Business
สรุป วิธี สร้าง Passive Income จาก Canva
19 ม.ค. 2023
สรุป วิธี สร้าง Passive Income จาก Canva /โดย ลงทุนเกิร์ล
Canva แพลตฟอร์มกราฟิก ที่มีผู้ใช้งานมากถึง 85 ล้านคน
และยังเป็นยูนิคอร์นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก
ด้วยมูลค่าบริษัทสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท
หรือถ้าเทียบให้เห็นภาพชัด ๆ คือ มูลค่าของบริษัท Canva มากยิ่งกว่ามูลค่าของบริษัทที่ใหญ่สุดในตลาดหุ้นไทย อย่าง DELTA เสียอีก
และยังเป็นยูนิคอร์นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก
ด้วยมูลค่าบริษัทสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท
หรือถ้าเทียบให้เห็นภาพชัด ๆ คือ มูลค่าของบริษัท Canva มากยิ่งกว่ามูลค่าของบริษัทที่ใหญ่สุดในตลาดหุ้นไทย อย่าง DELTA เสียอีก
ซึ่งนอกจาก Canva จะช่วยให้การออกแบบงานกราฟิกต่าง ๆ เป็นเรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไปแล้ว Canva ยังเป็นช่องทางสร้างรายได้อีกด้วย
แล้ว Canva มีช่องทางไหน ให้ผู้ใช้งานสร้างรายได้ได้บ้าง ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง..
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง..
อย่างที่ทราบกันดีว่า Canva จะมีเทมเพลตให้เลือกหลากหลาย
ตั้งแต่การ์ด, เรซูเม, โปสเตอร์, โลโก ไปจนถึงปฏิทิน
โดยที่ไม่จำเป็นว่าผู้ใช้งานจะต้องมีสกิลด้านกราฟิก ก็สามารถทำ ArtWork ให้ออกมาสวย ดูเป็นมืออาชีพได้
ตั้งแต่การ์ด, เรซูเม, โปสเตอร์, โลโก ไปจนถึงปฏิทิน
โดยที่ไม่จำเป็นว่าผู้ใช้งานจะต้องมีสกิลด้านกราฟิก ก็สามารถทำ ArtWork ให้ออกมาสวย ดูเป็นมืออาชีพได้
ด้วยคุณสมบัติของ Canva ที่ “ใคร ๆ ก็ออกแบบเองได้” จึงทำให้หลายคนมองว่า อาจจะทำให้ Adobe Photoshop และ Illustrator สั่นคลอนทีเดียว
อย่างไรก็ตาม Canva ไม่ได้คิดที่จะแข่งขันกับพี่ใหญ่ ที่อยู่มาก่อน
แต่ Canva กลับมองเห็นโอกาส ที่จะเติบโตไปด้วยกัน
แต่ Canva กลับมองเห็นโอกาส ที่จะเติบโตไปด้วยกัน
เนื่องจาก เทมเพลตส่วนใหญ่ของ Canva มักถูกสร้างผ่าน Adobe Photoshop และ Illustrator
ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นไอเดียของ “Canva Creators” ที่เปิดให้เราสามารถนำชิ้นงานของตัวเองไปลงขายใน Canva ได้
ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นไอเดียของ “Canva Creators” ที่เปิดให้เราสามารถนำชิ้นงานของตัวเองไปลงขายใน Canva ได้
โดยเจ้าของผลงานจะได้รับ ค่าตอบแทน ทุก ๆ ครั้งที่มีคนคลิก นำชิ้นงานของตนไปใช้ และ Export ไฟล์
ดังนั้น Canva จึงกลายเป็นช่องทางหารายได้แบบ Passive ให้กับสายอาชีพศิลปะ และการออกแบบ
คล้ายกับวงการ Content Creator ที่อัปโหลดผลงานของตัวเองลง YouTube, Spotify, หรือ Blockdit เพื่อสร้างรายได้ตามยอดวิว, ยอดสตรีม และยอดอ่านนั่นเอง
โดย Canva ได้แบ่งหมวดครีเอเตอร์ ออกเป็น 3 หมวด ได้แก่
-Template Creators
สำหรับผลงานที่เป็นเทมเพลต โดยครีเอเตอร์ในหมวดนี้ต้องแนบพอร์ตโฟลิโอ ให้ทีมงานพิจารณา ก่อนจะอัปโหลดผลงานลงแพลตฟอร์มได้
สำหรับผลงานที่เป็นเทมเพลต โดยครีเอเตอร์ในหมวดนี้ต้องแนบพอร์ตโฟลิโอ ให้ทีมงานพิจารณา ก่อนจะอัปโหลดผลงานลงแพลตฟอร์มได้
-Element Creators
สำหรับชิ้นงานที่เป็น รูปกราฟิก, ภาพถ่าย, ตัวการ์ตูน, ฟอนต์, คลิปวิดีโอ, เสียง เป็นต้น
สำหรับชิ้นงานที่เป็น รูปกราฟิก, ภาพถ่าย, ตัวการ์ตูน, ฟอนต์, คลิปวิดีโอ, เสียง เป็นต้น
-Specialty Creators
ถือเป็นหมวดใหม่ล่าสุด สำหรับชิ้นงานที่เฉพาะทาง
โดยตอนนี้ Canva เริ่มเปิดพื้นที่ให้คนที่อยู่ในแวดวงการศึกษา
เช่น ครูอาจารย์ มาผลิตชิ้นงานที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
ถือเป็นหมวดใหม่ล่าสุด สำหรับชิ้นงานที่เฉพาะทาง
โดยตอนนี้ Canva เริ่มเปิดพื้นที่ให้คนที่อยู่ในแวดวงการศึกษา
เช่น ครูอาจารย์ มาผลิตชิ้นงานที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
ส่วนเกณฑ์ในการพิจารณาชิ้นงานนั้น มีทั้งเรื่องความสวยงาม, คุณภาพของชิ้นงาน (ขนาดและความละเอียดของแต่ละองค์ประกอบ) และคอนเซปต์ของชิ้นงานต้องคำนึงถึงการนำไปใช้งานของผู้ใช้งาน
นอกจากนี้ Canva ยังมีอีกช่องทางหารายได้ สำหรับคนที่ไม่ใช่สายออกแบบ นั่นก็คือ “Affiliate Program”
โดยอินฟลูเอนเซอร์ หรือเจ้าของสื่อ จะได้รับค่าตอบแทน เมื่อมีคนคลิกสมัคร Canva Pro จาก ลิงก์ของตน
ซึ่งคนที่จะมาเข้าร่วมโปรแกรม Canva Affiliate ได้นั้น จะต้องเป็นอินฟลูเอนเซอร์ สายดิไซน์ หรือมีช่องทางการสอนทางออนไลน์ เกี่ยวกับดิไซน์
แต่ถ้าไม่ใช่สายดิไซน์เต็มตัว ก็ต้องมีช่องทาง ที่มีเรตเข้าชม มากกว่า 1 ล้านครั้งต่อเดือน และมีเนื้อหาเกี่ยวกับการดิไซน์อยู่บ้าง เพื่อให้มั่นใจว่า เหล่าผู้ติดตามจะมีความสนใจในเรื่องงานดิไซน์มากพอ จนยอมควักกระเป๋ามาสมัครสมาชิกกับ Canva นั่นเอง..
สรุปแล้ว Canva ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสร้างรายได้ที่น่าสนใจ
และในขณะเดียวกัน Canva ก็ยังได้ประโยชน์จากการที่มีคนมาช่วยป้อนผลงาน และมีผู้ใช้งานใหม่ ๆ เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย โดยที่ Canva แทบจะไม่ต้องลงทุนลงแรงเองมากนัก..
และในขณะเดียวกัน Canva ก็ยังได้ประโยชน์จากการที่มีคนมาช่วยป้อนผลงาน และมีผู้ใช้งานใหม่ ๆ เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย โดยที่ Canva แทบจะไม่ต้องลงทุนลงแรงเองมากนัก..