Uncategorized
<อัปเดต> ด่วน SCBX ปิดดีลขายกิจการ Robinhood 400 ล้านบาท ให้กลุ่มทุนในไทย
30 ก.ย. 2024
<อัปเดต> ด่วน SCBX ปิดดีลขายกิจการ Robinhood 400 ล้านบาท ให้กลุ่มทุนในไทย
ถือว่าเรื่องนี้เป็นข่าวใหญ่ของวันนี้
ล่าสุด ทางบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX ได้ปิดดีลขายกิจการแพลตฟอร์มฟูดดิลิเวอรี Robinhood มูลค่ารวมสูงสุด 2,000 ล้านบาท
ประกอบด้วย มูลค่าเบื้องต้นชำระทันที 400 ล้านบาท
และส่วนเพิ่มตามผลประกอบการสูงสุดไม่เกิน 1,600 ล้านบาท
และส่วนเพิ่มตามผลประกอบการสูงสุดไม่เกิน 1,600 ล้านบาท
สำหรับผู้ที่เข้ามาซื้อธุรกิจ Robinhood ในครั้งนี้ นำโดย
กลุ่มยิบอินซอย ในอัตราส่วนร้อยละ 50 ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มยิบอินซอย อัตราส่วนร้อยละ 30 และบริษัท มีศิริ จำกัด อัตราส่วนร้อยละ 20บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในอัตราส่วนร้อยละ 30บริษัท เอสซีที เรนทอล คาร์ จำกัด ในอัตราส่วนร้อยละ 10บริษัท ล็อกซบิท จำกัด (มหาชน) ในอัตราส่วนร้อยละ 10
อย่างที่เรารู้กันว่า Robinhood มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นโปรเจกต์ CSR ของ SCBX ที่ไม่เก็บค่า GP เพื่อช่วยร้านค้ารายย่อย และไรเดอร์ (ซึ่งต่อมาก็เริ่มเก็บบ้าง แต่ก็เก็บได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย)
ซึ่งนี้ก็เป็นจุดแข็งของ Robinhood ที่ทำให้แอปติดตลาด และมียอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม Robinhood ก็ยังอยู่ในจุดที่ห่างไกลจากผู้เล่นหลักอย่าง LINE MAN, Grab หรือ Foodpanda ทำให้การจะพาธุรกิจไปให้ถึงจุดคุ้มทุนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
อีกทั้ง อุตสาหกรรมฟูดดิลิเวอรี ยังมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ด้วยการอัดโปรโมชันโคดส่วนลด ให้ใช้ฟรี หรือการเผาเงินเพื่อดึงให้คนเข้ามาใช้งานให้ได้มากที่สุด จนเมื่อถึงจุดที่ครองตลาด จึงค่อย ๆ รีดกำไรออกมาทีหลัง
แต่หากเรามาดูผลประกอบการของบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood
ปี 2564 รายได้ 16 ล้านบาท ขาดทุน 1,335 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 538 ล้านบาท ขาดทุน 1,987 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 724 ล้านบาท ขาดทุน 2,156 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 538 ล้านบาท ขาดทุน 1,987 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 724 ล้านบาท ขาดทุน 2,156 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า 3 ปีย้อนหลังนี้ Robinhood มีผลขาดทุนรวมไปแล้วกว่า 5,500 ล้านบาท
แม้ว่าที่ผ่านมา Robinhood จะพยายามสร้างรายได้จากช่องทางอื่น ๆ เช่น รายได้จากค่าโฆษณา, เปิดให้บริการเรียกรถ, ส่งของ, จองโรงแรม-ตั๋วเครื่องบิน
แต่รายได้เหล่านี้ ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ Robinhood สามารถทำกำไรได้
ดังนั้น นี่จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ SCBX จะขายธุรกิจที่ไม่ทำกำไรออกไป เพราะถ้ายื้อไว้ก็คงจะมีแต่ขาดทุนหนักกว่าเดิม..
Reference:
ข่าวตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ของบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้ให้บริการ แอปพลิเคชัน Robinhood