Business
ทำไม บริษัทอิตาลี อย่าง PRADA ถึง IPO ในตลาดหุ้น ฮ่องกง ?
4 ก.ค. 2022
ทำไม บริษัทอิตาลี อย่าง PRADA ถึง IPO ในตลาดหุ้น ฮ่องกง ? /โดย ลงทุนเกิร์ล
รู้หรือไม่ว่า PRADA ใช้เวลาเกือบ 100 ปี กว่าจะตัดสินใจนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น แถมตลาดที่เลือกไป IPO ก็ยังไม่ใช่ประเทศบ้านเกิด อย่างอิตาลี แต่กลับเป็น “ฮ่องกง”
ซึ่งนอกจาก PRADA แล้ว
ก็ยังมีบริษัทจาก “ฝรั่งเศส” อย่าง L'Occitane
หรือบริษัทสัญชาติ “อเมริกัน” อย่าง Samsonite
ก็ยังเลือกไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงด้วยเช่นกัน
ก็ยังมีบริษัทจาก “ฝรั่งเศส” อย่าง L'Occitane
หรือบริษัทสัญชาติ “อเมริกัน” อย่าง Samsonite
ก็ยังเลือกไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงด้วยเช่นกัน
แล้วทำไม บริษัทอิตาลีอย่าง PRADA ถึง IPO ในตลาดหุ้นฮ่องกง ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
PRADA เริ่มจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นในปี 2011
ซึ่งบริษัทได้ใช้เวลาวางแผน และเตรียมตัวกว่า 10 ปี เลยทีเดียว
ซึ่งบริษัทได้ใช้เวลาวางแผน และเตรียมตัวกว่า 10 ปี เลยทีเดียว
โดยในตอนแรก บริษัทได้เล็งว่าจะ IPO ในตลาดหุ้นอิตาลี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ PRADA
แต่ก่อนที่จะได้มีการ IPO ตลาดหุ้นอิตาลีกลับอยู่ในช่วงขาลง จนทำให้มูลค่าทั้งตลาดหุ้นอิตาลี หายไปกว่าครึ่งหนึ่ง ภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี
แต่ก่อนที่จะได้มีการ IPO ตลาดหุ้นอิตาลีกลับอยู่ในช่วงขาลง จนทำให้มูลค่าทั้งตลาดหุ้นอิตาลี หายไปกว่าครึ่งหนึ่ง ภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี
ดังนั้น บริษัทจึงต้องเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ ที่เหมาะกับการ IPO และฮ่องกงก็ถือเป็นคำตอบ..
โดยในขณะนั้น ตลาดหุ้นฮ่องกง ถือว่ากำลังร้อนแรง
The Wall Street Journal ได้รายงานว่า 1 ปีก่อนที่ PRADA จะทำการ IPO
ตลาดหุ้นฮ่องกง เป็น “ตลาด IPO ที่ใหญ่ที่สุดในโลก”
ตลาดหุ้นฮ่องกง เป็น “ตลาด IPO ที่ใหญ่ที่สุดในโลก”
โดยมีบริษัทที่ IPO ในปีนั้นมากถึง 87 บริษัท และคิดเป็นมูลค่าจากการ IPO กว่า 2 ล้านล้านบาท
ในขณะเดียวกัน ฮ่องกงก็ยังถือเป็น “ศูนย์กลางการเงิน” ที่ติด Top 3 ของโลก
ซึ่งเป็นรองเพียงลอนดอน และนิวยอร์กเท่านั้น
ซึ่งเป็นรองเพียงลอนดอน และนิวยอร์กเท่านั้น
แต่ถ้าดูในช่วงนั้น ตลาดหุ้นฝั่งลอนดอน และนิวยอร์ก ก็ดูจะไม่ค่อยฮอตเท่าฮ่องกง
เพราะถ้าหากดูจากตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE)
แม้ว่าจะมีบริษัทที่ IPO ถึง 99 บริษัท ซึ่งมากกว่าฮ่องกง ในช่วงเวลาเดียวกัน
แต่มูลค่าจากการ IPO รวมทั้งตลาด กลับอยู่ที่เพียง 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าฮ่องกง เกือบครึ่งหนึ่ง
แม้ว่าจะมีบริษัทที่ IPO ถึง 99 บริษัท ซึ่งมากกว่าฮ่องกง ในช่วงเวลาเดียวกัน
แต่มูลค่าจากการ IPO รวมทั้งตลาด กลับอยู่ที่เพียง 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าฮ่องกง เกือบครึ่งหนึ่ง
ส่วนตลาดหุ้นลอนดอน ที่ในปี 2007 เคยเป็นตลาดที่มีมูลค่าการ IPO สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
แต่พอมาในปี 2010 กลับมีบริษัทที่ทำการ IPO อยู่เพียง 50 บริษัท รวมเป็นมูลค่าเพียง 4 แสนล้านบาท
แต่พอมาในปี 2010 กลับมีบริษัทที่ทำการ IPO อยู่เพียง 50 บริษัท รวมเป็นมูลค่าเพียง 4 แสนล้านบาท
ซึ่งสาเหตุก็มาจากการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี จากเป็นพรรคแรงงาน มาเป็นพรรคอนุรักษนิยม ทำให้หลายฝ่ายกังวล เรื่องความไม่แน่นอน ส่งผลให้หลายบริษัทเลือกที่จะเลื่อนการ IPO ออกไป หรือบางรายก็เลือกที่จะไม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นลอนดอนเลย
ถัดมาอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ อย่าง “กองทุน China Investment Corporation (CIC)”
ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ สำหรับลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก
และขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนก็ยังใช้กองทุน CIC เพื่อสนับสนุนการเสนอขายหุ้น IPO ในบางบริษัทด้วย
และขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนก็ยังใช้กองทุน CIC เพื่อสนับสนุนการเสนอขายหุ้น IPO ในบางบริษัทด้วย
โดยรัฐบาลจีนจะใช้กองทุน CIC เข้าไปซื้อหุ้น IPO และจะไม่ทำการขายหุ้นตัวนั้น เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
และตามการรายงานของ Bloomberg ยังระบุว่า ปีที่บริษัท L'Occitane ได้ทำการ IPO ในตลาดหุ้นฮ่องกง รัฐบาลจีนก็ใช้กองทุน CIC เข้าลงทุนเป็นเงินเกือบ 1,800 ล้านบาทเลยทีเดียว
นอกจากนั้น อีกสาเหตุสำคัญก็คือ เอเชียแปซิฟิก เป็นตลาดหลักของสินค้าแบรนด์หรู
หากดูจากสัดส่วนรายได้ของบริษัท PRADA ก็จะพบว่า
ปี 2009 รายได้จากเอเชียแปซิฟิก คิดเป็น 29.2%
ปี 2010 รายได้จากเอเชียแปซิฟิก คิดเป็น 38.3%
ปี 2011 รายได้จากเอเชียแปซิฟิก คิดเป็น 42.5%
ปี 2010 รายได้จากเอเชียแปซิฟิก คิดเป็น 38.3%
ปี 2011 รายได้จากเอเชียแปซิฟิก คิดเป็น 42.5%
หรือแม้กระทั่งในปี 2021 ที่ผ่านมา
รายได้ของบริษัท PRADA กว่า 51% ก็มาจากเอเชียแปซิฟิก
รายได้ของบริษัท PRADA กว่า 51% ก็มาจากเอเชียแปซิฟิก
เราจะเห็นได้ว่า รายได้จากพื้นที่ดังกล่าว มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งหนึ่งในเหตุผลสำคัญ ก็เพราะ “ชาวจีน” ที่กำลังร่ำรวยขึ้น
ซึ่งหนึ่งในเหตุผลสำคัญ ก็เพราะ “ชาวจีน” ที่กำลังร่ำรวยขึ้น
ดังนั้น การที่ PRADA เลือกจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง ส่วนหนึ่งก็เพื่อเข้าใกล้ตลาดที่กำลังเติบโตสูง และลูกค้ากลุ่มสำคัญ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการระดมทุน
สำหรับในปัจจุบัน PRADA มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ประมาณ 5 แสนล้านบาท
และมี 5 แบรนด์ในเครือ ประกอบด้วย
PRADA, MIU MIU, Church’s, CAR SHOE, Marchesi 1824
และมี 5 แบรนด์ในเครือ ประกอบด้วย
PRADA, MIU MIU, Church’s, CAR SHOE, Marchesi 1824
อย่างไรก็ตาม หากนับตั้งแต่วันแรกที่ IPO ราคาหุ้นของ PRADA นั้น เติบโตขึ้นเพียง 10.9% เท่านั้น ทั้ง ๆ ที่เคยพุ่งสูงขึ้นเป็น 2 เท่าตัว ในปี 2013 ก่อนจะค่อย ๆ ลดลงมาเรื่อย ๆ ดังเช่นในปัจจุบัน
ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการบริหาร และผลประกอบการที่เติบโตช้า
รวมถึงสถานการณ์ของฮ่องกงในตอนนี้ ก็ดูจะเต็มไปด้วยปัญหา จนทำให้ตลาดที่เคยดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก กลายเป็นตลาดที่มีความกังวลถึงความไม่แน่นอน
รวมถึงสถานการณ์ของฮ่องกงในตอนนี้ ก็ดูจะเต็มไปด้วยปัญหา จนทำให้ตลาดที่เคยดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก กลายเป็นตลาดที่มีความกังวลถึงความไม่แน่นอน
เรียกได้ว่า PRADA ในวันนั้นอาจไม่ได้ตัดสินใจผิดพลาด
เพียงแต่ไม่คาดคิดว่า จะเกิดสถานการณ์อย่างในตอนนี้ขึ้นเท่านั้นเอง..
เพียงแต่ไม่คาดคิดว่า จะเกิดสถานการณ์อย่างในตอนนี้ขึ้นเท่านั้นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ผู้ที่นำบริษัท PRADA เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นก็คือ คุณ Miuccia Prada หลานสาวคนเล็กของผู้ก่อตั้ง PRADA ซึ่งเธอถูกขนานนามว่าเป็นคนที่มีความคิดแบบ “หัวขบถ”
เรื่องราวของเธอจะน่าสนใจอย่างไร ?
ติดตามต่อได้ที่ https://www.longtungirl.com/1440
ติดตามต่อได้ที่ https://www.longtungirl.com/1440
References:
-The Global Financial Centres Index
-https://www.ft.com/content/58b21e64-801e-3e83-b58f-880871de43c7
-https://www.reuters.com/article/sunac-ipo-idUKTOE68K06L20100921
-https://www.reuters.com/article/us-PRADA-idUSTRE75N09P20110624
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2010-04-30/l-occitane-initial-share-offering-said-to-raise-707-million-in-hong-kong
-https://www.theatlantic.com/culture/archive/2011/05/why-luxury-brands-love-hong-kong-stock-exchange/
-The Global Financial Centres Index
-https://www.ft.com/content/58b21e64-801e-3e83-b58f-880871de43c7
-https://www.reuters.com/article/sunac-ipo-idUKTOE68K06L20100921
-https://www.reuters.com/article/us-PRADA-idUSTRE75N09P20110624
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2010-04-30/l-occitane-initial-share-offering-said-to-raise-707-million-in-hong-kong
-https://www.theatlantic.com/culture/archive/2011/05/why-luxury-brands-love-hong-kong-stock-exchange/