FoodBusiness
Hungryroot ร้านขายของชำออนไลน์ที่ใช้ AI ช่วยเลือกของ มูลค่า 2 หมื่นล้าน
1 ก.ค. 2021
Hungryroot ร้านขายของชำออนไลน์ที่ใช้ AI ช่วยเลือกของ มูลค่า 2 หมื่นล้าน /โดย ลงทุนเกิร์ล
ต้องยอมรับว่าในยุคนี้ “เทรนด์สุขภาพ” เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงสุด ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก วิกฤติโรคระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ก็ยิ่งทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพ อาหารการกินมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก วิกฤติโรคระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ก็ยิ่งทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพ อาหารการกินมากขึ้น
จากผลสำรวจของ International Food Information Council พบว่า
ในปี 2020 ผู้บริโภคทั้งหมด 54% หันมาใส่ใจเรื่องการเลือกซื้ออาหารมากขึ้น
และให้ความสำคัญกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า รสชาติหรือราคาของอาหาร
ในปี 2020 ผู้บริโภคทั้งหมด 54% หันมาใส่ใจเรื่องการเลือกซื้ออาหารมากขึ้น
และให้ความสำคัญกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า รสชาติหรือราคาของอาหาร
อย่างไรก็ตาม การที่จะทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะในบางครั้งผู้บริโภคเองก็ไม่ได้รู้ว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวเรากันแน่
เพราะในบางครั้งผู้บริโภคเองก็ไม่ได้รู้ว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวเรากันแน่
แล้วจะดีแค่ไหน ถ้าหากมีคนคอยช่วยคำนวณวัตถุดิบ ที่เราจะซื้อมาทำอาหาร และบอกว่าเราควรจะทานอะไร
หมดปัญหาว่า “วันนี้จะกินอะไรดี ?” แถมยังมีบริการส่งอาหารถึงหน้าบ้านอีก
หมดปัญหาว่า “วันนี้จะกินอะไรดี ?” แถมยังมีบริการส่งอาหารถึงหน้าบ้านอีก
ซึ่งสิ่งที่บอกมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้เกินจริงเลย เพราะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีบริษัทหนึ่งที่ชื่อว่า Hungryroot
ได้นำเอาเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยเหลือผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเหล่านี้
ได้นำเอาเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยเหลือผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเหล่านี้
แล้วบริการของ Hungryroot น่าสนใจอย่างไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
Hungryroot ก่อตั้งโดยหนุ่ม ๆ 3 คน ได้แก่ คุณ Benjamin McKean,
คุณ Gregory Struck และคุณ Franklin Becker
คุณ Gregory Struck และคุณ Franklin Becker
โดยไอเดียของ Hungryroot เกิดขึ้นมาจากคุณ Benjamin McKean
ซึ่งเขาอยากจะสร้างธุรกิจอาหาร ที่ช่วยให้ผู้บริโภคได้ทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ในทุก ๆ วัน
ซึ่งเขาอยากจะสร้างธุรกิจอาหาร ที่ช่วยให้ผู้บริโภคได้ทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ในทุก ๆ วัน
โดยโมเดลธุรกิจของ Hungryroot ในตอนแรก จะเป็นการให้บริการอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
เช่น อาหารมังสวิรัติ อาหารปลอดกลูเทน หรือขนมที่ทานแล้วดีต่อสุขภาพ
เช่น อาหารมังสวิรัติ อาหารปลอดกลูเทน หรือขนมที่ทานแล้วดีต่อสุขภาพ
แต่ในตอนที่ Hungryroot เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2015
บริษัทมีสินค้าจำหน่ายเพียงแค่ 6 ประเภทเท่านั้น
และมีเป้าหมายที่จะเป็นตัวช่วยให้ลูกค้าสามารถทำอาหารได้ง่ายดายมากขึ้น
ด้วยการจำหน่ายอาหารแบบพร้อมปรุง (Ready to Cook) ให้กับลูกค้า
บริษัทมีสินค้าจำหน่ายเพียงแค่ 6 ประเภทเท่านั้น
และมีเป้าหมายที่จะเป็นตัวช่วยให้ลูกค้าสามารถทำอาหารได้ง่ายดายมากขึ้น
ด้วยการจำหน่ายอาหารแบบพร้อมปรุง (Ready to Cook) ให้กับลูกค้า
ซึ่งในตอนนั้น Hungryroot ก็มีแผนเหมือนกับแบรนด์อื่นทั่ว ๆ ไป
ที่ใฝ่ฝันอยากจะนำสินค้าเข้าไปวางขายใน Whole Foods ห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายแต่สินค้าที่ดีต่อสุขภาพ
ที่ใฝ่ฝันอยากจะนำสินค้าเข้าไปวางขายใน Whole Foods ห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายแต่สินค้าที่ดีต่อสุขภาพ
แต่สุดท้าย Hungryroot ก็เปลี่ยนใจ และเลือกที่จะทำตลาด
ด้วยการจำหน่ายแบบ D2C (Direct to Customer) ให้ลูกค้าสามารถสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ได้โดยไม่ผ่านคนกลาง
ด้วยการจำหน่ายแบบ D2C (Direct to Customer) ให้ลูกค้าสามารถสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ได้โดยไม่ผ่านคนกลาง
เหตุผลที่แบรนด์ตัดสินใจปรับเปลี่ยนวิธีการขายสินค้าก็เป็นเพราะ ปัจจัยด้านจำนวนการผลิต ที่ต้องผลิตให้ได้ตามที่ห้างกำหนด
รวมไปถึง การส่งสินค้าใหม่เข้าไปแข่งขันในห้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแบรนด์คู่แข่งอยู่หลากหลาย ดังนั้นย่อมเป็นเรื่องยากสำหรับแบรนด์น้องใหม่ ที่จะเข้าไปเริ่มต้นในนั้น
รวมไปถึง การส่งสินค้าใหม่เข้าไปแข่งขันในห้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแบรนด์คู่แข่งอยู่หลากหลาย ดังนั้นย่อมเป็นเรื่องยากสำหรับแบรนด์น้องใหม่ ที่จะเข้าไปเริ่มต้นในนั้น
แต่เมื่อธุรกิจดำเนินไป คุณ Benjamin McKean และทีมงานก็พบว่า
ด้วยจำนวนสินค้าที่มีให้เลือกไม่มาก ทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกที่น้อยเกินไป
ด้วยจำนวนสินค้าที่มีให้เลือกไม่มาก ทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกที่น้อยเกินไป
Hungryroot จึงตัดสินใจ ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนสินค้าให้มีจำนวนมากขึ้น
แน่นอนว่าเมื่อสินค้ามากขึ้น ยอดขายก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี เพราะการทำอาหารแบบ Ready to Cook ส่งนั้น
ก็จะได้เพียงแต่กลุ่มลูกค้าที่ต้องการใส่ใจสุขภาพ ที่ไม่ต้องการทำอาหารเองเท่านั้น
ซึ่งบางกลุ่มอาจจะต้องการทำอาหารทานเองมากกว่า เพื่อให้ทราบกระบวนการปรุงทุกขั้นตอนจริง ๆ
แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี เพราะการทำอาหารแบบ Ready to Cook ส่งนั้น
ก็จะได้เพียงแต่กลุ่มลูกค้าที่ต้องการใส่ใจสุขภาพ ที่ไม่ต้องการทำอาหารเองเท่านั้น
ซึ่งบางกลุ่มอาจจะต้องการทำอาหารทานเองมากกว่า เพื่อให้ทราบกระบวนการปรุงทุกขั้นตอนจริง ๆ
จนในที่สุดหลังจากที่เปิดกิจการมาได้ 4 ปี Hungryroot ก็ตัดสินใจเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่
เปลี่ยนจากการที่ให้บริการสินค้าแบบ Ready to Cook ให้กลายเป็นร้านขายของชำออนไลน์
โดยการร่วมมือกับแบรนด์อื่น ๆ ในการนำเอาสินค้าเข้ามาวางจำหน่ายบนเว็บไซต์
เปลี่ยนจากการที่ให้บริการสินค้าแบบ Ready to Cook ให้กลายเป็นร้านขายของชำออนไลน์
โดยการร่วมมือกับแบรนด์อื่น ๆ ในการนำเอาสินค้าเข้ามาวางจำหน่ายบนเว็บไซต์
อย่างไรก็ตามการทำแพลตฟอร์มที่ขายของชำออนไลน์ ก็ไม่ได้มีแค่ Hungryroot เท่านั้นที่ทำ
เพราะยังมีบริษัทอื่นที่ให้บริการในรูปแบบนี้อีก ไม่ว่าจะ Kite Hill, Banza และอื่น ๆ
เพราะยังมีบริษัทอื่นที่ให้บริการในรูปแบบนี้อีก ไม่ว่าจะ Kite Hill, Banza และอื่น ๆ
แล้วอะไรที่ทำให้ Hungryroot นั้นแตกต่างจากเว็บไซต์ขายของชำเว็บอื่น ?
หากใครเคยช็อปปิงตามร้านขายของชำออนไลน์มาก่อน จะพบว่าส่วนใหญ่
มักจะเป็นการที่เราเลือกของที่เราต้องการลงในรถเข็น
และของที่เราเลือกนั้น ก็จะถูกส่งมาที่บ้านของเราตามวันและเวลาที่เรากำหนด
มักจะเป็นการที่เราเลือกของที่เราต้องการลงในรถเข็น
และของที่เราเลือกนั้น ก็จะถูกส่งมาที่บ้านของเราตามวันและเวลาที่เรากำหนด
แต่สำหรับ Hungryroot ไม่ได้ทำงานแบบนั้น
เพราะบริษัทได้มีการนำเอา AI (Artificial Intelligence) เข้ามาช่วยในการเลือกซื้อสินค้าด้วย
เพราะบริษัทได้มีการนำเอา AI (Artificial Intelligence) เข้ามาช่วยในการเลือกซื้อสินค้าด้วย
โดยลูกค้าทุกคนจะต้องตอบแบบสอบถามก่อนว่า
พวกเขามีพฤติกรรมการกินแบบไหน ชอบกินอะไรเป็นพิเศษ และมีกรณีพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่
เช่น เป็นมังสวิรัติ เป็นวีแกน หรือแพ้อาหารอะไรหรือไม่
พวกเขามีพฤติกรรมการกินแบบไหน ชอบกินอะไรเป็นพิเศษ และมีกรณีพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่
เช่น เป็นมังสวิรัติ เป็นวีแกน หรือแพ้อาหารอะไรหรือไม่
หลังจากนั้นจึงเลือกว่าต้องการให้ Hungryroot ส่งอาหารมาจำนวนเท่าไร
แล้วระบบจะทำการคำนวณของที่จะส่งมาให้ลูกค้า ว่าในรถเข็นนั้นจะมีสินค้าอะไรบ้าง
โดยลูกค้าเองก็สามารถปรับเปลี่ยน สินค้าที่อยู่ภายในรถเข็นได้เช่นกัน
แล้วระบบจะทำการคำนวณของที่จะส่งมาให้ลูกค้า ว่าในรถเข็นนั้นจะมีสินค้าอะไรบ้าง
โดยลูกค้าเองก็สามารถปรับเปลี่ยน สินค้าที่อยู่ภายในรถเข็นได้เช่นกัน
หลังจากนั้น AI ก็จะเรียนรู้จากการที่เราใช้งาน Hungryroot และในการซื้อครั้งถัดไป
ระบบก็จะจัดสรรอาหารที่เหมาะสมกับเรามากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ระบบก็จะจัดสรรอาหารที่เหมาะสมกับเรามากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ซึ่งผลตอบรับจากลูกค้า ก็ค่อนข้างดีเลยทีเดียว
โดยลูกค้าของ Hungryroot กว่า 72% รู้สึกพอใจกับการให้ AI คอยจัดการของที่จะส่งมาให้
โดยลูกค้าของ Hungryroot กว่า 72% รู้สึกพอใจกับการให้ AI คอยจัดการของที่จะส่งมาให้
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบางครั้งผู้ซื้อเองก็ไม่รู้ว่า ตัวเองต้องการซื้ออะไร หรือต้องการทานอะไรกันแน่
การที่มีคนมาคอยจัดการอาหารที่จะซื้อเข้าบ้านในแต่ละสัปดาห์ ก็ดูจะเป็นตัวช่วยที่ไม่แย่นัก
และถ้าหากเราไม่อยากทานอะไร ก็ทำเพียงแค่เปลี่ยนสินค้าเป็นอย่างอื่นที่เราชอบแทน
และถ้าหากเราไม่อยากทานอะไร ก็ทำเพียงแค่เปลี่ยนสินค้าเป็นอย่างอื่นที่เราชอบแทน
ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้ Hungryroot กับเจ้าอื่น ๆ
และการทำแบบนี้ยังทำให้บริษัท สามารถเก็บข้อมูล พฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้บริโภค
เพื่อนำไปใช้ในการออกแคมเปน หรือพัฒนาบริการให้เข้ากับผู้บริโภคได้อีกด้วย
และการทำแบบนี้ยังทำให้บริษัท สามารถเก็บข้อมูล พฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้บริโภค
เพื่อนำไปใช้ในการออกแคมเปน หรือพัฒนาบริการให้เข้ากับผู้บริโภคได้อีกด้วย
แล้วกลยุทธ์เหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อผลประกอบการของ Hungryroot ?
ในปี 2020 ที่ผ่านมา Hungryroot มีรายได้ 5,454 ล้านบาท
และในปี 2021 นี้ทางบริษัทก็คาดการณ์ว่าจะมีรายได้ที่เติบโตขึ้นเป็น 9,000 ล้านบาท
เพราะเทรนด์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการเกิดโรคระบาด
และในปี 2021 นี้ทางบริษัทก็คาดการณ์ว่าจะมีรายได้ที่เติบโตขึ้นเป็น 9,000 ล้านบาท
เพราะเทรนด์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการเกิดโรคระบาด
โดยคุณ Benjamin McKean มองว่า ผู้บริโภคกว่า 80% หันมาซื้อของชำออนไลน์มากขึ้นในปี 2020
และก็ยังมีผู้บริโภคอีกหลายคนที่มีแนวโน้มว่าจะยังคงใช้บริการต่อไป แม้ว่าจะไม่มีโรคระบาดแล้วก็ตาม
และก็ยังมีผู้บริโภคอีกหลายคนที่มีแนวโน้มว่าจะยังคงใช้บริการต่อไป แม้ว่าจะไม่มีโรคระบาดแล้วก็ตาม
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Hungryroot มีการระดมทุนมากว่า 5 ครั้ง โดยสามารถระดมทุนได้กว่า 2,000 ล้านบาท
และมีการประเมินมูลค่าบริษัท Hungryroot ว่ามีมูลค่าอยู่ที่ 23,000 ล้านบาท
หรือมีมูลค่าใกล้เคียงกับ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จํากัด (มหาชน) เลยทีเดียว
และมีการประเมินมูลค่าบริษัท Hungryroot ว่ามีมูลค่าอยู่ที่ 23,000 ล้านบาท
หรือมีมูลค่าใกล้เคียงกับ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จํากัด (มหาชน) เลยทีเดียว
References:
-https://www.hungryroot.com/
-https://www.crunchbase.com/organization/reimagined/company_financials
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-06-04/grocery-delivery-startup-hungryroot-boosts-value-to-750-million
-https://www.wellandgood.com/hungryroot-ceo-ben-mckean/
-https://www.forbes.com/sites/lanabandoim/2021/06/15/hungryroots-ai-powered-personalized-grocery-service-reaches-750m-valuation/?sh=6a8dacd9ba47
-https://www.businessinsider.com/hungryroot-launches-nationwide-and-gets-into-whole-foods-2016-5
-https://www.forbes.com/sites/phillempert/2020/10/19/food-trends-2021-staying-healthy-in-a-post-covid-19-world/?sh=46dc9d29485b
-https://www.hungryroot.com/
-https://www.crunchbase.com/organization/reimagined/company_financials
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-06-04/grocery-delivery-startup-hungryroot-boosts-value-to-750-million
-https://www.wellandgood.com/hungryroot-ceo-ben-mckean/
-https://www.forbes.com/sites/lanabandoim/2021/06/15/hungryroots-ai-powered-personalized-grocery-service-reaches-750m-valuation/?sh=6a8dacd9ba47
-https://www.businessinsider.com/hungryroot-launches-nationwide-and-gets-into-whole-foods-2016-5
-https://www.forbes.com/sites/phillempert/2020/10/19/food-trends-2021-staying-healthy-in-a-post-covid-19-world/?sh=46dc9d29485b