Business
กรณีศึกษา โมเดลธุรกิจ ของ นาดาว บางกอก
18 พ.ย. 2020
กรณีศึกษา โมเดลธุรกิจ ของ นาดาว บางกอก /โดย ลงทุนเกิร์ล
เพียงแค่จบท้าย ผลิตการสร้างสรรค์โดย “นาดาว บางกอก”
ก็สามารถการันตีคุณภาพของผลงานได้แล้ว
เพราะไม่ว่านาดาวจะผลิตซีรีส์มากี่เรื่อง ก็ประสบความสำเร็จแทบทุกเรื่อง
บางคนอาจรู้จักนาดาว ในฐานะบริษัทดูแลศิลปิน
บางคนอาจคิดว่านาดาว เป็นโปรดักชันเฮาส์
แต่ล่าสุด นาดาว ก็มีช่องทางธุรกิจใหม่ ภายใต้ชื่อ “นาดาวมิวสิค”
สรุปแล้ว นาดาว บางกอก ทำธุรกิจอะไรบ้าง? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟังค่ะ
นาดาว บางกอก ก่อตั้งเมื่อปี 2552 โดยเป็นบริษัทในเครือของ GDH
รับหน้าที่ดูแลศิลปิน และได้คุณย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์ ผู้กำกับมากความสามารถ
มานั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท
ด้วยความที่เป็นบริษัทเปิดใหม่ ทีมงานจึงมีเพียงแค่ 7-8 คน
ทำให้เวลามีโพรเจกต์ขึ้นมาแต่ละครั้ง ก็ต้องใช้คนทั้งออฟฟิศเพื่อไปทำ
ไม่สามารถแบ่งทีมงานออกเป็นหลายส่วน เพื่อไปรับงานจากหลายที่ได้
ที่ผ่านมา นาดาว จึงทำเพียงผลิตผลงานให้กับบริษัทแม่ และค่ายอื่นๆ
รวมถึงจัดการบริหารตารางงานอีเวนต์ หรือพรีเซนเตอร์ของศิลปินในสังกัดเท่านั้น
อย่างไรก็ตามจุดพลิกผันครั้งสำคัญของนาดาวก็มาถึง
เนื่องจากบริษัทต้องการต่อยอดความสามารถของศิลปินที่ตนดูแล
ประกอบกับความสามารถในการผลิตสื่อคอนเทนต์ที่มีอยู่
โพรเจกต์ซีรีส์ Hormones วัยว้าวุ่น จึงได้เริ่มต้นขึ้น และได้ออนแอร์เป็นตอนแรกในปี 2556
Hormones กลายเป็นซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
และชื่อของนาดาว บางกอก ก็ได้กลายเป็นกระแสโด่งดังบนโลกออนไลน์
ทำให้หลังจากซีรีส์จบลง ก็ได้รับการติดต่อจากสปอนเซอร์
จนสามารถถ่ายทำต่อไปได้อีก 3 ซีซัน
ซึ่งผลงานชิ้นนี้ไม่เพียงสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับบริษัท
แต่ยังเป็นการแจ้งเกิดศิลปินในค่ายนาดาว บางกอก อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ได้จุดประกายให้นาดาวผลิต “ออริจินัลคอนเทนต์” ของตัวเองต่อมาเรื่อยๆ
แรกๆ กลุ่มเป้าหมายของนาดาว คือ กลุ่มวัยรุ่น
ต่อมาบริษัทต้องการขยายกลุ่มผู้ชม จึงได้ผลิตละคร “เลือดข้นคนจาง”
ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย โดยร่วมทุนกับบริษัท 4Nologue
ซึ่งผลตอบรับก็ดีตามคาด เพราะละครเรื่องนี้เป็นกระแสอย่างมาก
สร้างปรากฏการณ์วุ่นวายกันทั้งโซเชียลกับแฮชแท็ก #ใครฆ่าประเสริฐ
ที่สำคัญคือ นอกจากเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ชมกลุ่มเดิมแล้ว
ยังสามารถจับตลาดในกลุ่มเจนเอ็กซ์ได้อีกด้วย
โดยสามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยไปกว่า 1.345% ซึ่งถือว่าสูงมากสำหรับละครที่ฉายทางทีวีดิจิทัล
อย่างไรก็ตาม ละครเรื่องนี้กลับเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
เพราะจริงๆ แล้ว ทางนาดาว และ 4Nologue วางแผนให้ละครเป็นเหมือนการเปิดตัว
ของโพรเจกต์บอยแบนด์ 9x9 หรือ “ไนน์ บาย นาย”
ซึ่งต้องการปั้นสมาชิกทั้ง 9 คน ให้เป็นทั้งนักแสดงและนักร้อง
ที่น่าสนใจคือ 9x9 เป็นโพรเจกต์อายุประมาณ 1 ปี
แต่ก็ได้ผลตอบรับดีเกินคาด จนถึงขั้นมีคนต้องการเข้าชมคอนเสิร์ตปิดโพรเจกต์มากเกือบแสนคน
ต่อมาในปี 2562 นาดาวได้เปิดตัวซีรีส์ “MY AMBULANCE รักฉุดใจนายฉุกเฉิน”
โดยมีศิลปินในสังกัด ไอซ์-พาริส และ แพรวา-ณิชาภัทร
มาร้องเพลง “รักติดไซเรน” ซึ่งเป็นเพลงประกอบซีรีส์ และกลายเป็นเพลงฮิตติดหูอยู่ช่วงหนึ่งเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่า นาดาว บางกอก กำลังค่อยๆ ก้าวเข้าสู่ธุรกิจเพลง
และในที่สุดก็มีการตั้ง “นาดาวมิวสิค” ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ในปี 2562
โดยได้คุณเบล สุพล พัวศิริรักษ์ มาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท
แล้วนาดาวเห็นโอกาสอะไรในอุตสาหกรรมเพลง?
เรื่องแรก ก็คือ การต่อยอดศิลปินในสังกัด
ดึงความสามารถของแต่ละคนออกมาอย่างเต็มที่
เพราะบางคนก็ไม่ได้มีเพียงทักษะการแสดง แต่ยังสามารถร้องเพลงและเต้นได้ด้วย
ที่สำคัญเรื่องนี้ ยังมาช่วยเติมเต็มธุรกิจเดิมของนาดาว อย่างการผลิตซีรีส์
เพราะเมื่อเพลงประกอบดี ก็ส่งผลให้ซีรีส์เป็นที่รู้จักมากขึ้นไปในตัว
ทำให้คนอินกับเนื้อเรื่องมากขึ้น เพราะนักแสดงมาเป็นคนร้อง
จึงสามารถถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครได้เป็นอย่างดี
และหลังจากซีรีส์จบลง นาดาว ก็ยังสามารถจัดงานแฟนมีตติ้ง
อย่างเรื่อง “แปลรักฉันด้วยใจเธอ” ก็มีงานมินิคอนเสิร์ต โดยให้นักแสดงโชว์เพลงของตัวเอง
ซึ่งบอกได้เลยว่ามาได้ถูกทาง เพราะบัตรสามารถขายหมดทุกรอบภายใน 1 นาที
นอกจากนั้น ยังขยายขอบเขตการรับงานของศิลปิน
เช่น คุณไอซ์ พาริส และคุณเจเลอร์ กฤษณภูมิ
ก็ได้ไปร้องเพลง “ดี๊ดี UNEXPECTED” ในแคมเปญสินค้าใหม่ของ NESCAFÉ
เมื่อศิลปินมีงานมากขึ้น เม็ดเงินที่เข้าสู่บริษัทก็ย่อมมากขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้นเมื่อรวมกับค่าพื้นที่โฆษณา และค่าลิขสิทธิ์คอนเทนต์แล้ว ธุรกิจของนาดาวก็ถือว่าเติบโตไม่น้อย
บริษัท นาดาว บางกอก จำกัด
ปี 2560 รายได้ 199 ล้านบาท กำไร 16 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 190 ล้านบาท กำไร 21 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 297 ล้านบาท กำไร 40 ล้านบาท
ซึ่งบริษัทก็ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปเรื่อยๆ
โดยล่าสุด นาดาว ก็ดูเหมือนจะเริ่มขยายฐานแฟนคลับสู่ต่างประเทศ
อย่างซีรีส์เรื่อง “แปลรักฉันด้วยใจเธอ” ที่กำลังออนแอร์อยู่ตอนนี้
ก็มีการให้นักแสดงนำ บิวกิ้น พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล และพีพี กฤษฏ์ อำนวยเดชกร
มาเป็นคนร้องเพลงประกอบซีรีส์ทั้งหมด ตามโมเดลปกติ
แต่เพิ่มเติมคือ มีการร้องเป็นเวอร์ชันภาษาจีนด้วย
แปลว่านาดาว ก็น่าจะมีความคิดที่จะตีตลาดจีนอยู่บ้าง
ซึ่งถ้าสำเร็จ การขยายฐานลูกค้าไปสู่ตลาดเอเชียก็อาจไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม..
References
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-https://www.tvdigitalwatch.com/analysis-rating-nadowbangkok-09-62/
-https://positioningmag.com/1301319
เพียงแค่จบท้าย ผลิตการสร้างสรรค์โดย “นาดาว บางกอก”
ก็สามารถการันตีคุณภาพของผลงานได้แล้ว
เพราะไม่ว่านาดาวจะผลิตซีรีส์มากี่เรื่อง ก็ประสบความสำเร็จแทบทุกเรื่อง
บางคนอาจรู้จักนาดาว ในฐานะบริษัทดูแลศิลปิน
บางคนอาจคิดว่านาดาว เป็นโปรดักชันเฮาส์
แต่ล่าสุด นาดาว ก็มีช่องทางธุรกิจใหม่ ภายใต้ชื่อ “นาดาวมิวสิค”
สรุปแล้ว นาดาว บางกอก ทำธุรกิจอะไรบ้าง? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟังค่ะ
นาดาว บางกอก ก่อตั้งเมื่อปี 2552 โดยเป็นบริษัทในเครือของ GDH
รับหน้าที่ดูแลศิลปิน และได้คุณย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์ ผู้กำกับมากความสามารถ
มานั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท
ด้วยความที่เป็นบริษัทเปิดใหม่ ทีมงานจึงมีเพียงแค่ 7-8 คน
ทำให้เวลามีโพรเจกต์ขึ้นมาแต่ละครั้ง ก็ต้องใช้คนทั้งออฟฟิศเพื่อไปทำ
ไม่สามารถแบ่งทีมงานออกเป็นหลายส่วน เพื่อไปรับงานจากหลายที่ได้
ที่ผ่านมา นาดาว จึงทำเพียงผลิตผลงานให้กับบริษัทแม่ และค่ายอื่นๆ
รวมถึงจัดการบริหารตารางงานอีเวนต์ หรือพรีเซนเตอร์ของศิลปินในสังกัดเท่านั้น
อย่างไรก็ตามจุดพลิกผันครั้งสำคัญของนาดาวก็มาถึง
เนื่องจากบริษัทต้องการต่อยอดความสามารถของศิลปินที่ตนดูแล
ประกอบกับความสามารถในการผลิตสื่อคอนเทนต์ที่มีอยู่
โพรเจกต์ซีรีส์ Hormones วัยว้าวุ่น จึงได้เริ่มต้นขึ้น และได้ออนแอร์เป็นตอนแรกในปี 2556
Hormones กลายเป็นซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
และชื่อของนาดาว บางกอก ก็ได้กลายเป็นกระแสโด่งดังบนโลกออนไลน์
ทำให้หลังจากซีรีส์จบลง ก็ได้รับการติดต่อจากสปอนเซอร์
จนสามารถถ่ายทำต่อไปได้อีก 3 ซีซัน
ซึ่งผลงานชิ้นนี้ไม่เพียงสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับบริษัท
แต่ยังเป็นการแจ้งเกิดศิลปินในค่ายนาดาว บางกอก อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ได้จุดประกายให้นาดาวผลิต “ออริจินัลคอนเทนต์” ของตัวเองต่อมาเรื่อยๆ
แรกๆ กลุ่มเป้าหมายของนาดาว คือ กลุ่มวัยรุ่น
ต่อมาบริษัทต้องการขยายกลุ่มผู้ชม จึงได้ผลิตละคร “เลือดข้นคนจาง”
ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย โดยร่วมทุนกับบริษัท 4Nologue
ซึ่งผลตอบรับก็ดีตามคาด เพราะละครเรื่องนี้เป็นกระแสอย่างมาก
สร้างปรากฏการณ์วุ่นวายกันทั้งโซเชียลกับแฮชแท็ก #ใครฆ่าประเสริฐ
ที่สำคัญคือ นอกจากเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ชมกลุ่มเดิมแล้ว
ยังสามารถจับตลาดในกลุ่มเจนเอ็กซ์ได้อีกด้วย
โดยสามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยไปกว่า 1.345% ซึ่งถือว่าสูงมากสำหรับละครที่ฉายทางทีวีดิจิทัล
อย่างไรก็ตาม ละครเรื่องนี้กลับเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
เพราะจริงๆ แล้ว ทางนาดาว และ 4Nologue วางแผนให้ละครเป็นเหมือนการเปิดตัว
ของโพรเจกต์บอยแบนด์ 9x9 หรือ “ไนน์ บาย นาย”
ซึ่งต้องการปั้นสมาชิกทั้ง 9 คน ให้เป็นทั้งนักแสดงและนักร้อง
ที่น่าสนใจคือ 9x9 เป็นโพรเจกต์อายุประมาณ 1 ปี
แต่ก็ได้ผลตอบรับดีเกินคาด จนถึงขั้นมีคนต้องการเข้าชมคอนเสิร์ตปิดโพรเจกต์มากเกือบแสนคน
ต่อมาในปี 2562 นาดาวได้เปิดตัวซีรีส์ “MY AMBULANCE รักฉุดใจนายฉุกเฉิน”
โดยมีศิลปินในสังกัด ไอซ์-พาริส และ แพรวา-ณิชาภัทร
มาร้องเพลง “รักติดไซเรน” ซึ่งเป็นเพลงประกอบซีรีส์ และกลายเป็นเพลงฮิตติดหูอยู่ช่วงหนึ่งเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่า นาดาว บางกอก กำลังค่อยๆ ก้าวเข้าสู่ธุรกิจเพลง
และในที่สุดก็มีการตั้ง “นาดาวมิวสิค” ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ในปี 2562
โดยได้คุณเบล สุพล พัวศิริรักษ์ มาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท
แล้วนาดาวเห็นโอกาสอะไรในอุตสาหกรรมเพลง?
เรื่องแรก ก็คือ การต่อยอดศิลปินในสังกัด
ดึงความสามารถของแต่ละคนออกมาอย่างเต็มที่
เพราะบางคนก็ไม่ได้มีเพียงทักษะการแสดง แต่ยังสามารถร้องเพลงและเต้นได้ด้วย
ที่สำคัญเรื่องนี้ ยังมาช่วยเติมเต็มธุรกิจเดิมของนาดาว อย่างการผลิตซีรีส์
เพราะเมื่อเพลงประกอบดี ก็ส่งผลให้ซีรีส์เป็นที่รู้จักมากขึ้นไปในตัว
ทำให้คนอินกับเนื้อเรื่องมากขึ้น เพราะนักแสดงมาเป็นคนร้อง
จึงสามารถถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครได้เป็นอย่างดี
และหลังจากซีรีส์จบลง นาดาว ก็ยังสามารถจัดงานแฟนมีตติ้ง
อย่างเรื่อง “แปลรักฉันด้วยใจเธอ” ก็มีงานมินิคอนเสิร์ต โดยให้นักแสดงโชว์เพลงของตัวเอง
ซึ่งบอกได้เลยว่ามาได้ถูกทาง เพราะบัตรสามารถขายหมดทุกรอบภายใน 1 นาที
นอกจากนั้น ยังขยายขอบเขตการรับงานของศิลปิน
เช่น คุณไอซ์ พาริส และคุณเจเลอร์ กฤษณภูมิ
ก็ได้ไปร้องเพลง “ดี๊ดี UNEXPECTED” ในแคมเปญสินค้าใหม่ของ NESCAFÉ
เมื่อศิลปินมีงานมากขึ้น เม็ดเงินที่เข้าสู่บริษัทก็ย่อมมากขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้นเมื่อรวมกับค่าพื้นที่โฆษณา และค่าลิขสิทธิ์คอนเทนต์แล้ว ธุรกิจของนาดาวก็ถือว่าเติบโตไม่น้อย
บริษัท นาดาว บางกอก จำกัด
ปี 2560 รายได้ 199 ล้านบาท กำไร 16 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 190 ล้านบาท กำไร 21 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 297 ล้านบาท กำไร 40 ล้านบาท
ซึ่งบริษัทก็ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปเรื่อยๆ
โดยล่าสุด นาดาว ก็ดูเหมือนจะเริ่มขยายฐานแฟนคลับสู่ต่างประเทศ
อย่างซีรีส์เรื่อง “แปลรักฉันด้วยใจเธอ” ที่กำลังออนแอร์อยู่ตอนนี้
ก็มีการให้นักแสดงนำ บิวกิ้น พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล และพีพี กฤษฏ์ อำนวยเดชกร
มาเป็นคนร้องเพลงประกอบซีรีส์ทั้งหมด ตามโมเดลปกติ
แต่เพิ่มเติมคือ มีการร้องเป็นเวอร์ชันภาษาจีนด้วย
แปลว่านาดาว ก็น่าจะมีความคิดที่จะตีตลาดจีนอยู่บ้าง
ซึ่งถ้าสำเร็จ การขยายฐานลูกค้าไปสู่ตลาดเอเชียก็อาจไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม..
References
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-https://www.tvdigitalwatch.com/analysis-rating-nadowbangkok-09-62/
-https://positioningmag.com/1301319