Business
ทำไม ร้านชานม BEARHOUSE ถึงลงทุนหนัก กับการแต่งร้าน
21 ก.ย. 2022
ทำไม ร้านชานม BEARHOUSE ถึงลงทุนหนัก กับการแต่งร้าน /โดย ลงทุนเกิร์ล
รู้หรือไม่ว่า ในปี 2562 ร้านชานม BEARHOUSE มีรายได้อยู่ที่ 17 ล้านบาท
แต่ผ่านไปเพียง 2 ปี ตัวเลขนี้ กลับเพิ่มขึ้นเป็น 117 ล้านบาท
หรือก็คือ เติบโตขึ้นเกือบ 600% เลยทีเดียว
แต่ผ่านไปเพียง 2 ปี ตัวเลขนี้ กลับเพิ่มขึ้นเป็น 117 ล้านบาท
หรือก็คือ เติบโตขึ้นเกือบ 600% เลยทีเดียว
เรียกได้ว่า เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ชานม ที่น่าสนใจ
เพราะในขณะที่แบรนด์ชานมเจ้าอื่น ๆ กำลังมีรายได้ลดลง
BEARHOUSE กลับกำลังโตสวนกระแส
เพราะในขณะที่แบรนด์ชานมเจ้าอื่น ๆ กำลังมีรายได้ลดลง
BEARHOUSE กลับกำลังโตสวนกระแส
และอีกจุดที่น่าสนใจ คือ ในขณะที่ร้านชานมส่วนใหญ่ มักจะให้บริการรูปแบบ “Grab & Go” ที่มีแค่จุดสั่งซื้อและรับสินค้า เพื่อประหยัดต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ และช่วยเรื่องการหมุนเวียนลูกค้า
แต่ BEARHOUSE กลับเลือกลงทุนไปกับการใช้ “พื้นที่” มากกว่าร้านชานมเจ้าอื่นเป็นเท่าตัว ซึ่งบางสาขาถึงขั้นมี “น้ำตก” ตั้งอยู่กลางร้าน หรือมีห้องประชุมในร้านชานมเลยทีเดียว
ซึ่งในวันนี้ลงทุนเกิร์ล มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณซารต์ และคุณกานต์ ผู้ก่อตั้ง BEARHOUSE ถึงแนวคิดว่าทำไม BEARHOUSE ถึงต้องลงทุนหนัก กับการตกแต่งร้าน แถมในปีนี้ก็ยังมีแพลนที่จะขยายสาขาให้ครบ 20 แห่งอีกด้วย
แล้วแนวคิดของทาง BEARHOUSE จะน่าสนใจอย่างไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง..
“การพัฒนาสินค้า” และ “การสร้างประสบการณ์”
คือสองสิ่งที่คุณกานต์ และคุณซารต์ ให้ความสำคัญมาตั้งแต่วันแรกที่เปิดร้าน
คือสองสิ่งที่คุณกานต์ และคุณซารต์ ให้ความสำคัญมาตั้งแต่วันแรกที่เปิดร้าน
ดังนั้น ร้านชานมของ BEARHOUSE จึงจะมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนใคร ไม่ว่าจะเป็น “ไข่มุกโมจิ” เจ้าแรกในประเทศไทย ที่ปั้นสดใหม่ในร้านทุกวัน
หรือแม้กระทั่ง “เพลง” ที่ถูกเปิดในร้าน
ก็เป็น “เพลย์ลิสต์” ที่ BEARHOUSE จ้างคนมิกซ์ขึ้นมาโดยเฉพาะ
ก็เป็น “เพลย์ลิสต์” ที่ BEARHOUSE จ้างคนมิกซ์ขึ้นมาโดยเฉพาะ
นอกจากเรื่องของสินค้า และบริการแล้ว
“การทำหน้าร้านให้ดี” ก็มีส่วนช่วยดึงดูดลูกค้าให้ตบเท้าเข้าร้านได้เช่นกัน
“การทำหน้าร้านให้ดี” ก็มีส่วนช่วยดึงดูดลูกค้าให้ตบเท้าเข้าร้านได้เช่นกัน
แล้ว BEARHOUSE ออกแบบหน้าร้าน ให้สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า อย่างไร ?
อันดับแรก คือ ร้าน BEARHOUSE จะต้องเข้าไป “เติมเต็ม” บางอย่าง
โดยเริ่มต้นตั้งคำถามว่า “พื้นที่บริเวณรอบร้านขาดอะไรบ้าง ?”
เพื่อที่จะได้ออกแบบร้านให้ไปเติมเต็มกับพื้นที่นั้น ๆ
เพื่อที่จะได้ออกแบบร้านให้ไปเติมเต็มกับพื้นที่นั้น ๆ
อย่าง สาขาบ้านก้ามปู อโศก ที่บรรยากาศโดยรอบดูแห้งแล้ง และเต็มไปด้วยสายไฟฟ้าพะรุงพะรัง
ดังนั้น ทาง BEARHOUSE จึงเลือกออกแบบร้าน ให้มีสวนสีเขียวรอบร้าน และเพิ่มเสียงสายน้ำภายในร้าน เพื่อเติมความมีชีวิตชีวาให้พื้นที่นั้น ๆ แถมยังช่วยให้ร้าน BEARHOUSE ดูโดดเด่นออกมาจากร้านอื่น ไปพร้อม ๆ กัน
ซึ่งจริง ๆ แล้ว ในสาขาแรก ๆ คุณกานต์ และคุณซารต์ ยังไม่ได้ลงทุนกับหน้าร้าน มากเหมือนในปัจจุบัน
เนื่องจาก แบรนด์ BEARHOUSE ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก จึงทำให้ไม่ค่อยมีโอกาส ได้รับพื้นที่ดี ๆ
แต่พอในช่วงหลัง ๆ ก็เริ่มมีเจ้าของพื้นที่ หยิบยื่นโอกาสมาให้
ดังนั้น ทาง BEARHOUSE จึงอยากตอบแทนด้วยการลงทุนตกแต่งร้านให้สวย เพื่อเติมเต็มสถานที่นั้น ๆ นั่นเอง
แต่พอในช่วงหลัง ๆ ก็เริ่มมีเจ้าของพื้นที่ หยิบยื่นโอกาสมาให้
ดังนั้น ทาง BEARHOUSE จึงอยากตอบแทนด้วยการลงทุนตกแต่งร้านให้สวย เพื่อเติมเต็มสถานที่นั้น ๆ นั่นเอง
อันดับที่สอง คือ ตอบโจทย์ “ความต้องการของลูกค้า”
อย่างบางสาขาที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณสถานศึกษา ก็จะมีการออกแบบร้าน ให้ตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้า “นักเรียน” และ “นักศึกษา”
เช่น สาขาพุทธบูชา ที่มี “ห้องประชุมส่วนตัว” ไว้สำหรับให้มานั่งทำงาน หรือติวหนังสือกันได้
หรือสาขา บ้านก้ามปู อโศก ที่อยู่ในย่านออฟฟิศ และใกล้ มศว ประสานมิตร ก็ใช้ “โต๊ะทรงเหลี่ยม” และขนาดใหญ่กว่าสาขาอื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้ามานั่งอ่านหนังสือ ทำงาน หรือพักผ่อนภายในร้านได้
แน่นอนว่าการออกแบบร้านที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แม้จะต้องแลกมาด้วยเงินลงทุนก้อนใหญ่ก็ตาม
แต่คุณกานต์ก็ให้ความเห็นว่า “พวกเราไม่ได้โฟกัสเรื่องกำไร และขาดทุนเป็นหลัก หรือคิดแค่ว่าจะต้องรีบ ๆ สร้างกำไร แต่พวกเราจะโฟกัสเรื่องการสร้างประสบการณ์ดี ๆ ให้กับลูกค้ามากกว่า”
และยังได้เสริมว่า “ถ้าหากสินค้าเราดี และเราสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ สุดท้ายแล้วกำไรก็จะตามมาเอง”
ซึ่งการลงทุนตกแต่งร้านนี่เอง ที่ช่วยทำให้ BEARHOUSE ได้รับความสนใจจากเจ้าของสถานที่หลาย ๆ แห่ง จนมาชักชวนให้ไปเปิดสาขาในพื้นที่ของตนอีกด้วย
อีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ ภายในเดือนนี้เพียงเดือนเดียว BEARHOUSE ก็กำลังจะเปิดสาขาใหม่ถึง 3 แห่ง ได้แก่
-บ้านก้ามปู อโศก
-เมกาบางนา
-ซีคอนบางแค
-บ้านก้ามปู อโศก
-เมกาบางนา
-ซีคอนบางแค
ซึ่งทั้ง 3 สาขานี้ จะถูกตกแต่งอย่างจัดเต็มทั้งหมด
อย่าง สาขาซีคอนบางแค ซึ่งเป็นสาขาที่ใหญ่ที่สุดของ BEARHOUSE ก็มีการยก “น้ำตก” มาตั้งอยู่กลางร้าน เพื่อสร้างบรรยากาศสบาย ๆ ให้ลูกค้าได้มานั่งพักผ่อน ดื่มชาชิล ๆ หลังจากเดินช็อปปิงจนเหนื่อย
นอกจากนี้ BEARHOUSE ก็เตรียมที่จะเปิดสาขาในต่างจังหวัดเป็นครั้งแรก ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อวางรากฐานและเตรียมความพร้อม สำหรับการไปเปิดสาขาที่ต่างประเทศ ตามความฝันของทั้งคู่
รวมถึง ล่าสุดก็ยังได้พัฒนาเมนู “เครื่องดื่มร้อน” เพื่อต้อนรับหน้าฝน ให้ลูกค้าได้มาจิบอะไรอุ่น ๆ
ซึ่งเมนูนี้ ก็ยังแพลนไว้สำหรับเตรียมวางขายในต่างประเทศ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในประเทศเมืองหนาว ที่ไม่ค่อยนิยมดื่มเมนูชานมเย็น ๆ แต่จะหันไปดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ กันแทน
ซึ่งคุณกานต์ ได้บอกกับเราว่า "ผมรู้ว่า การทำเมนูร้อน ต้องลงทุนเยอะมาก เพราะการเติมเมนูร้อน 1 เมนู จะต้องซื้อเครื่องสตรีมนมร้อนใหม่ทุกสาขา และก็อาจจะขายไม่ดี ในประเทศไทย แต่คิดว่าเป็นเมนูที่อร่อย จึงอยากทำให้ลูกค้าได้ลองดื่ม และที่สำคัญคือ ถ้ามีความฝันอยากพาแบรนด์ไประดับโลก ยังไงก็ต้องทำเมนูร้อนให้อร่อย”
พออ่านมาถึงตรงนี้ เราก็คงจะเห็นว่า ร้านชานม ที่ดูผิวเผินเหมือนจะขายแค่เครื่องดื่ม
แต่จริง ๆ แล้ว พวกเขายังสอดแทรกการขายประสบการณ์ให้กับลูกค้า
ซึ่งในทุกรายละเอียด ได้ผ่านการคิดอย่างรอบด้าน
ตั้งแต่ก้าวแรกที่ลูกค้าเดินเข้าร้าน ไปจนถึงเมนูที่ลูกค้าได้ดื่ม
แต่จริง ๆ แล้ว พวกเขายังสอดแทรกการขายประสบการณ์ให้กับลูกค้า
ซึ่งในทุกรายละเอียด ได้ผ่านการคิดอย่างรอบด้าน
ตั้งแต่ก้าวแรกที่ลูกค้าเดินเข้าร้าน ไปจนถึงเมนูที่ลูกค้าได้ดื่ม
และถึงแม้บางคนจะมองว่า การลงทุนหน้าร้านเป็นเรื่องสิ้นเปลือง จนไม่ให้ความสำคัญเท่ากับส่วนอื่น ๆ
แต่หากลองคิดในอีกมุมหนึ่ง
การลงทุนหน้าร้าน ก็เปรียบเสมือน การทำหน้าปกหนังสือ ให้น่าหยิบขึ้นมาลองอ่าน
และถึงคนมากมายจะบอกว่า อย่าตัดสินหนังสือที่หน้าปก
การลงทุนหน้าร้าน ก็เปรียบเสมือน การทำหน้าปกหนังสือ ให้น่าหยิบขึ้นมาลองอ่าน
และถึงคนมากมายจะบอกว่า อย่าตัดสินหนังสือที่หน้าปก
แต่สุดท้ายแล้ว หนังสือที่ปกสวย ก็ชวนให้น่าดึงดูดใจ อยู่ดี..
Reference:
-สัมภาษณ์พิเศษ กับคุณกานต์-อรรถกร รัตนารมย์ และคุณซารต์-ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช เจ้าของ BEARHOUSE
-สัมภาษณ์พิเศษ กับคุณกานต์-อรรถกร รัตนารมย์ และคุณซารต์-ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช เจ้าของ BEARHOUSE