Business
Kajabi วางโมเดลธุรกิจอย่างไร ให้เป็น EdTech มูลค่า 67,000 ล้าน
4 ม.ค. 2022
Kajabi วางโมเดลธุรกิจอย่างไร ให้เป็น EdTech มูลค่า 67,000 ล้าน /โดย ลงทุนเกิร์ล
หลายคนอาจฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ
แต่คำถามคือ เราจะเริ่มต้นอย่างไร และมีอะไรที่ต้องทำบ้าง ?
เรื่องนี้คงเป็นปัญหาให้กับคนทั่วโลก
แต่มีคนกลุ่มหนึ่ง ได้เปลี่ยนคำถามนี้ ให้กลายเป็นธุรกิจมูลค่ากว่า 67,000 ล้านบาท ที่มีชื่อว่า “Kajabi”
แต่คำถามคือ เราจะเริ่มต้นอย่างไร และมีอะไรที่ต้องทำบ้าง ?
เรื่องนี้คงเป็นปัญหาให้กับคนทั่วโลก
แต่มีคนกลุ่มหนึ่ง ได้เปลี่ยนคำถามนี้ ให้กลายเป็นธุรกิจมูลค่ากว่า 67,000 ล้านบาท ที่มีชื่อว่า “Kajabi”
ถ้าหากจะถามว่า มูลค่าบริษัทขนาดนี้ใหญ่แค่ไหน ก็คงจะตอบได้ว่า Kajabi เป็น EdTech หรือเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่ใหญ่สุดเป็นอันดับที่ 13 ของโลกเลยทีเดียว
แล้วแพลตฟอร์มของ Kajabi มีความน่าสนใจอย่างไร ?
และจะเข้ามาตอบโจทย์เจ้าของธุรกิจได้ในเรื่องอะไรบ้าง ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
และจะเข้ามาตอบโจทย์เจ้าของธุรกิจได้ในเรื่องอะไรบ้าง ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
Kajabi เริ่มต้นจากการเป็นสตาร์ตอัปที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2010 ในสหรัฐอเมริกา
โดยคุณ Kenny Rueter และคุณ Travis Rosser
โดยคุณ Kenny Rueter และคุณ Travis Rosser
ซึ่ง Kajabi ได้นิยามตัวเองว่าเป็น แพลตฟอร์มที่ครอบคลุมบริการทางด้านธุรกิจอย่างครบวงจร
โดยฟีเชอร์การทำงานเด่น ๆ ของ Kajabi จะแบ่งออกเป็น 2 หมวดใหญ่ ๆ คือ
โดยฟีเชอร์การทำงานเด่น ๆ ของ Kajabi จะแบ่งออกเป็น 2 หมวดใหญ่ ๆ คือ
คอร์สเรียนออนไลน์
โดยจะมีการเปิดให้คนทั่วไป ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านสามารถเข้ามาเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ได้ ซึ่งเนื้อหาหลัก ๆ ที่อยู่บนแพลตฟอร์มก็จะเน้นไปที่เรื่องธุรกิจ, การตลาด, การเงินการลงทุน ไปจนถึงเรื่องไลฟ์สไตล์ อย่างการออกกำลังกาย
ซึ่งทาง Kajabi ได้มีการเปิดเผยออกมาว่า ในปี 2018 แพลตฟอร์ม Kajabi ได้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างรายได้ จากการขายคอร์สเรียนออนไลน์ไปแล้วสูงถึง 16,865 ล้านบาท และต่อมาในปี 2020 ก็ขยับขึ้นเป็น 36,893 ล้านบาท
บริการทางด้านธุรกิจอย่างครบวงจร
Kajabi มีบริการสำหรับ “สร้างเว็บไซต์” โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องรู้วิธีเขียนโคด
แถมในแพลตฟอร์มยังมีเทมเพลตเว็บไซต์สำเร็จรูปให้เลือกหลากหลายแบบ ซึ่งเราสามารถนำมาปรับแต่งให้เป็นสไตล์ของแบรนด์เราได้ โดยที่เราไม่ต้องจ้างเว็บดีไซเนอร์ เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่อาจมีเงินทุนไม่มากพอสำหรับจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ
แถมในแพลตฟอร์มยังมีเทมเพลตเว็บไซต์สำเร็จรูปให้เลือกหลากหลายแบบ ซึ่งเราสามารถนำมาปรับแต่งให้เป็นสไตล์ของแบรนด์เราได้ โดยที่เราไม่ต้องจ้างเว็บดีไซเนอร์ เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่อาจมีเงินทุนไม่มากพอสำหรับจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ
นอกจากนี้ Kajabi ยังมี “ระบบชำระเงิน” ที่สามารถใช้เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ได้ ซึ่งในปัจจุบัน Kajabi จะใช้ระบบชำระเงินของ Stripe และ PayPal ซึ่งถือเป็น 2 แพลตฟอร์มรับชำระเงินที่มีความน่าเชื่อถือ รวดเร็ว และใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
ที่สำคัญคือ ทุก ๆ รายได้ของเราที่เข้ามาผ่านระบบชำระเงินดังกล่าว ทาง Kajabi จะไม่มีการหักค่าธรรมเนียมใด ๆ
แตกต่างจากการสร้างเว็บไซต์ทั่ว ๆ ไป ที่หากเราต้องการผูกระบบจ่ายเงินเข้ากับเว็บไซต์ ก็อาจจะต้องติดต่อไปหาผู้ให้บริการรับชำระเงินเอง และในบางรายอาจคิดค่าธรรมเนียมเมื่อมีการทำธุรกรรมเกิดขึ้น
รวมถึงมีระบบ Web Analytics ที่สามารถนำข้อมูลที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของเรามาสรุป และใช้เป็นเครื่องมือทางธุรกิจและการตลาดได้
นอกจากนี้ Kajabi ยังได้พัฒนาระบบโต้ตอบอัตโนมัติบนเว็บไซต์ เพื่อให้ลูกค้าได้รับการแก้ปัญหาเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเหมาะมากกับบริษัทที่มีพนักงานน้อย ทำให้อาจไม่สามารถให้บริการลูกค้าได้ทันท่วงที
ซึ่งบริการทั้งหมดที่เราได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ทำให้ Kajabi สามารถสร้างจุดแข็งในการเป็นแพลตฟอร์มแบบ All In One ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการทำงานง่ายขึ้น ลดความซ้ำซ้อน รวมไปถึงประหยัดทั้งเงินและเวลา
โดยในปัจจุบัน Kajabi มีผู้ใช้งานมากกว่า 41 ล้านคนใน 120 ประเทศ
ที่สำคัญ นิตยสารชื่อดังอย่าง Inc. ยังได้จัดอันดับให้ Kajabi เป็นหนึ่งใน 5,000 บริษัทเอกชนสหรัฐฯ ที่เติบโตเร็วที่สุด ติดต่อกันมากว่า 7 ปีแล้ว
ในขณะเดียวกัน Inc. ยังได้รายงานว่า Kajabi มีรายได้เติบโตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้สูงถึง 427%
ที่น่าสนใจคือ ในการระดมทุนรอบล่าสุดของ Kajabi เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2021 นี้
บริษัทยังได้รับเงินทุนไปกว่า 18,446 ล้านบาท
บริษัทยังได้รับเงินทุนไปกว่า 18,446 ล้านบาท
เรื่องนี้ส่งผลให้ปัจจุบัน Kajabi ได้รับการประเมินมูลค่ามากกว่า 67,000 ล้านบาท
โดยโมเดลธุรกิจของ Kajabi จะเป็นแบบ “Freemium” ที่มาจากคำว่า Free และ Premium
ซึ่งหมายถึง สินค้าและบริการที่เราสามารถใช้ได้ฟรี แต่ถ้าหากอยากได้สิทธิพิเศษ หรือเข้าถึงบริการที่มากขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องจ่ายเงิน และรายได้ของบริษัทก็จะมาจากค่าบริการตรงนี้นั่นเอง
ซึ่งหมายถึง สินค้าและบริการที่เราสามารถใช้ได้ฟรี แต่ถ้าหากอยากได้สิทธิพิเศษ หรือเข้าถึงบริการที่มากขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องจ่ายเงิน และรายได้ของบริษัทก็จะมาจากค่าบริการตรงนี้นั่นเอง
ทั้งหมดนี้ ก็คือเรื่องราวของ Kajabi ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ จากการช่วยให้ธุรกิจอื่นได้เติบโต..
References:
-https://www.reuters.com/technology/
-https://www.irvinestandard.com/2018/innovators-kajabi/
-https://systeme.io/blog/kajabi-review-pricing
-https://kajabi.com/
-https://www.prnewswire.com/news-releases/
-https://www.ibtimes.com/kajabi-passes-11-billion-customer-revenue-edtech-heats-2954240
-https://www.inc.com/profile/kajabi
-https://incmagazine.zendesk.com/hc/en-us/articles/360000101526-What-is-the-Inc-5000-
-https://www.reuters.com/technology/
-https://www.irvinestandard.com/2018/innovators-kajabi/
-https://systeme.io/blog/kajabi-review-pricing
-https://kajabi.com/
-https://www.prnewswire.com/news-releases/
-https://www.ibtimes.com/kajabi-passes-11-billion-customer-revenue-edtech-heats-2954240
-https://www.inc.com/profile/kajabi
-https://incmagazine.zendesk.com/hc/en-us/articles/360000101526-What-is-the-Inc-5000-