Business
กรณีศึกษา I Love Flower Farm ธุรกิจฟาร์มดอกไม้ ที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
29 ม.ค. 2021
กรณีศึกษา I Love Flower Farm ธุรกิจฟาร์มดอกไม้ ที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง /โดย ลงทุนเกิร์ล
ถ้าจะพูดถึงฟาร์มดอกไม้สักแห่งในประเทศไทย
ชื่อของ I Love Flower Farm และภาพดอกไม้สีแดงสด ก็คงจะขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ ในใจของใครหลายคน
แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังของธุรกิจฟาร์มดอกไม้นี้ มีรายละเอียดที่ลึกซึ้งซ่อนอยู่มากมาย
แล้วเรื่องราวของ I Love Flower Farm น่าสนใจแค่ไหน?
ลงทุนเกิร์ลจะพาทุกคนไปที่ฟาร์มแห่งนี้กันค่ะ
I Love Flower Farm คือธุรกิจฟาร์มดอกไม้ ที่เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
โดยมีผู้บุกเบิก 2 คนสำคัญก็คือ คุณบอล สิริกร นันทขว้าง และคุณปุ้ย ณวิสาร์ มูลทา
ครอบครัวของคุณปุ้ย เป็นชาวเชียงใหม่ และทำธุรกิจฟาร์มดอกไม้สำหรับ “ขายส่ง” มากว่า 20 ปีแล้ว
แต่ปัญหาที่ต้องประสบพบเจอมาตลอดหลายปี คือ เรื่องของราคาดอกไม้ที่ไม่แน่นอน
บางช่วงก็ราคาตก จนแทบจะไม่คุ้มกับสิ่งที่ลงทุนไป
นอกจากนี้ การขายส่งดอกไม้ ยังต้องขายผ่านพ่อค้าคนกลาง
ซึ่งจะยิ่งทำให้ทางฟาร์มไม่มีอำนาจต่อรองเรื่องราคา และยังขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ คุณปุ้ย และคุณบอล สองสามีภรรยาที่เล็งเห็นว่าไม่ควรจะปล่อยให้สถานการณ์เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ
จึงได้ตัดสินใจแก้ปัญหาให้กับฟาร์มของครอบครัวด้วยการเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ที่ลูกค้าสามารถมาเดินเล่น ถ่ายรูป จิบชากาแฟได้
แต่จุดประสงค์จริงๆ ของการเปิดให้คนเข้ามาเที่ยว ก็เพื่อ “ทำการตลาด” ให้คนรู้จักฟาร์มดอกไม้ของตนมากขึ้น จะได้มีลูกค้าเข้ามาซื้อดอกไม้กับฟาร์มโดยตรง
ซึ่งผลปรากฏว่า ได้รับเสียงตอบรับที่ดีเกินคาด และยังมีออแกไนเซอร์รับจัดงานแต่งงานติดต่อเข้ามาขอซื้อดอกไม้กับฟาร์มโดยตรงเยอะมาก จนทางฟาร์มสามารถกระจายออเดอร์ที่เข้ามาให้กับฟาร์มดอกไม้อื่นๆ ในชุมชนได้
นอกจากนี้ ข้อดีของการขายดอกไม้ให้กับออแกไนเซอร์ ก็คือ
ทางฟาร์มสามารถวางแผนล่วงหน้าสำหรับการปลูกดอกไม้ได้ตามยอดคำสั่งซื้อที่เข้ามา
และที่สำคัญ ยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องราคาที่ไม่แน่นอนได้อีกด้วย เพราะฟาร์มจะตกลงเรื่องราคากับออแกไนเซอร์ไว้ล่วงหน้าเรียบร้อย
เมื่อเสียงตอบรับดีขึ้น คุณปุ้ยและคุณบอลจึงตัดสินใจขยับขยายกิจการ ด้วยการเปิดฟาร์มท่องเที่ยวแบบจริงจัง ด้วยการไปเช่าที่ของชาวบ้านในละแวกนั้น
แล้วเปิดเป็น I Love Flower Farm อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
ส่วนฟาร์มดอกไม้เดิม ก็จะไม่ได้เปิดให้เข้าชมแล้ว
เพราะจะเตรียมไว้สำหรับขายส่งดอกไม้เป็นหลัก
สำหรับ I Love Flower Farm ฟาร์มดอกไม้ ที่เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบจริงจัง เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ซึ่งการเกิดขึ้นของฟาร์มดอกไม้แห่งนี้ กำลังทำให้ชุมชนรอบๆ ฟาร์มนี้เปลี่ยนไป..
เริ่มตั้งแต่ลานจอดรถ ที่ไม่ใช่แค่ลานจอดรถธรรมดา
ทาง I Love Flower Farm ได้เปิดให้คนในชุมชนมาตั้งร้านขายสินค้าได้ฟรี
โดยตัวลานจอดรถยังตั้งอยู่ห่างจากฟาร์ม
ซึ่งลูกค้าจะต้องต่อรถมอเตอร์ไซค์พ่วงเข้าฟาร์ม
เนื่องจากถนนที่จะเลี้ยวเข้าฟาร์มค่อนข้างแคบ
และถ้าหากมีรถยนต์ขับสวนกัน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
โดยรถมอเตอร์ไซค์พ่วงที่มีไว้บริการนักท่องเที่ยว จะมีค่าบริการอยู่ที่คนละ 20 บาท
ซึ่งคนขับทั้งหมด จะมาจากชาวบ้านในชุมชนนี้
ที่สำคัญคือ เงินจำนวน 20 บาทนี้ จะหักให้คนขับรถ ขาไป-กลับ 10 บาท
อีก 5 บาท จะหักเข้าเป็นเงินส่วนกลางให้ชุมชน
และที่เหลืออีก 5 บาท จะนำไปใช้เพื่อดูแลจัดการบริหารลานจอดรถ
ซึ่งทางฟาร์มจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเงินส่วนนี้เลย และจะปล่อยให้ชุมชนจัดการเอง
ถัดมาเป็นเรื่องของ “ค่าเข้าฟาร์มดอกไม้”
ลูกค้าจะจ่ายเพียงแค่ 70 บาท และยังได้รับเซตน้ำ - ขนม เมื่อเข้าไปในฟาร์มด้วย
ที่น่าสนใจคือ เซตน้ำ - ขนมนี้จะทำโดยกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน
และทาง I Love Flower Farm จะหักเงินทุกๆ 20 บาท จากค่าเข้า แล้วจ่ายให้กับชาวบ้านกลุ่มนี้
ซึ่งหลังจากหักค่าแรงให้คนงาน และการดูแลจัดการต่างๆในฟาร์ม
ทาง I Love Flower Farm จะเหลือกำไรทั้งหมดเพียง 5 บาทเท่านั้น
อีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ ภายใน I Love Flower Farm จะมีตากล้องมืออาชีพไว้ให้ลูกค้าที่สนใจสามารถจ้างได้
โดยทาง I Love Flower Farm จะไม่หักเงินใดๆ จากเหล่าตากล้อง
แม้ว่า I Love Flower Farm จะไม่ได้ผลประโยชน์กลับมาเป็นตัวเงิน
แต่ภาพถ่ายจากเหล่าช่างภาพ ก็กลายเป็นงานโฆษณาชั้นดีให้กับ I Love Flower Farm
เพราะถ้าลูกค้าเขาได้รูปที่สวย เขาก็อยากจะโพสต์รูปลงโซเชียลมีเดียเยอะๆ
และถ้าคนอื่นๆ เห็นก็คงอยากจะลองมาใช้บริการที่นี่บ้าง
เมื่อ I Love Flower Farm ประสบความสำเร็จ
ชาวบ้านในชุมชนนี้ จึงเริ่มหันมาเปิดฟาร์มดอกไม้ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมตามๆ กัน
เราอาจจะคิดว่า พวกเขาจะกลายมาเป็นคู่แข่งกันหรือไม่
แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาทั้งหมดคือ พันธมิตรกัน
โดยทาง I Love Flower Farm เองจะมีการจำกัดจำนวนคนเข้าให้ไม่เกิน 200 คนต่อวัน
เพื่อไม่ให้คนด้านในแออัดจนเกินไป และยังเพื่อกระจายลูกค้าไปให้กับสวนดอกไม้อื่นๆในชุมชน
เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้
คำถามสำคัญในใจใครหลายคน ก็คงจะเป็น
“คุณปุ้ยและคุณบอลได้อะไรจากการทำ I Love Flower Farm?”
คุณบอลและคุณปุ้ยยังคงยืนยันว่า ธุรกิจด้านท่องเที่ยวจะเป็นเพียงธุรกิจเสริมเท่านั้น
ส่วนการปลูกดอกไม้ขาย จะยังคงเป็นธุรกิจหลักเหมือนเดิม
โดยธุรกิจในด้านการท่องเที่ยว จะเข้ามาเป็นตัวช่วยทำการตลาดให้กับธุรกิจขายส่งดอกไม้มีคนรู้จักมากขึ้น
ซึ่งสุดท้ายแล้ว ก็จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อดอกไม้ที่ฟาร์มขายส่งของตน
ที่น่าสนใจคือ ทาง I Love Flower Farm ยังได้เปิดเผยว่า
ยอดขายส่งดอกไม้นั้น เติบโตสูงขึ้นถึง 70% หลังจากเริ่มทำการตลาดแบบนี้
แต่นอกเหนือจากตัวเลขผลประกอบการทั้งหลาย
หนึ่งสิ่งที่คุณบอลและคุณปุ้ยจะได้รับมากกว่านั้น ก็คือ การได้มองเห็นชุมชนเล็กๆ ที่เขาผูกพัน เติบโตและเข้มแข็ง อย่างที่ธุรกิจยักษ์ใหญ่หลายๆ เจ้าไม่อาจทำได้
จากในวันแรก ที่คุณปุ้ยและคุณบอลต้องการแก้ไขปัญหาให้กับฟาร์มของตัวเอง
กลับกลายเป็นการสร้างรายได้ และชื่อเสียงให้กับชุมชนอย่างคาดไม่ถึง
และมันคงจะดีไม่น้อย ถ้าเราได้เห็นธุรกิจแบบนี้มีอยู่ทั่วประเทศไทย..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ในปีที่แล้ว I Love Flower Farm ได้เพิ่มดอกไม้สีแดงเข้ามาในฟาร์ม
และได้รับผลตอบรับที่ดีเกินคาด จนหลายคนพากันเรียกว่า ฟาร์มดอกไม้สีแดง
แต่สาเหตุที่ทาง I Love Flower Farm ได้ปลูกดอกไม้สีนี้เพิ่มขึ้น ก็เพราะการระบาดของโควิด 19 ทำให้ผู้คนไปต่างประเทศไม่ได้ คุณบอลและคุณปุ้ยจึงได้ตัดสินใจหาดอกไม้จากต่างประเทศเข้ามาปลูก
เพื่อสร้างบรรยากาศให้เหมือนกับได้ไปเที่ยวต่างประเทศนั่นเอง..
Reference:
-สัมภาษณ์โดยตรงกับทาง I Love Flower Farm
ชื่อของ I Love Flower Farm และภาพดอกไม้สีแดงสด ก็คงจะขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ ในใจของใครหลายคน
แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังของธุรกิจฟาร์มดอกไม้นี้ มีรายละเอียดที่ลึกซึ้งซ่อนอยู่มากมาย
แล้วเรื่องราวของ I Love Flower Farm น่าสนใจแค่ไหน?
ลงทุนเกิร์ลจะพาทุกคนไปที่ฟาร์มแห่งนี้กันค่ะ
I Love Flower Farm คือธุรกิจฟาร์มดอกไม้ ที่เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
โดยมีผู้บุกเบิก 2 คนสำคัญก็คือ คุณบอล สิริกร นันทขว้าง และคุณปุ้ย ณวิสาร์ มูลทา
ครอบครัวของคุณปุ้ย เป็นชาวเชียงใหม่ และทำธุรกิจฟาร์มดอกไม้สำหรับ “ขายส่ง” มากว่า 20 ปีแล้ว
แต่ปัญหาที่ต้องประสบพบเจอมาตลอดหลายปี คือ เรื่องของราคาดอกไม้ที่ไม่แน่นอน
บางช่วงก็ราคาตก จนแทบจะไม่คุ้มกับสิ่งที่ลงทุนไป
นอกจากนี้ การขายส่งดอกไม้ ยังต้องขายผ่านพ่อค้าคนกลาง
ซึ่งจะยิ่งทำให้ทางฟาร์มไม่มีอำนาจต่อรองเรื่องราคา และยังขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ คุณปุ้ย และคุณบอล สองสามีภรรยาที่เล็งเห็นว่าไม่ควรจะปล่อยให้สถานการณ์เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ
จึงได้ตัดสินใจแก้ปัญหาให้กับฟาร์มของครอบครัวด้วยการเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ที่ลูกค้าสามารถมาเดินเล่น ถ่ายรูป จิบชากาแฟได้
แต่จุดประสงค์จริงๆ ของการเปิดให้คนเข้ามาเที่ยว ก็เพื่อ “ทำการตลาด” ให้คนรู้จักฟาร์มดอกไม้ของตนมากขึ้น จะได้มีลูกค้าเข้ามาซื้อดอกไม้กับฟาร์มโดยตรง
ซึ่งผลปรากฏว่า ได้รับเสียงตอบรับที่ดีเกินคาด และยังมีออแกไนเซอร์รับจัดงานแต่งงานติดต่อเข้ามาขอซื้อดอกไม้กับฟาร์มโดยตรงเยอะมาก จนทางฟาร์มสามารถกระจายออเดอร์ที่เข้ามาให้กับฟาร์มดอกไม้อื่นๆ ในชุมชนได้
นอกจากนี้ ข้อดีของการขายดอกไม้ให้กับออแกไนเซอร์ ก็คือ
ทางฟาร์มสามารถวางแผนล่วงหน้าสำหรับการปลูกดอกไม้ได้ตามยอดคำสั่งซื้อที่เข้ามา
และที่สำคัญ ยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องราคาที่ไม่แน่นอนได้อีกด้วย เพราะฟาร์มจะตกลงเรื่องราคากับออแกไนเซอร์ไว้ล่วงหน้าเรียบร้อย
เมื่อเสียงตอบรับดีขึ้น คุณปุ้ยและคุณบอลจึงตัดสินใจขยับขยายกิจการ ด้วยการเปิดฟาร์มท่องเที่ยวแบบจริงจัง ด้วยการไปเช่าที่ของชาวบ้านในละแวกนั้น
แล้วเปิดเป็น I Love Flower Farm อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
ส่วนฟาร์มดอกไม้เดิม ก็จะไม่ได้เปิดให้เข้าชมแล้ว
เพราะจะเตรียมไว้สำหรับขายส่งดอกไม้เป็นหลัก
สำหรับ I Love Flower Farm ฟาร์มดอกไม้ ที่เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบจริงจัง เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ซึ่งการเกิดขึ้นของฟาร์มดอกไม้แห่งนี้ กำลังทำให้ชุมชนรอบๆ ฟาร์มนี้เปลี่ยนไป..
เริ่มตั้งแต่ลานจอดรถ ที่ไม่ใช่แค่ลานจอดรถธรรมดา
ทาง I Love Flower Farm ได้เปิดให้คนในชุมชนมาตั้งร้านขายสินค้าได้ฟรี
โดยตัวลานจอดรถยังตั้งอยู่ห่างจากฟาร์ม
ซึ่งลูกค้าจะต้องต่อรถมอเตอร์ไซค์พ่วงเข้าฟาร์ม
เนื่องจากถนนที่จะเลี้ยวเข้าฟาร์มค่อนข้างแคบ
และถ้าหากมีรถยนต์ขับสวนกัน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
โดยรถมอเตอร์ไซค์พ่วงที่มีไว้บริการนักท่องเที่ยว จะมีค่าบริการอยู่ที่คนละ 20 บาท
ซึ่งคนขับทั้งหมด จะมาจากชาวบ้านในชุมชนนี้
ที่สำคัญคือ เงินจำนวน 20 บาทนี้ จะหักให้คนขับรถ ขาไป-กลับ 10 บาท
อีก 5 บาท จะหักเข้าเป็นเงินส่วนกลางให้ชุมชน
และที่เหลืออีก 5 บาท จะนำไปใช้เพื่อดูแลจัดการบริหารลานจอดรถ
ซึ่งทางฟาร์มจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเงินส่วนนี้เลย และจะปล่อยให้ชุมชนจัดการเอง
ถัดมาเป็นเรื่องของ “ค่าเข้าฟาร์มดอกไม้”
ลูกค้าจะจ่ายเพียงแค่ 70 บาท และยังได้รับเซตน้ำ - ขนม เมื่อเข้าไปในฟาร์มด้วย
ที่น่าสนใจคือ เซตน้ำ - ขนมนี้จะทำโดยกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน
และทาง I Love Flower Farm จะหักเงินทุกๆ 20 บาท จากค่าเข้า แล้วจ่ายให้กับชาวบ้านกลุ่มนี้
ซึ่งหลังจากหักค่าแรงให้คนงาน และการดูแลจัดการต่างๆในฟาร์ม
ทาง I Love Flower Farm จะเหลือกำไรทั้งหมดเพียง 5 บาทเท่านั้น
อีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ ภายใน I Love Flower Farm จะมีตากล้องมืออาชีพไว้ให้ลูกค้าที่สนใจสามารถจ้างได้
โดยทาง I Love Flower Farm จะไม่หักเงินใดๆ จากเหล่าตากล้อง
แม้ว่า I Love Flower Farm จะไม่ได้ผลประโยชน์กลับมาเป็นตัวเงิน
แต่ภาพถ่ายจากเหล่าช่างภาพ ก็กลายเป็นงานโฆษณาชั้นดีให้กับ I Love Flower Farm
เพราะถ้าลูกค้าเขาได้รูปที่สวย เขาก็อยากจะโพสต์รูปลงโซเชียลมีเดียเยอะๆ
และถ้าคนอื่นๆ เห็นก็คงอยากจะลองมาใช้บริการที่นี่บ้าง
เมื่อ I Love Flower Farm ประสบความสำเร็จ
ชาวบ้านในชุมชนนี้ จึงเริ่มหันมาเปิดฟาร์มดอกไม้ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมตามๆ กัน
เราอาจจะคิดว่า พวกเขาจะกลายมาเป็นคู่แข่งกันหรือไม่
แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาทั้งหมดคือ พันธมิตรกัน
โดยทาง I Love Flower Farm เองจะมีการจำกัดจำนวนคนเข้าให้ไม่เกิน 200 คนต่อวัน
เพื่อไม่ให้คนด้านในแออัดจนเกินไป และยังเพื่อกระจายลูกค้าไปให้กับสวนดอกไม้อื่นๆในชุมชน
เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้
คำถามสำคัญในใจใครหลายคน ก็คงจะเป็น
“คุณปุ้ยและคุณบอลได้อะไรจากการทำ I Love Flower Farm?”
คุณบอลและคุณปุ้ยยังคงยืนยันว่า ธุรกิจด้านท่องเที่ยวจะเป็นเพียงธุรกิจเสริมเท่านั้น
ส่วนการปลูกดอกไม้ขาย จะยังคงเป็นธุรกิจหลักเหมือนเดิม
โดยธุรกิจในด้านการท่องเที่ยว จะเข้ามาเป็นตัวช่วยทำการตลาดให้กับธุรกิจขายส่งดอกไม้มีคนรู้จักมากขึ้น
ซึ่งสุดท้ายแล้ว ก็จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อดอกไม้ที่ฟาร์มขายส่งของตน
ที่น่าสนใจคือ ทาง I Love Flower Farm ยังได้เปิดเผยว่า
ยอดขายส่งดอกไม้นั้น เติบโตสูงขึ้นถึง 70% หลังจากเริ่มทำการตลาดแบบนี้
แต่นอกเหนือจากตัวเลขผลประกอบการทั้งหลาย
หนึ่งสิ่งที่คุณบอลและคุณปุ้ยจะได้รับมากกว่านั้น ก็คือ การได้มองเห็นชุมชนเล็กๆ ที่เขาผูกพัน เติบโตและเข้มแข็ง อย่างที่ธุรกิจยักษ์ใหญ่หลายๆ เจ้าไม่อาจทำได้
จากในวันแรก ที่คุณปุ้ยและคุณบอลต้องการแก้ไขปัญหาให้กับฟาร์มของตัวเอง
กลับกลายเป็นการสร้างรายได้ และชื่อเสียงให้กับชุมชนอย่างคาดไม่ถึง
และมันคงจะดีไม่น้อย ถ้าเราได้เห็นธุรกิจแบบนี้มีอยู่ทั่วประเทศไทย..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ในปีที่แล้ว I Love Flower Farm ได้เพิ่มดอกไม้สีแดงเข้ามาในฟาร์ม
และได้รับผลตอบรับที่ดีเกินคาด จนหลายคนพากันเรียกว่า ฟาร์มดอกไม้สีแดง
แต่สาเหตุที่ทาง I Love Flower Farm ได้ปลูกดอกไม้สีนี้เพิ่มขึ้น ก็เพราะการระบาดของโควิด 19 ทำให้ผู้คนไปต่างประเทศไม่ได้ คุณบอลและคุณปุ้ยจึงได้ตัดสินใจหาดอกไม้จากต่างประเทศเข้ามาปลูก
เพื่อสร้างบรรยากาศให้เหมือนกับได้ไปเที่ยวต่างประเทศนั่นเอง..
Reference:
-สัมภาษณ์โดยตรงกับทาง I Love Flower Farm