Economy
<อัปเดต> คนเกาหลีใต้ ซื้อแบรนด์หรู มากสุดในโลก แซงหน้าชาวจีน และชาวอเมริกัน
13 ม.ค. 2023
<อัปเดต> คนเกาหลีใต้ ซื้อแบรนด์หรู มากสุดในโลก แซงหน้าชาวจีน และชาวอเมริกัน
ล่าสุด จากการสำรวจของ Morgan Stanley ระบุว่า เมื่อปี 2022 เกาหลีใต้เป็นประเทศที่ คนซื้อแบรนด์หรู เฉลี่ยต่อคน สูงที่สุดในโลก
ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวม 560,000 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 24%
โดยหากเฉลี่ยเป็นรายคนแล้ว
ชาวเกาหลีใต้ 1 คน จะใช้จ่ายไปกับแบรนด์หรูอยู่ที่ 10,767 บาท
ในขณะที่ชาวอเมริกัน เฉลี่ยอยู่ที่ 9,276 บาทต่อคน
ส่วนชาวจีน จะเฉลี่ยอยู่ที่ 1,822 บาทต่อคน
ชาวเกาหลีใต้ 1 คน จะใช้จ่ายไปกับแบรนด์หรูอยู่ที่ 10,767 บาท
ในขณะที่ชาวอเมริกัน เฉลี่ยอยู่ที่ 9,276 บาทต่อคน
ส่วนชาวจีน จะเฉลี่ยอยู่ที่ 1,822 บาทต่อคน
ที่น่าสนใจ คือ ข้อมูลจาก Morgan Stanley ก็ยังสอดคล้องกับ การรายงานของหลายแบรนด์หรู เช่น
-Richemont Group เจ้าของแบรนด์ Cartier และ Van Cleef & Arpels ก็ได้ให้ข้อมูลว่า เกาหลีใต้ ถือเป็นประเทศที่ยอดขายเติบโต ในระดับเลข 2 หลัก
-Prada แบรนด์หรูที่ได้รับผลกระทบ จากยอดขายที่ลดฮวบในประเทศจีน ก็ได้ยอดขายจากประเทศเกาหลีใต้ รวมถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาช่วยพยุงไว้
-Moncler แบรนด์เสื้อกันหนาวสุดหรู จากฝรั่งเศส ก็ได้บอกว่า ยอดขายในเกาหลีใต้ “เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว” ในไตรมาสที่ 2 ปี 2022 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด
นอกจากนี้ ที่ผ่านมา เราน่าจะเคยได้เห็นผ่านตากันว่า หลาย ๆ แบรนด์หรูมักจะมี Global Brand Ambassador เป็นศิลปินชาวเกาหลีใต้ ไม่ว่าจะเป็น
แบรนด์ Louis Vuitton ที่ดึงศิลปิน BTS มารับตำแหน่ง และสาว ๆ BLACKPINK ที่กวาดแบรนด์หรูทั้ง Dior, Celine, Saint Laurent และ Chanel
ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวเกาหลีใต้มีการใช้จ่ายไปกับสินค้าหรูหรามากที่สุดในโลก ก็เป็นเพราะ
-รายได้ต่อครัวเรือนของชาวเกาหลีใต้ ที่เพิ่มขึ้นถึง 11% ในปี 2021
กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวเกาหลีใต้มีกำลังซื้อมากขึ้น
กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวเกาหลีใต้มีกำลังซื้อมากขึ้น
-ค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับการมีหน้ามีตาในสังคมอย่างมาก
จนทำให้สินค้าที่ใช้แสดงฐานะทางสังคมได้รับความนิยมสูง
จนทำให้สินค้าที่ใช้แสดงฐานะทางสังคมได้รับความนิยมสูง
ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นไปตามทฤษฎี “Conspicuous Consumption” หรือ การบริโภคที่ทำให้ตัวเองดู “เด่น” ขึ้นมาในสังคม ทำให้คนยอมซื้อของที่ใคร ๆ ก็รู้ว่าแพง มาประดับบารมี และถึงแม้ว่า สินค้าจะปรับราคาสูงขึ้น ก็จะไม่มีผลต่อการตัดสินใจของคนในกลุ่มนี้
โดยการบริโภคในลักษณะนี้ยังนำไปสู่ “วัฒนธรรม Flex”
ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่วัยรุ่นเกาหลีใต้
โดยวัฒนธรรม Flex หมายถึง การแสดงออกถึงความสำเร็จหรือความมั่งคั่ง และมีแนวโน้มที่จะบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยโดยไม่ลังเลใจ เพื่อแสดงให้คนอื่นเห็นว่าตนเองใช้เงินไปกับสินค้าราคาแพง
จึงกลายเป็นเทรนด์ที่เหล่าวัยรุ่นเกาหลีใต้จะชอบโพสต์สินค้ามีราคา เพื่ออวดไลฟ์สไตล์ฟุ่มเฟือยของตัวเองบนโซเชียลมีเดีย และติดแฮชแทก #FLEX หรือแฮชแทก #플렉스 ซึ่งหมายถึงคำว่า Flex ในภาษาเกาหลี
-ไลฟ์สไตล์ YOLO
ซึ่งย่อมาจากประโยคที่ว่า “You Only Live Once” เป็นคำนิยามที่หมายถึง “การใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ เพราะคุณมีชีวิตเพียงหนเดียว”
ซึ่งย่อมาจากประโยคที่ว่า “You Only Live Once” เป็นคำนิยามที่หมายถึง “การใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ เพราะคุณมีชีวิตเพียงหนเดียว”
นำไปสู่ไลฟ์สไตล์ที่คนรุ่นใหม่ มักใช้จ่ายเงิน
เพื่อเติมเต็มความพึงพอใจในชีวิต หรือความสุขมากขึ้น
โดยลดการให้ความสำคัญกับการออมลง
เพื่อเติมเต็มความพึงพอใจในชีวิต หรือความสุขมากขึ้น
โดยลดการให้ความสำคัญกับการออมลง
ที่น่าสนใจคือ หนึ่งในสาเหตุที่ไลฟ์สไตล์ YOLO แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เกิดจาก “ราคาอสังหาริมทรัพย์” ที่มีราคาสูง จนทำให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ เริ่มหมดหวังกับการซื้อบ้านเป็นของตัวเอง จึงทำให้พวกเขามีความคาดหวังน้อยลงที่จะประหยัดเงิน และหันมาซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อเติมเต็มชีวิตในด้านอื่นแทน