบ เพราะทั้งภาษาและสัญชาติก็แตกต่างกัน แล้วจะเจรจากันรู้เรื่องได้อย่างไร ?
แต่สำหรับ “ร่างทรง” หรือ “THE MEDIUM” ภาพยนตร์สยองขวัญสัญชาติไทย กลับกำลังสร้างความหลอนขีดสุดให้กับคนเกาหลีใต้
และยังประสบความสำเร็จอย่างมากจนขึ้นแท่นอันดับ 1 รายได้แตะ 36 ล้านบาท รวมยอดจำหน่ายตั๋ว 1.29 แสนใบหลังจากที่หนังเข้าฉายวันแรก
และยังประสบความสำเร็จอย่างมากจนขึ้นแท่นอันดับ 1 รายได้แตะ 36 ล้านบาท รวมยอดจำหน่ายตั๋ว 1.29 แสนใบหลังจากที่หนังเข้าฉายวันแรก
แล้วทำไมคนเกาหลีใต้ ถึงให้ความสนใจภาพยนตร์เรื่องร่างทรงมากขนาดนี้ ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นเลยเรามาไขข้อข้องใจกันก่อนว่าทำไม “ร่างทรง” ที่เป็นหนังผีสัญชาติไทย ถึงได้ไปแลนดิงฉายที่ประเทศเกาหลีใต้ ก่อนประเทศบ้านเกิดของตัวเองเสียอีก
จริง ๆ แล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้มาจากฝีมือของคนไทย 100% แต่เป็นการจับมือร่วมกันระหว่างค่าย GDH และ Showbox บริษัทผลิตภาพยนตร์ของเกาหลีใต้ โดยที่ทุนการสร้างหลักก็มาจากประเทศเกาหลีใต้
ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาดในประเทศไทยยังคงรุนแรง ทำให้โรงภาพยนตร์ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ไปฉายที่ประเทศเกาหลีใต้ก่อน
อย่างไรก็ตามภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการการันตีความหลอนจาก 2 ผู้กำกับ ผู้มากประสบการณ์ในภาพยนตร์สยองขวัญ
นั่นก็คือ คุณบรรจง ปิสัญธนะกูล หรือคุณโต้งที่ทำคนไทยขนหัวลุกและรู้สึกปวดบ่ากันมาแล้วกับ “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” รวมถึงภาพยนตร์ผีอีกหลายเรื่อง เช่น แฝด, สี่แพร่ง หรือห้าแพร่ง
และทวีคูณความหลอนขึ้นไปอีกขั้น ด้วยฝีมือของคุณนาฮงจิน โปรดิวเซอร์ชาวเกาหลีใต้ ผู้สร้าง The Wailing ภาพยนตร์ผีสยองขวัญน้ำดี ที่ทำรายได้ในเกาหลีใต้ไปมากกว่า 1,684 ล้านบาท
ดังนั้นการที่ภาพยนตร์เรื่องร่างทรง มีกระแสตอบรับที่ดีตั้งแต่ยังไม่เข้าฉายจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
และถ้าถามว่าภาพยนตร์เรื่องร่างทรงนั้นน่ากลัวขนาดไหน ก็ตอบได้เลยว่าถึงขนาดที่โรงภาพยนตร์ของเกาหลีต้องเปิดรอบฉายภาพยนตร์แบบ “เปิดไฟ” พร้อมแจกที่อุดหู เพื่อให้คนขี้กลัวแต่ยังอยากสัมผัสประสบการณ์สยองขวัญ ยังสามารถเข้าชมได้อยู่
ซึ่งนอกเหนือจากฝีมือของผู้กำกับทั้ง 2 คนแล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จ นั่นก็คือ “ความเชื่อ”
เพราะแม้ว่าคนไทยและคนเกาหลีใต้จะมีภาษา, วัฒนธรรม และศาสนาที่แตกต่างกัน แต่รู้หรือไม่ว่าความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติของทั้งสองประเทศกลับสอดคล้องกันมาก ๆ
อย่างความเชื่อทั่ว ๆ ไป เช่น ห้ามใช้ “หมึกสีแดง” เขียนชื่อเพราะจะแสดงถึงลางไม่ดี
หรือแม้แต่การขานรับ “เสียงกระซิบ” เรียกตอนกลางคืน อาจหมายถึงวิญญาณจะมาเอาตัวไป
หรือแม้แต่การขานรับ “เสียงกระซิบ” เรียกตอนกลางคืน อาจหมายถึงวิญญาณจะมาเอาตัวไป
รวมถึงความเชื่อเรื่องคนทรง, วิญญาณ, อาถรรพ์และเรื่องลี้ลับ ที่เรายังคงพบเห็นข่าวการไล่ผีตามต่างจังหวัดและชนบทอยู่บ่อย ๆ ซึ่งก็ไม่ต่างกับความเชื่อของคนเกาหลีใต้ ที่ยังคงมีร่างทรงและหมอดูให้พบได้ทั่วไปในสังคมเช่นกัน
ดังนั้นการที่ทั้ง 2 ประเทศมีความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติที่คล้าย ๆ กัน
จึงทำให้คนดูเข้าใจเนื้อหาและรู้สึกไปกับภาพยนตร์ได้ง่าย
จึงทำให้คนดูเข้าใจเนื้อหาและรู้สึกไปกับภาพยนตร์ได้ง่าย
ในขณะเดียวกันหากเราเอาความสยองขวัญเหล่านี้ไปฉายทางแถบตะวันตก คนดูก็อาจจะเข้าไม่ถึงความน่ากลัวของภาพยนตร์ก็ได้เนื่องจากความเชื่อที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตามเราก็คงต้องมารอลุ้นกับเสียงตอบรับของแฟน ๆ จากทั่วโลกกันอีกที เพราะร่างทรงไม่ได้ฉายแค่ที่ประเทศเกาหลีใต้และประเทศไทยเท่านั้น
แต่ยังมีโอกาสไปโด่งดังบนเวทีสากลเนื่องจากจะถูกจัดจำหน่ายโดย The Jokers Films
บริษัทที่พา The Handmaiden และ Parasite ภาพยนตร์ของเกาหลีใต้ไปสู่ระดับนานาชาติมาแล้ว
บริษัทที่พา The Handmaiden และ Parasite ภาพยนตร์ของเกาหลีใต้ไปสู่ระดับนานาชาติมาแล้ว
ดังนั้นการร่วมทุนสร้างระหว่างไทยและเกาหลีใต้ในครั้งนี้ อาจเป็นใบเบิกทางให้ภาพยนตร์ไทยไปสู่เวทีโลกด้วยก็เป็นได้
แต่นอกจากการโกอินเตอร์สู่ต่างแดนแล้ว การร่วมทุนสร้างภาพยนตร์ครั้งนี้ยังสะท้อนอะไรให้เราเห็นบ้าง ?
ฝีมือนักแสดงไทย ที่เป็นดั่ง “เพชรในตม”
หากใครได้ดูตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องนี้แล้ว คงสังเกตได้ว่านักแสดงหลักของเรื่องไม่ใช่นักแสดงดัง ๆ แต่กลับเป็นนักแสดงที่เราไม่คุ้นตามาก่อน ซึ่งถ้าหากอยู่ในแวดวงภาพยนตร์จริง ๆ ก็จะทราบดีว่าโปรไฟล์ของนักแสดงเหล่านี้ไม่ธรรมดา
อย่างคุณสวนีย์ อุทุมมา หรือคุณเอี้ยง นักแสดงอิสระและแอ็กติงโค้ช ที่รับบทบาทเป็นนักแสดงสมทบอยู่หลายเรื่อง และยังเป็นบุคคลสำคัญในวงการละครเวทีไทยอีกด้วย
หรือคุณธนัชพร บุญแสง นักแสดงหน้าใหม่ที่โลดแล่นในสายประกวดนางงามมาก่อน
ก็ได้รับเลือกให้แสดงในเรื่องนี้เช่นกัน
ก็ได้รับเลือกให้แสดงในเรื่องนี้เช่นกัน
ซึ่งหากภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างโดยคนไทยทั้งหมด
เราอาจจะไม่มีโอกาสเห็นนักแสดงหน้าใหม่เป็นตัวละครเด่น ๆ ก็ได้
เราอาจจะไม่มีโอกาสเห็นนักแสดงหน้าใหม่เป็นตัวละครเด่น ๆ ก็ได้
พฤติกรรมการเสพภาพยนตร์ของคนไทย
ภาพยนตร์สยองขวัญส่วนใหญ่ในไทยมักจะเน้นการใส่ “Jump Scare” หรือฉากที่ทำให้คนดูสะดุ้งตกใจจากการที่ผีโผล่ออกมาอยู่บ่อย ๆ หรือความสยองขวัญผสมกับตลก มากกว่าเน้นเค้าโครงเรื่องที่ซับซ้อน องค์ประกอบภาพสวยงาม
ซึ่งนั่นก็มาจากแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ชอบเสพภาพยนตร์สยองขวัญที่น่ากลัวแต่ไม่มีเนื้อหาหนัก
ดังนั้นนายทุนจึงสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์ประเภทนี้มากกว่า เพราะมองว่ามีตลาดรองรับอยู่แล้ว
ดังนั้นนายทุนจึงสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์ประเภทนี้มากกว่า เพราะมองว่ามีตลาดรองรับอยู่แล้ว
เรื่องนี้จึงเป็นสาเหตุให้คนที่สร้างภาพยนตร์ต้องผลิตสื่อที่ตอบโจทย์ทั้ง “นายทุน” และ “คนเสพสื่อ” เป็นส่วนใหญ่
ดังนั้นการร่วมสร้างภาพยนตร์กับต่างชาติ จึงทำให้ผู้สร้างมองฐานผู้บริโภคที่กว้างขึ้นไปด้วย จึงทำให้ผู้ผลิตมีโอกาสสร้างสรรค์งานศิลปะได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดเดิม ๆ
ศักยภาพของ “บุคลากร” ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย
ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็สามารถแสดงถึงศักยภาพของทีมงานเบื้องหลังได้เป็นอย่างดี
ซึ่งผลงานเรื่องนี้ยังทำให้คุณโต้ง ได้รับรางวัล “Best of Bucheon” จากเทศกาล Bucheon International Fantastic Film Festival ครั้งที่ 25 ในประเทศเกาหลีใต้อีกด้วย
ซึ่งผลงานเรื่องนี้ยังทำให้คุณโต้ง ได้รับรางวัล “Best of Bucheon” จากเทศกาล Bucheon International Fantastic Film Festival ครั้งที่ 25 ในประเทศเกาหลีใต้อีกด้วย
และนอกจากคุณโต้งแล้ว ก็ยังมีผู้กำกับไทยอีกหลายคนที่สามารถไปยืนอยู่บนเวทีระดับนานาชาติในปีนี้
อย่างคุณบาส นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ที่ชนะรางวัล “Creative Vision” บนเวที Sundance Film Festival 2021 จากเรื่อง “One for the Road” ซึ่งได้รับทุนการสร้างจากบริษัทฮ่องกง Jet Tone Films และ Block 2 Pictures
รวมถึงคุณเจ้ย อภิชาติพงศ์ อีกหนึ่งผู้กำกับที่เพิ่งคว้ารางวัล “Jury Prize” จากเรื่อง “Memoria” ที่ไปฉายหนังที่เมืองคานส์ในปีนี้ และยังได้รับเสียงตบมือดังทั่วโรงภาพยนตร์ยาวนานถึง 14 นาที
ซึ่งการที่เราเห็นคนไทยหลาย ๆ คน ได้ไปยืนอยู่บนเวทีภาพยนตร์สากลแล้ว ก็คงไม่ต้องสงสัยถึงศักยภาพและการสร้างสรรค์ผลงานของคนไทยเลย
แต่ทำไมการพัฒนาวงการภาพยนตร์ของไทยยังคงอยู่กับที่กัน ?
และหากปราศจากพันธมิตร และเงินทุนจากต่างชาติ ภาพยนตร์ของไทยจะสามารถไปสู่ระดับโลกได้หรือไม่ ?
และหากปราศจากพันธมิตร และเงินทุนจากต่างชาติ ภาพยนตร์ของไทยจะสามารถไปสู่ระดับโลกได้หรือไม่ ?
ซึ่งหนึ่งในคำตอบของคำถามเหล่านี้ ก็คือ “ขาดการสนับสนุนของภาครัฐ” ที่เป็นปัญหาเรื้อรังมาอย่างยาวนาน
โดยสิ่งที่คนไทยขาดใหญ่ ๆ คือ “เงินทุน” ในการสร้างหนังสเกลใหญ่ ๆ ไปเทียบชั้นกับต่างชาติ
และปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มี “กองทุนภาพยนตร์ไทย” อย่างจริงจังเลยด้วยซ้ำ
ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ ในการขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ ในการขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นหากภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ไม่แน่ภาพยนตร์ที่สร้างสรรค์ด้วยฝีมือคนไทยแบบเต็มขั้น อาจจะสามารถเดินทางไกลด้วยตัวเองไปจนถึงบนเวทีโลกก็เป็นได้..