Business
สรุป ความเปลี่ยนแปลงของ KAMU หลังจาก OR เข้ามาถือหุ้น
30 ส.ค. 2022
สรุป ความเปลี่ยนแปลงของ KAMU หลังจาก OR เข้ามาถือหุ้น /โดย ลงทุนเกิร์ล
“อีก 3-5 ปี ข้างหน้า KAMU จะมี 350 สาขา และเข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศไทย”
นี่คือความตั้งใจของผู้ก่อตั้งแบรนด์ KAMU
นี่คือความตั้งใจของผู้ก่อตั้งแบรนด์ KAMU
หลังจากที่ OR เข้ามาถือหุ้น 25% ในบริษัท
และในตอนนี้ ใกล้จะครบ 1 ปีแล้ว ที่ KAMU ได้พาร์ตเนอร์คนสำคัญมาร่วมทีม
และในตอนนี้ ใกล้จะครบ 1 ปีแล้ว ที่ KAMU ได้พาร์ตเนอร์คนสำคัญมาร่วมทีม
สิ่งที่น่าติดตาม ก็คือ KAMU มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร หลังจาก OR เข้ามาลงทุน ?
ซึ่งในวันนี้ ลงทุนเกิร์ล มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณแทน ทินกฤต สินทัตตโสภณ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ KAMU ถึงทิศทางใหม่ที่เกิดขึ้น
โดยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา คือ
1.ต้นทุนวัตถุดิบ ถูกลง
คุณแทนเล่าว่า การมี OR เป็นพาร์ตเนอร์
ช่วยให้ทาง KAMU สามารถควบคุมต้นทุนของวัตถุดิบได้ง่ายยิ่งขึ้น
ช่วยให้ทาง KAMU สามารถควบคุมต้นทุนของวัตถุดิบได้ง่ายยิ่งขึ้น
โดย OR จะเข้ามาช่วยสนับสนุน KAMU ในการหาวัตถุดิบใหม่ ๆ หรือจัดซื้อวัตถุดิบในปริมาณมาก ผ่านทางแบรนด์ย่อยในเครืออย่าง Café Amazon เพื่อนำมา “ลดต้นทุนสินค้า” ให้แบรนด์ KAMU
เนื่องจาก ที่ผ่านมา แบรนด์ KAMU ต้องการคงราคาสินค้า ให้เฉลี่ยอยู่ที่แก้วละ 40-50 บาท และไม่เกิน 100 บาท สำหรับสินค้าพรีเมียม
ซึ่งตลอดเวลา กว่า 10 ปี ที่ KAMU ดำเนินธุรกิจมา
แบรนด์เคยขึ้นราคาสินค้า เพียงแค่ 2 ครั้ง ในราคาไม่เกิน 5 บาทต่อแก้วเท่านั้น
แบรนด์เคยขึ้นราคาสินค้า เพียงแค่ 2 ครั้ง ในราคาไม่เกิน 5 บาทต่อแก้วเท่านั้น
ดังนั้น ในขณะที่ทั้งค่าแรง และต้นทุนวัตถุดิบ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ประกอบกับการที่ แบรนด์เองก็ “ไม่ต้องการลดคุณภาพวัตถุดิบลง” แต่ก็ไม่อยากขึ้นราคาสินค้า
ประกอบกับการที่ แบรนด์เองก็ “ไม่ต้องการลดคุณภาพวัตถุดิบลง” แต่ก็ไม่อยากขึ้นราคาสินค้า
ซึ่งหนึ่งในทางออกของเรื่องนี้ ก็คือ เน้นการขายสินค้าให้ได้จำนวนมากขึ้น ผ่านการขยายสาขาออกไปเจาะลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ รวมไปถึงการดึงพาร์ตเนอร์ อย่าง OR ให้มาเป็นตัวกลาง ช่วยหาซัปพลายเออร์ ที่สามารถส่งวัตถุดิบที่ได้ตามมาตรฐานเดิมของแบรนด์ ในราคาที่ถูกลง
2.การขยายสาขา และกลยุทธ์ใหม่
ก่อนที่ OR จะเข้าลงทุน
KAMU มีจำนวนสาขาอยู่ประมาณ 140 แห่ง
KAMU มีจำนวนสาขาอยู่ประมาณ 140 แห่ง
โดยมักจะกระจายสาขาอยู่ในกรุงเทพฯ ตามตึกออฟฟิศ, ห้างสรรพสินค้า และแหล่งวัยรุ่น
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ
สาขาในห้างสรรพสินค้า และตึกออฟฟิศหลายแห่ง ต้องถูกปิดให้บริการชั่วคราว เนื่องจากผลของโควิด 19
สาขาในห้างสรรพสินค้า และตึกออฟฟิศหลายแห่ง ต้องถูกปิดให้บริการชั่วคราว เนื่องจากผลของโควิด 19
และถึงแม้จะมียอดขายจากดิลิเวอรี มาช่วยพยุงธุรกิจบ้าง
แต่ก็ยังไม่สามารถชดเชยยอดขาย ในส่วนของหน้าร้านที่หายไป ได้มากนัก
แต่ก็ยังไม่สามารถชดเชยยอดขาย ในส่วนของหน้าร้านที่หายไป ได้มากนัก
ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยง ที่อาจเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยในอนาคต
การกระจายสาขา ออกไปนอกห้างสรรพสินค้า เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ก็อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ
การกระจายสาขา ออกไปนอกห้างสรรพสินค้า เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ก็อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ
โดยหลังจากได้ OR เข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ ก็ช่วยให้ KAMU ขยายสาขา ออกมานอกห้างสรรพสินค้า ไปอยู่ตาม PTT Station ในหลาย ๆ จังหวัด มากขึ้น
ในปัจจุบัน KAMU มีสาขาใน PTT Station ทั้งหมด 14 แห่ง และในอนาคต คาดว่าจะเปิดอีก 50 แห่ง ภายในปี 2023
ที่สำคัญ คือ ด้วยโมเดลของ KAMU ที่มีรูปแบบการขาย “แฟรนไชส์”
ทาง OR ก็ยังเข้ามาช่วยเรื่องนี้ ด้วยการเป็นตัวกลาง เจรจาหาผู้ซื้อแฟรนไชส์
ในกรณีที่ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ PTT Station ต้องการต่อยอดธุรกิจที่มากกว่าการให้บริการเติมน้ำมัน ก็สามารถซื้อแฟรนไชส์ KAMU ไปพร้อม ๆ กันได้
ในกรณีที่ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ PTT Station ต้องการต่อยอดธุรกิจที่มากกว่าการให้บริการเติมน้ำมัน ก็สามารถซื้อแฟรนไชส์ KAMU ไปพร้อม ๆ กันได้
3.โอกาสในการ “ขยายตลาด” นอกประเทศ
แม้ว่า “ตลาดชานม” ในประเทศไทย จะใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน
และมีมูลค่าตลาดประมาณ 26,600 ล้านบาท
และมีมูลค่าตลาดประมาณ 26,600 ล้านบาท
แต่คุณแทนก็มองว่า หากมุ่งเน้นการขยายสาขาอยู่ในไทยอย่างเดียว ก็อาจจะถึงวันที่ตลาดอิ่มตัว เหมือนกับธุรกิจอื่น ๆ
ดังนั้น การจับมือกับ OR ก็น่าจะช่วยตอบโจทย์ในเรื่องนี้
เพราะทาง OR มีพาร์ตเนอร์ อยู่ในประเทศกลุ่ม CLMV อย่างกัมพูชา, ลาว, พม่า และเวียดนาม
ซึ่งในอนาคต เราก็อาจจะมีโอกาสได้เห็น KAMU แบรนด์ชานม สัญชาติไทย ออกไปตีตลาดนอกบ้านมากขึ้น
เพราะทาง OR มีพาร์ตเนอร์ อยู่ในประเทศกลุ่ม CLMV อย่างกัมพูชา, ลาว, พม่า และเวียดนาม
ซึ่งในอนาคต เราก็อาจจะมีโอกาสได้เห็น KAMU แบรนด์ชานม สัญชาติไทย ออกไปตีตลาดนอกบ้านมากขึ้น
สุดท้ายนี้ คุณแทนยังได้เปิดเผยโปรเจกต์ในอนาคตของ KAMU ว่า จะมีการคอลแลบกับแบรนด์อื่น ๆ ในเครือ OR อย่างแน่นอน
ไม่แน่ว่า เราอาจจะเห็นเครื่องดื่ม จาก KAMU ดัดแปลงไปเป็นเมนูในร้านสลัดโอ้กะจู๋ หรือร้านอาหารญี่ปุ่น KOUEN ก็เป็นได้
และก็เป็นที่น่าติดตามต่อไปว่า ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
เราจะได้เห็น KAMU สามารถขยายสาขาได้ถึง 350 แห่ง ตามแผนที่วางไว้หรือไม่
เราจะได้เห็น KAMU สามารถขยายสาขาได้ถึง 350 แห่ง ตามแผนที่วางไว้หรือไม่
เพราะถ้าหากทำได้จริง
ลองคิดเล่น ๆ ว่า ในวันนี้ KAMU มียอดขายเฉลี่ยต่อสาขา อยู่ที่ 1.6 ล้านบาทต่อปี
ลองคิดเล่น ๆ ว่า ในวันนี้ KAMU มียอดขายเฉลี่ยต่อสาขา อยู่ที่ 1.6 ล้านบาทต่อปี
ดังนั้น ในวันที่ขยายสาขาได้ตามเป้า บริษัทก็อาจจะมีรายได้ถึง 560 ล้านบาทเลยทีเดียว..
----------------------------------------------
Sponsored by JCB
ออมเงินได้มากขึ้น กับสิทธิประโยชน์จาก JCB กว่า 100 ร้านค้าได้ทุกวันตลอดทั้งปี ที่ร้านอาหารชั้นนำ แพลตฟอร์มสั่งอาหาร ส่วนลดการจองที่พัก การชำระเงินรูปแบบ e-wallet บริการรถเช่า ประกันการเดินทาง Pocket WiFi และส่วนลดจากร้านค้าชั้นนำอีกมากมายทั้งหน้าร้านและแพลตฟอร์มออนไลน์ พิเศษสำหรับลูกค้าบัตรเครดิต JCB เท่านั้น www.facebook.com/JCBCardThailandTH และ LINE Official Account : @JCBThailand (https://bit.ly/JCBTHLine)
#JCBใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา #JCBThailand #JCBOwnHappinessOwnStory
----------------------------------------------
References
-สัมภาษณ์โดยตรงกับคุณแทน-ทินกฤต สินทัตตโสภณ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ KAMU
-https://thelowdown.momentum.asia/press-release-southeast-asia-spends-us3-66-billion-a-year-on-bubble-tea-momentum-works-qlub-report/
-สัมภาษณ์โดยตรงกับคุณแทน-ทินกฤต สินทัตตโสภณ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ KAMU
-https://thelowdown.momentum.asia/press-release-southeast-asia-spends-us3-66-billion-a-year-on-bubble-tea-momentum-works-qlub-report/