Technology
โครงการ จากนักศึกษา ป.โท ที่ทำให้ เกาะห่างไกล มีโซลาร์เซลล์ใช้ เกือบ 100%
15 ก.ย. 2022
โครงการ จากนักศึกษา ป.โท ที่ทำให้ เกาะห่างไกล มีโซลาร์เซลล์ใช้ เกือบ 100% /โดย ลงทุนเกิร์ล
รู้หรือไม่ว่า ตั้งแต่เมื่อ 18 ปีที่แล้ว เกาะเล็ก ๆ ในจังหวัดจันทบุรี ที่มีประชากรอยู่แค่ราว 400 คน แต่กลับสามารถผลิตไฟฟ้า จากโซลาร์เซลล์ ใช้เองได้เกือบ 100%
ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในผลงานของโปรเจกต์ ReCharge ที่เกิดจากงานวิจัย ของนักศึกษาไทย ที่ไปเรียนต่อระดับปริญญาโท ในเนเธอร์แลนด์
แล้ว ReCharge คือ โครงการอะไร ?
และแตกต่างจากโครงการ CSR ทั่ว ๆ ไปอย่างไร ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง..
และแตกต่างจากโครงการ CSR ทั่ว ๆ ไปอย่างไร ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง..
โครงการ ReCharge เริ่มต้นขึ้นเมื่อคุณธนัย โพธิสัตย์ ได้นำงานวิจัย ในสมัยเรียนปริญญาโท ที่เนเธอร์แลนด์ มาเริ่มต้นที่ เกาะจิก จังหวัดจันทบุรี
ซึ่งคุณธนัย เห็นว่า เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน
เกาะแห่งนี้ไม่มีไฟฟ้าใช้ และต้องใช้เครื่องยนต์ดีเซลในการปั่นไฟ
จนทำให้คนในชุมชน ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูง และยังสร้างมลพิษเยอะ
เกาะแห่งนี้ไม่มีไฟฟ้าใช้ และต้องใช้เครื่องยนต์ดีเซลในการปั่นไฟ
จนทำให้คนในชุมชน ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูง และยังสร้างมลพิษเยอะ
ดังนั้น คุณธนัยจึงตัดสินใจ ริเริ่มโปรเจกต์ ReCharge ขึ้นครั้งแรกที่เกาะแห่งนี้
โดยนำเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ เข้ามาผลิตไฟฟ้าให้กับ ผู้คนในชุมชนห่างไกล ที่ยังเข้าไม่ถึงไฟฟ้า
โดยนำเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ เข้ามาผลิตไฟฟ้าให้กับ ผู้คนในชุมชนห่างไกล ที่ยังเข้าไม่ถึงไฟฟ้า
ซึ่งหลังจากคำนวณเสร็จสรรพว่า ต้องใช้เงินทุนตั้งต้น 6 ล้านบาท
คุณธนัยจึงเสนอขอทุนจากบริษัทเอกชน ที่ทำเรื่องพลังงานทดแทน
และนี่ไม่ใช่การขอทุนให้เปล่า แบบ CSR ทั่วไป ที่ต้องมีแหล่งเงินทุนใหม่เติมเข้ามาเรื่อย ๆ
และนี่ไม่ใช่การขอทุนให้เปล่า แบบ CSR ทั่วไป ที่ต้องมีแหล่งเงินทุนใหม่เติมเข้ามาเรื่อย ๆ
แต่เป็นการขอทุนที่บริษัทผู้ให้ทุนจะได้เงินคืนกลับมา เพื่อนำเงินก้อนนั้นไปทำโครงการให้กับพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
โดยโมเดลของ ReCharge จะเป็นรูปแบบที่ให้ชาวบ้านบนเกาะ ต้องเสียเงินซื้อไฟฟ้าใช้ คล้าย ๆ “ระบบเติมเงินโทรศัพท์มือถือ”
และเมื่อไฟฟ้าที่ซื้อไปใกล้หมด
พวกเขาจะต้องไปเติมเงินที่แคเชียร์ของโครงการ และจะได้สลิปที่มีรหัส
เพื่อนำมากดที่เครื่องมิเตอร์ของบ้านตนเองเพื่อเติมไฟ
พวกเขาจะต้องไปเติมเงินที่แคเชียร์ของโครงการ และจะได้สลิปที่มีรหัส
เพื่อนำมากดที่เครื่องมิเตอร์ของบ้านตนเองเพื่อเติมไฟ
ซึ่งเหตุผลที่ ReCharge ต้องทำระบบจ่ายก่อนใช้ทีหลัง ก็เพราะชุมชนที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ล้วนเป็นชุมชนขนาดเล็ก ทำให้คนทำงานก็เป็นคนในชุมชน จึงรู้จักกันหมด ดังนั้น เวลามีใครไม่จ่ายค่าไฟ ผู้คนก็ไม่กล้าที่จะตัดไฟบ้านเพื่อน หรือบ้านญาติของตนเอง
สุดท้ายก็อาจลงเอยที่ ไม่มีใครจ่ายค่าไฟ..
แต่พออ่านแบบนี้แล้ว
บางคนก็อาจสงสัยว่า แล้วทำไม ReCharge ไม่เข้าไปช่วยเหลือเขาแบบฟรี ๆ เพื่อตัดปัญหาคนไม่จ่ายค่าไฟไปเลย
แต่พออ่านแบบนี้แล้ว
บางคนก็อาจสงสัยว่า แล้วทำไม ReCharge ไม่เข้าไปช่วยเหลือเขาแบบฟรี ๆ เพื่อตัดปัญหาคนไม่จ่ายค่าไฟไปเลย
จริง ๆ แล้วเรื่องนี้มีที่มาที่ไป จากโครงการเพื่อสังคม ทั้งจากภาครัฐ และเอกชน ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ มักจะเป็นรูปแบบของการมาติดแผงโซลาร์เซลล์ให้กับชุมชน
ซึ่งโซลาร์เซลล์แผงหนึ่งควรมีอายุการใช้งานได้กว่าสิบปี
แต่แทบทุกชุมชนที่ได้รับแจกไป กลับประสบปัญหาคล้าย ๆ กัน คือ เมื่อใช้งานได้เพียงไม่กี่ปีก็มีปัญหา และปัญหาล้วนมาจากความไม่รู้เรื่องอุปกรณ์ และการซ่อมบำรุง รวมไปถึงยังไม่มีเงินจ้างช่าง หรือหาซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนอีกด้วย
ดังนั้น สุดท้าย ReCharge จึงเลือกมาจบลงที่ “ระบบจ่ายก่อนใช้ทีหลัง” นั่นเอง
อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจ คือ การเข้าไปทำธุรกิจ ของ ReCharge จะมาในรูปแบบของการ
ให้ชาวบ้านจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
ให้ชาวบ้านจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
โดย 1 ครัวเรือน จะถือหุ้น หลังละ 1 หุ้น
เพื่อที่ทุกบ้านจะได้มีเสียงที่เท่ากัน
โดยชุมชนจะทำสัญญาซื้อไฟฟ้า 15 ปี
หลังจากนั้น ทรัพย์สิน ก็จะถูกโอนเป็นของชุมชนทั้งหมด
เพื่อที่ทุกบ้านจะได้มีเสียงที่เท่ากัน
โดยชุมชนจะทำสัญญาซื้อไฟฟ้า 15 ปี
หลังจากนั้น ทรัพย์สิน ก็จะถูกโอนเป็นของชุมชนทั้งหมด
ซึ่งวิธีการที่ให้ชาวบ้านเป็นผู้ถือหุ้นแบบนี้
ยังทำให้พวกเขารู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในโครงการ หวงแหน และช่วยกันบำรุงรักษาอุปกรณ์อีกด้วย
ยังทำให้พวกเขารู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในโครงการ หวงแหน และช่วยกันบำรุงรักษาอุปกรณ์อีกด้วย
ในตอนนี้ แผงโซลาร์เซลล์ที่ถูกติดตั้งบนเกาะจิก สามารถผลิตไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง ให้ชาวบ้านกว่า 100 ครัวเรือน และทดแทนไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟไปถึง 93%
ส่วนเงินค่าไฟที่ได้รับจากชาวบ้าน ก็จะนำไปทำประโยชน์กับพื้นที่อื่นต่อไป ภายใต้คอนเซปต์ Pay It Forward หรือก็คือ การเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน และผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ ก็ตอบแทนด้วยการช่วยเหลือคนอื่น ๆ ต่อไปนั่นเอง
ซึ่งเกาะแห่งที่ 2 ที่ ReCharge เข้าไปทำโครงการ ก็คือ เกาะบุโหลนดอน จังหวัดสตูล
โดยเกาะบุโหลนดอน จะแตกต่างจากเกาะจิก ตรงที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน กับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ทำให้ ReCharge ไม่สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั้งหมดรวมไว้ที่เดียวกัน เหมือนที่เกาะจิกได้
เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณธนัยจึงผุดไอเดียติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ “บนหลังคาบ้าน”
รวมทั้งยังเปลี่ยนจากการเติมเงินค่าไฟ เป็นการให้ชาวบ้าน “ผ่อนจ่ายค่าอุปกรณ์ทั้งหมด” ในระยะเวลา 48 เดือน และเมื่อครบกำหนด อุปกรณ์ทั้งหมดนี้ ก็จะกลายเป็นของตัวเองทันที
นอกจากนี้ คุณธนัยยังออกแพ็กเกจพิเศษ สำหรับเกาะบุโหลนดอน อย่าง การผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น
พัดลม ผ่อนเดือนละ 70 บาท
ทีวี ผ่อนเดือนละ 150 บาท
โดยราคาทั้งหมดนี้ รวมค่าซ่อมบำรุง และรับประกันสินค้าตลอด 48 เดือน
พัดลม ผ่อนเดือนละ 70 บาท
ทีวี ผ่อนเดือนละ 150 บาท
โดยราคาทั้งหมดนี้ รวมค่าซ่อมบำรุง และรับประกันสินค้าตลอด 48 เดือน
ซึ่งในช่วงที่ผ่อนอุปกรณ์โซลาร์เซลล์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ชาวบ้านจะต้องจ่ายเงินผ่อนในแต่ละเดือนก่อน
เพื่อที่จะได้รหัส สำหรับกดปล่อยไฟฟ้าเข้าบ้าน
ชาวบ้านจะต้องจ่ายเงินผ่อนในแต่ละเดือนก่อน
เพื่อที่จะได้รหัส สำหรับกดปล่อยไฟฟ้าเข้าบ้าน
แต่หลังจากที่ผ่อนครบ 48 งวดแล้ว
ทั้งแผงโซลาร์เซลล์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
รวมไปถึง ไฟฟ้าที่ผลิตเองได้บนหลังคาบ้านของตนเอง ก็จะตกไปเป็นของตัวเองทันที
ทั้งแผงโซลาร์เซลล์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
รวมไปถึง ไฟฟ้าที่ผลิตเองได้บนหลังคาบ้านของตนเอง ก็จะตกไปเป็นของตัวเองทันที
ส่วนเงินที่ชาวบ้านจ่ายให้ ReCharge ไปนั้น ก็จะถูกนำไปทำโครงการในพื้นที่อื่นต่อไป ซึ่งในปัจจุบัน โครงการของ ReCharge มีอยู่ทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่
-เกาะจิก จังหวัดจันทบุรี
-เกาะบุโหลนดอน จังหวัดสตูล
-เกาะบุโหลนเล จังหวัดสตูล
-เกาะบุโหลนดอน จังหวัดสตูล
-เกาะบุโหลนเล จังหวัดสตูล
ซึ่งโครงการเหล่านี้ มันไม่เพียงแค่ช่วยให้พวกเขามีไฟฟ้าใช้
แต่ยังเป็นพลังงานสะอาด ที่ดีต่อโลก
ที่สำคัญ คือ ในอนาคตพวกเขายังอาจสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง โดยพึ่งพาคนนอกที่น้อยมาก ๆ
แต่ยังเป็นพลังงานสะอาด ที่ดีต่อโลก
ที่สำคัญ คือ ในอนาคตพวกเขายังอาจสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง โดยพึ่งพาคนนอกที่น้อยมาก ๆ
และแม้ว่า ReCharge จะเป็นเพียงโครงการเล็ก ๆ ที่ช่วยเหลือคนในชุมชน เพียงไม่กี่ครอบครัว
แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น มันอาจเป็นเรื่องของการสร้างอิมแพกต์ต่อสังคม ที่สามารถขยายไปได้ไกลยิ่งกว่า พื้นที่บนเกาะเท่านั้น..
แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น มันอาจเป็นเรื่องของการสร้างอิมแพกต์ต่อสังคม ที่สามารถขยายไปได้ไกลยิ่งกว่า พื้นที่บนเกาะเท่านั้น..
ปิดท้าย ด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่ว่า โครงการที่เกาะบุโหลนดอน เพิ่งได้รับรางวัลดีเด่น Thailand Energy Awards 2022 จากกระทรวงพลังงานไปหมาด ๆ เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา และจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าประกวดในระดับอาเซียนต่อไป
References:
-สัมภาษณ์โดยตรงกับคุณธนัย โพธิสัตย์ ผู้ก่อตั้ง ReCharge
-https://www.greenpeace.org/thailand/story/11137/climate-renewable-energy
-https://www.sethailand.org/resource/what-is-social-enterprise-se/
-https://www.pea.co.th/s3/history-pea_era4
-https://www.thai-german-cooperation.info/th/what-is-giz/
-https://ppp.energy.go.th/บ้านเกาะบุโหลนดอนชุมชน/ -https://ppp.energy.go.th/สสช-เกาะบุโหลน/
-https://www.tris.co.th/esg
-https://www.thailandenergyaward.com/Thai/winner.php
-สัมภาษณ์โดยตรงกับคุณธนัย โพธิสัตย์ ผู้ก่อตั้ง ReCharge
-https://www.greenpeace.org/thailand/story/11137/climate-renewable-energy
-https://www.sethailand.org/resource/what-is-social-enterprise-se/
-https://www.pea.co.th/s3/history-pea_era4
-https://www.thai-german-cooperation.info/th/what-is-giz/
-https://ppp.energy.go.th/บ้านเกาะบุโหลนดอนชุมชน/ -https://ppp.energy.go.th/สสช-เกาะบุโหลน/
-https://www.tris.co.th/esg
-https://www.thailandenergyaward.com/Thai/winner.php