สรุป กลยุทธ์ ZARA ที่ทำให้เป็นแบรนด์เสื้อผ้าเบอร์ต้น ๆ ของโลก แม้แทบไม่โฆษณา
Business

สรุป กลยุทธ์ ZARA ที่ทำให้เป็นแบรนด์เสื้อผ้าเบอร์ต้น ๆ ของโลก แม้แทบไม่โฆษณา

3 ส.ค. 2024
สรุป กลยุทธ์ ZARA ที่ทำให้เป็นแบรนด์เสื้อผ้าเบอร์ต้น ๆ ของโลก แม้แทบไม่โฆษณา /โดย ลงทุนเกิร์ล
มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในสเปน ไม่ได้สร้างทรัพย์สินขึ้นมาจากธุรกิจเทคโนโลยี หรือน้ำมัน
แต่มาจากธุรกิจ “ค้าปลีกสินค้าแฟชั่น” สิ่งของที่บางคนอาจมองว่าไร้สาระ แต่กลับสร้างเม็ดเงินมูลค่ามหาศาล
ซึ่งคนที่มองเห็นโอกาสจากธุรกิจนี้ ก็คือ “คุณอามันซิโอ ออร์เตกา” ผู้ก่อตั้งบริษัท Inditex โดยในปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทกว่า 5.6 ล้านล้านบาท
หนึ่งในแบรนด์ที่เป็นหัวใจหลักของ Inditex ที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือ “ZARA” นั่นเอง
โดย ZARA เพียงแบรนด์เดียวสามารถทำรายได้ไปได้ถึง 1,025,000 ล้านบาทในปี 2023
คิดเป็นสัดส่วนถึง 73% ของรายได้ทั้งบริษัท Inditex
แล้ว ZARA มีกลยุทธ์อะไรที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
ZARA ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ขึ้นชื่อในเรื่อง “ไม่ทำการตลาด” และแทบไม่ค่อยใช้สื่อโฆษณาในการโปรโมตสินค้าเลย
โดยคุณออร์เตกา ผู้วางรากฐานในเรื่องนี้มีมุมมองว่า “วิธีทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพ” และ “สื่อโฆษณาที่ดีที่สุด” ก็คือ การจัดหน้าร้านให้ดี เพื่อดึงดูดลูกค้าให้อยากเดินเข้าร้าน และที่สำคัญคือ ผลิตเสื้อผ้าที่ทำให้ลูกค้าอยากใส่ แล้วนำออกมาโชว์ให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาได้เห็น
ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นได้ชัดจากสัดส่วนรายได้ในปี 2020 ที่แม้ว่าทั่วโลกจะต้องเผชิญกับวิกฤติโรคระบาด จนผู้คนหันมาใช้การสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ แต่รายได้เกือบ 70% ยังคงมาจากช่องทางออฟไลน์
เมื่อพูดถึงการจัดหน้าร้านไปแล้ว ก็คงจะขาดองค์ประกอบสำคัญอย่าง “เสื้อผ้า” ไม่ได้
ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่ ZARA เลือกใช้ก็คือ “Scarcity Marketing” หรือก็คือ การผลิตสินค้าให้น้อยกว่าความต้องการในตลาด และยิ่งสินค้ามีน้อยเท่าไร ก็จะยิ่งกระตุ้นให้คนอยากได้มากเท่านั้น
ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นภาพชัด ๆ ก็อย่างเช่น ในบางครั้งที่เราแค่รู้สึกถูกใจ และกำลังลังเลว่าจะซื้อดีหรือไม่ แต่พอรู้ว่าของชิ้นนี้เหลือเป็นชิ้นสุดท้ายในคอลเลกชันนี้ ก็อาจทำให้เรารู้สึกว่าต้องเป็นเจ้าของสิ่งนี้ให้ได้ ก่อนที่มันจะตกไปเป็นของคนอื่นนั่นเอง
ที่น่าสนใจคือ แม้ว่า ZARA จะเน้นการผลิตสินค้าจำนวนไม่มากในแต่ละคอลเลกชัน แต่แบรนด์จะเลือกหันไปให้ความสำคัญกับ ความถี่ของการปล่อยสินค้าใหม่มากกว่า
โดยทาง ZARA จะมีการเติม “สินค้าใหม่” เข้าร้าน “ทุก ๆ สัปดาห์”
ซึ่งการปล่อยคอลเลกชันใหม่ออกมาถี่ ๆ แบบนี้จะช่วยให้แบรนด์ไม่พลาดเทรนด์แฟชั่นที่ฮิตอยู่ในขณะนั้น และยังเป็นการเพิ่มความสดใหม่ให้กับแบรนด์ เพราะเมื่อลูกค้ากลับมาที่ร้านอีกครั้ง ก็จะได้พบกับสินค้าใหม่อยู่บ่อย ๆ ซึ่งแตกต่างกับหลาย ๆ แบรนด์ที่ในแต่ละซีซันมักจะปล่อยออกมาเพียง 1-2 คอลเลกชัน
ในขณะเดียวกัน การผลิตสินค้าออกมาจำนวนน้อย ๆ แต่ปล่อยมาถี่ ๆ ยังทำให้แบรนด์ไม่ต้องฝากความหวังกับคอลเลกชันเพียงคอลเลกชันเดียว และอาจจะขายไม่ออก เพราะเราประเมินความต้องการในตลาดผิดพลาด
แล้ว ZARA ทำอย่างไร ให้สามารถผลิตและส่งคอลเลกชันใหม่มาถึงแต่ละสาขาได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีสาขาอยู่ทั่วทุกมุมโลก ?
คำตอบของเรื่องนี้ก็เป็นเพราะ ZARA มีโรงงานผลิตสินค้ากระจายอยู่ในหลายโซนทั่วโลกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น สเปน, โปรตุเกส, โมร็อกโก, ตุรกี, เวียดนาม, กัมพูชา, จีน, อียิปต์, ตูนิเซีย และอีกหลากหลายประเทศ
โดยในปัจจุบัน Inditex ได้ผลิตสินค้าผ่านโรงงานกว่า 8,123 แห่งทั่วโลก
เพราะ ZARA ต้องการให้สินค้าถูกผลิตขึ้นใกล้ ๆ กับสาขาในแต่ละประเทศ เพื่อย่นเวลาในการขนส่งสินค้า
ซึ่งวิธีนี้ยังช่วยให้ ZARA ได้เปรียบผู้ค้าปลีกเสื้อผ้ารายอื่น ๆ ที่ผลิตสินค้าจากแหล่งไกล ๆ และกว่าจะขนส่งจากซีกโลกหนึ่งไปอีกซีกโลกหนึ่ง ก็น่าจะทำให้กินเวลาพอสมควร
นอกจากนี้ แบรนด์ยังสามารถเลือกโรงงานผลิตสินค้าให้ตรงตามความเชี่ยวชาญของแต่ละแห่งได้อีกด้วย เพราะแม้ว่าจะเป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้าเหมือนกัน แต่ละแห่งก็จะมีความถนัด และเครื่องมือในการผลิตที่ต่างกัน
ขณะเดียวกัน แบรนด์ยังสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดี เพราะหากในกรณีที่โรงงานแห่งหนึ่งเกิดปัญหา ZARA ก็ยังเหลือโรงงานอีกหลายพันแห่งที่สามารถผลิตสินค้าได้
ถัดมาที่อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ อย่างการออกแบบเสื้อผ้าให้เข้ากับเทรนด์อยู่ตลอด
ในอดีต ZARA เป็นที่รู้จักในฐานะแบรนด์ Fast Fashion ที่ดึงสไตล์จากรันเวย์มาขายในร้านได้โดยใช้เวลาภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจบงานแฟชั่นโชว์ ในขณะที่แบรนด์อื่นอาจต้องใช้เวลาเตรียมการถึง 6 เดือน
แต่สำหรับในปัจจุบัน ที่โลกออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลกับความคิดคนมากขึ้น ทำให้ ZARA เองก็ต้องปรับวิธีเช่นกัน โดยหนึ่งในดิไซเนอร์ของ ZARA ได้เปิดเผยกับ Indigo9 Digital ว่า พวกเขามักจะสังเกตว่าในตอนนี้อินฟลูเอนเซอร์นิยมแต่งตัวสไตล์ไหน แล้วนำกลับมาเป็นไอเดียในการออกแบบ และในไม่กี่สัปดาห์ถัดมา เสื้อผ้าสไตล์นี้ก็จะถูกกระจายไปทั่วโลก
ในขณะเดียวกัน ดิไซเนอร์ของ ZARA ยังมีการรวมความเห็นจากผู้จัดการร้าน, เก็บข้อมูลจากการค้นหาในเว็บไซต์ รวมไปถึงความต้องการต่าง ๆ จากลูกค้า โดยข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาการออกแบบ และผลิตสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด
เพราะสุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะมีระบบการผลิต การขนส่ง การจัดหน้าร้าน หรือกลยุทธ์การตลาดที่ดีแค่ไหน
แต่หัวใจหลักที่มีผลต่อยอดขายจริง ๆ ก็คือ “ลูกค้า”
พนักงานขายที่ดีที่สุดก็คือ “ลูกค้า” ที่จะช่วยบอกต่อหากพวกเขาประทับใจ
และนางแบบที่ดีที่สุดก็คือ “ลูกค้า” ที่สวมใส่เสื้อผ้าของ ZARA ในชีวิตจริงนั่นเอง..
—------------------
Inditex เจ้าของ ZARA เป็นหนึ่งในหุ้น ที่อยู่ใน MEGA10EURO
“MEGA10EURO เปิดจอง IPO”
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัททรงอิทธิพลในยูโรโซน กับ MEGA10EURO
กองทุนเปิด MEGA10EURO ชนิดสะสมมูลค่า (MEGA10EURO-A) ชนิดเพื่อการออม (MEGA10EURO-SSF) และกองทุนเปิด MEGA10EURO เพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA10EURORMF) เป็นกองทุนที่จะเข้าไปลงทุนในบริษัทที่อยู่ใน Euro Stoxx 50 ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มประเทศยูโรโซน
โดยคัดเลือกมาจากบริษัท ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูง และมีสภาพคล่องสูง จำนวน 10 บริษัท เช่น LVMH, Hermès, L'Oréal, Inditex (เจ้าของ Zara) และ EssilorLuxottica*
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
MEGA10EURO-A เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
MEGA10EURO-SSF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว
MEGA10EURORMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
ผู้สนับสนุนการขาย ได้แก่
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัดธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ และเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน
กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ และ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
—------------------
References:
-Inditex: Annual Report 2023
-https://www.zara.com/es/en/help/availability-h10.html
-https://www.inditex.com/about-us/inditex-around-the-world#continent/000
-https://medium.com/@kalyaniiHelp-Availability8927/fashion-history-zara-19ac531d9ab1
-https://www.longtunman.com/3860
-https://www.indigo9digital.com/blog/zarastrategy
-https://www.investopedia.com/articles/markets/120215/hm-vs-zara-vs-uniqlo-comparing-business-models.asp
-https://martinroll.com/resources/articles/strategy/the-secret-of-zaras-success-a-culture-of-customer-co-creation/
© 2024 Longtungirl. All rights reserved. Privacy Policy.