Business
Dairy Home แบรนด์นม 100 ล้าน ที่แทบไม่ใช้งบโฆษณา
26 ม.ค. 2021
Dairy Home แบรนด์นม 100 ล้าน ที่แทบไม่ใช้งบโฆษณา /โดย ลงทุนเกิร์ล
เราอาจเคยได้ยินหลายคนพูดถึงการทำเกษตรแบบออร์แกนิก และการทำธุรกิจเพื่อสังคมมาบ่อยครั้ง
แต่น้อยครั้งนักที่ธุรกิจแนวนี้จะประสบความสำเร็จ
แต่น้อยครั้งนักที่ธุรกิจแนวนี้จะประสบความสำเร็จ
แต่เรื่องราวของ “Dairy Home” แบรนด์นมออร์แกนิก ที่จดทะเบียนเป็นธุรกิจเพื่อสังคม
อาจทำให้เราต้องเปลี่ยนความคิด เพราะแบรนด์สามารถทำรายได้กว่า 100 ล้านต่อปี
อาจทำให้เราต้องเปลี่ยนความคิด เพราะแบรนด์สามารถทำรายได้กว่า 100 ล้านต่อปี
แล้วเรื่องราวของแบรนด์ Dairy Home น่าสนใจอย่างไร?
และ Dairy Home สามารถทำรายได้กว่า 100 ล้านได้อย่างไร โดยแทบไม่ใช้เงินโฆษณา?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
และ Dairy Home สามารถทำรายได้กว่า 100 ล้านได้อย่างไร โดยแทบไม่ใช้เงินโฆษณา?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
Dairy Home คือ แบรนด์นม ออร์แกนิก สัญชาติไทย
ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 หรือประมาณ 22 ปีที่แล้ว โดย คุณพฤฒิ เกิดชูชื่น
ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 หรือประมาณ 22 ปีที่แล้ว โดย คุณพฤฒิ เกิดชูชื่น
ย้อนกลับเมื่อสมัย 20 ปีที่แล้ว
วงการโคนมของไทยยังไม่ค่อยได้รับการยอมรับมากนัก
เพราะหลายคนมองว่า นมของเกษตรกรไทยยังไม่ค่อยปลอดภัย และอาจมีสารปนเปื้อน
วงการโคนมของไทยยังไม่ค่อยได้รับการยอมรับมากนัก
เพราะหลายคนมองว่า นมของเกษตรกรไทยยังไม่ค่อยปลอดภัย และอาจมีสารปนเปื้อน
ปัญหาตรงนี้ทำให้คุณพฤฒิ ที่มีประสบการณ์ในวงการโคนมมานาน อยากจะลุกขึ้นมาแก้ไขและพัฒนาให้น้ำนมของไทยได้รับการยอมรับมากขึ้น
ซึ่งแรงบันดาลใจนี้เอง ที่ทำให้เขาหันมาก่อตั้ง Dairy Home ขึ้น..
ในปัจจุบัน Dairy Home ประกอบไปด้วยธุรกิจ ฟาร์มโคนม โรงงานแปรรูปน้ำนม ร้านอาหาร และค้าปลีกน้ำนม
โดยธุรกิจของ Dairy Home ได้ให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นหลักๆ คือ
1. ความเข้าใจและความใส่ใจ
2. สิ่งแวดล้อม
3. นวัตกรรม
2. สิ่งแวดล้อม
3. นวัตกรรม
เรื่องแรก “ความเข้าใจและความใส่ใจ”
คำพูดนี้อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ที่หลายแบรนด์มักพูดถึง
แต่สำหรับแบรนด์ Dairy Home เรื่องนี้ถือเป็นพื้นฐานของธุรกิจเลยก็ว่าได้
คำพูดนี้อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ที่หลายแบรนด์มักพูดถึง
แต่สำหรับแบรนด์ Dairy Home เรื่องนี้ถือเป็นพื้นฐานของธุรกิจเลยก็ว่าได้
เพราะคุณพฤฒิมองว่า การผลิตน้ำนมวัวที่มีคุณภาพจะต้องเข้าใจห่วงโซ่ทั้งหมดของกระบวนการผลิต
เริ่มตั้งแต่การเลี้ยงวัว ที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของวัวให้ได้มากที่สุด
ไม่ใช่แค่การเลี้ยงเพื่อให้ได้น้ำนมจากวัวเยอะๆ เท่านั้น
ไม่ใช่แค่การเลี้ยงเพื่อให้ได้น้ำนมจากวัวเยอะๆ เท่านั้น
แต่ควรรู้ว่าอาหารที่เหมาะสมตามธรรมชาติของวัวคืออะไร และให้วัวได้กินสิ่งนั้น
ไม่ควรบังคับให้วัวกินอาหารสังเคราะห์ที่เร่งให้วัวผลิตน้ำนม
เพราะถึงแม้ว่าคนเลี้ยงจะได้น้ำนมวัวเยอะขึ้นก็จริง
แต่คุณภาพของน้ำนมก็อาจลดตามไปด้วย
ไม่ควรบังคับให้วัวกินอาหารสังเคราะห์ที่เร่งให้วัวผลิตน้ำนม
เพราะถึงแม้ว่าคนเลี้ยงจะได้น้ำนมวัวเยอะขึ้นก็จริง
แต่คุณภาพของน้ำนมก็อาจลดตามไปด้วย
ดังนั้น เมื่อวัวได้กินอาหารที่เหมาะสมตามธรรมชาติ ก็จะทำให้วัวมีความสุข และสุขภาพดี
ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ น้ำนมมีคุณภาพดี สารอาหารเยอะ และรสชาติอร่อย
ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ น้ำนมมีคุณภาพดี สารอาหารเยอะ และรสชาติอร่อย
นอกจากนี้ คุณพฤฒิ ยังให้ความสำคัญกับการจัดสรรระบบให้สมดุล
โดยเขาจะประเมินว่าพื้นที่ของฟาร์มที่มีอยู่ เหมาะสมกับการเลี้ยงวัวกี่ตัว เพื่อไม่ให้เกิดความแออัด
และยังต้องคำนึงอีกว่า พื้นที่สำหรับการปลูกหญ้าเพื่อเป็นอาหารวัวจะต้องมีเพียงพอกับที่วัวต้องการ
และยังต้องคำนึงอีกว่า พื้นที่สำหรับการปลูกหญ้าเพื่อเป็นอาหารวัวจะต้องมีเพียงพอกับที่วัวต้องการ
ถึงแม้ว่าการทำการจัดสรรทุกอย่างให้เหมาะสม จะทำให้ไม่ได้ผลผลิตมาจำนวนเยอะๆ เหมือนกับระดับอุตสาหกรรมโคนม แต่แน่นอนว่า ผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพ
และเมื่อสินค้ามีคุณภาพ ย่อมขายได้ในราคาที่สูงตามไปด้วย
และเมื่อสินค้ามีคุณภาพ ย่อมขายได้ในราคาที่สูงตามไปด้วย
สำหรับเรื่องที่ 2 ก็คือ “สิ่งแวดล้อม”
ฟาร์มและโรงงานของ Dairy Home ได้ถูกบริหารจัดการด้วยแนวคิด Zero Waste หรือการลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตให้น้อยที่สุด จนแทบไม่มีเลย
อย่างเครื่องมือต่างๆ ที่เลอะน้ำนม เมื่อนำน้ำมาล้างทำความสะอาดเสร็จ
ก็จะนำน้ำที่ใช้ล้างไปรดต้นหญ้า และเมื่อหญ้าโตก็กลายมาเป็นอาหารให้วัวอีกที
ก็จะนำน้ำที่ใช้ล้างไปรดต้นหญ้า และเมื่อหญ้าโตก็กลายมาเป็นอาหารให้วัวอีกที
ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะไม่มีการปนเปื้อนสารเคมีใดๆ ทำให้ทรัพยากรต่างๆ ในฟาร์มสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้
ส่วนขยะประเภทพลาสติก กระดาษ จะถูกคัดแยกออกมา เพื่อนำมาขายต่อ
สำหรับขยะที่ไม่สามารถขายได้ ก็จะถูกส่งไปที่โรงไฟฟ้า เพื่อแปลงไปเป็นพลังงานต่อ
สำหรับขยะที่ไม่สามารถขายได้ ก็จะถูกส่งไปที่โรงไฟฟ้า เพื่อแปลงไปเป็นพลังงานต่อ
นอกจากนี้ ทางแบรนด์ยังได้พยายามลดขยะประเภทบรรจุภัณฑ์ลง ด้วยการใช้วัสดุ อย่างไบโอพลาสติก
ที่จะย่อยสลายได้ 100% ภายใน 6 เดือน เมื่อถูกนำไปฝังกลบ มาผลิตเป็นถ้วยใส่โยเกิร์ต
ที่จะย่อยสลายได้ 100% ภายใน 6 เดือน เมื่อถูกนำไปฝังกลบ มาผลิตเป็นถ้วยใส่โยเกิร์ต
ส่วนขวดนม ทาง Dairy Home ได้พยายามเปลี่ยนเป็นแบบขวดแก้ว
และมีการรับซื้อขวดคืน จากลูกค้า โดยให้ราคาอยู่ที่ 5 บาทต่อขวด
และมีการรับซื้อขวดคืน จากลูกค้า โดยให้ราคาอยู่ที่ 5 บาทต่อขวด
ซึ่งหลังจากซื้อกลับมาแล้ว ขวดที่สภาพดีจะถูกนำไป Reuse ตามขั้นตอนมาตรฐาน
ส่วนขวดที่เสื่อมสภาพแล้วจะนำไป Recycle
ส่วนขวดที่เสื่อมสภาพแล้วจะนำไป Recycle
แต่อย่างไรก็ตาม แบรนด์ Dairy Home ก็ยังกังวลในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ ที่ยากจะควบคุม
เพราะขวดนมบางประเภท ยังต้องใช้เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายไม่ได้อยู่
ซึ่งประเด็นนี้ ทางแบรนด์ก็ไม่นิ่งนอนใจ และกำลังเร่งหาวิธีแก้ปัญหาในส่วนนี้
เพราะขวดนมบางประเภท ยังต้องใช้เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายไม่ได้อยู่
ซึ่งประเด็นนี้ ทางแบรนด์ก็ไม่นิ่งนอนใจ และกำลังเร่งหาวิธีแก้ปัญหาในส่วนนี้
สำหรับเรื่องที่ 3 ก็คือ “นวัตกรรม”
หนึ่งสิ่งที่ทำให้แบรนด์ Dairy Home แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในท้องตลาด ก็คือ การนำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาสินค้า
โดยทาง Dairy Home จะนำงานวิจัย หรือร่วมลงทุนในงานวิจัย ที่เกี่ยวกับน้ำนมที่ตัวเองสนใจ
เพื่อนำกลับมาพัฒนาสินค้าของตัวเอง
เพื่อนำกลับมาพัฒนาสินค้าของตัวเอง
ซึ่งสินค้าที่ขึ้นชื่อของ Dairy Home อย่าง “นม Bed Time” ที่ช่วยให้หลับสบาย
ก็เป็นหนึ่งในสินค้าที่ใช้งานวิจัยเข้ามาพัฒนาสูตรด้วย
ก็เป็นหนึ่งในสินค้าที่ใช้งานวิจัยเข้ามาพัฒนาสูตรด้วย
และเมื่อไม่นานมานี้ ทาง Dairy Home ก็ได้เปิดตัวสินค้าใหม่เป็น “นมเปรี้ยว (ฟันดี)” ที่จะช่วยป้องกันฟันผุ พร้อมช่วยเสริมสร้างสุขภาพในช่องปากให้แข็งแรง ซึ่งสินค้านี้ก็ได้นำงานวิจัยเข้ามาใช้ในการผลิตเช่นกัน
นอกเหนือจาก 3 ประเด็นหลัก ที่ Dairy Home ให้ความสำคัญแล้ว
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ แบรนด์ Dairy Home เพิ่งจะมีการรีแบรนด์ อย่างเป็นทางการ เมื่อต้นปีนี้เอง
โดยทาง Dairy Home ต้องการปรับภาพลักษณ์ให้แบรนด์ดูทันสมัย และเป็นสากลมากขึ้น
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ แบรนด์ Dairy Home เพิ่งจะมีการรีแบรนด์ อย่างเป็นทางการ เมื่อต้นปีนี้เอง
โดยทาง Dairy Home ต้องการปรับภาพลักษณ์ให้แบรนด์ดูทันสมัย และเป็นสากลมากขึ้น
ซึ่งทาง Dairy Home ได้ร่วมมือกับบริษัท Jacob Jensen Studio จากเดนมาร์ก และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มาออกแบบบรรจุภัณฑ์ และภาพลักษณ์ใหม่ให้กับแบรนด์
โดยผลตอบรับจากการรีแบรนด์ในครั้งนี้ ก็ทำให้แบรนด์ Dairy Home สามารถเข้าถึงลูกค้าหน้าใหม่ได้เยอะขึ้น และช่วยให้ยอดขายของแบรนด์ยังคงไม่ลดลง แม้จะเจอวิกฤติจากโรคระบาดก็ตาม
ที่น่าสนใจคือ Dairy Home ได้จดทะเบียนเป็น “วิสาหกิจเพื่อสังคม”
โดยมีเป้าหมาย ในการขยายแนวคิดเกษตรแบบออร์แกนิก
ซึ่งรายได้ที่เข้ามาจะถูกนำไปเพื่อส่งเสริมการเกษตรแบบออร์แกนิก
โดยมีเป้าหมาย ในการขยายแนวคิดเกษตรแบบออร์แกนิก
ซึ่งรายได้ที่เข้ามาจะถูกนำไปเพื่อส่งเสริมการเกษตรแบบออร์แกนิก
ที่สำคัญคือ ทาง Dairy Home จะรับซื้อน้ำนมจากฟาร์มโคนมออร์แกนิกในเครือข่าย ด้วยราคาที่สูงกว่าน้ำนมทั่วไป
เพื่อให้เกษตรกรเหล่านี้ มีรายได้ที่มั่นคงและเป็นตัวอย่างว่าการเกษตรแบบออร์แกนิก สามารถทำได้จริงและยังมีรายได้ที่คุ้มค่าอีกด้วย
เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้ เราอาจสงสัยว่าธุรกิจเพื่อสังคมอย่าง Dairy Home จะมีรายได้เท่าไร?
ในปี 2562 บริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจ เพื่อสังคม จำกัด ทำรายได้ไปกว่า 137 ล้านบาท
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ตลอดเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา Dairy Home แทบจะไม่ได้ทำการตลาดเลย
แต่กลับมีรายได้แตะระดับร้อยล้าน
แต่กลับมีรายได้แตะระดับร้อยล้าน
โดยกลยุทธ์เดียวของ Dairy Home ก็คือ “การทำสินค้าให้ดี แล้วสินค้านั้นจะขายตัวมันเอง”
ในขณะที่หลายๆ แบรนด์ กำลังทุ่มงบก้อนใหญ่ไปกับการตลาด
แต่ Dairy Home ฟาร์มโคนมเล็กๆ กำลังทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
แต่ Dairy Home ฟาร์มโคนมเล็กๆ กำลังทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา พวกเขาสนใจแค่เรื่องของคุณภาพ มากกว่าตัวเลขผลประกอบการ
และจากเรื่องนี้ เราทุกคนก็รับรู้ได้เลยว่า ความพยายามทั้งหมดที่ผ่านมาของคุณพฤฒินั้น ไม่ได้สูญเปล่าเลย..
และจากเรื่องนี้ เราทุกคนก็รับรู้ได้เลยว่า ความพยายามทั้งหมดที่ผ่านมาของคุณพฤฒินั้น ไม่ได้สูญเปล่าเลย..
Reference: สัมภาษณ์โดยตรงกับคุณพฤฒิ เกิดชูชื่น ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Dairy Home
Tag:Dairy Home