history
อาวาโมริ เหล้าประจำเมืองโอกินาวะ ที่ใช้ “ข้าว” จากประเทศไทย
22 ก.ค. 2022
อาวาโมริ เหล้าประจำเมืองโอกินาวะ ที่ใช้ “ข้าว” จากประเทศไทย /โดย ลงทุนเกิร์ล
อาวาโมริ เป็นเหล้ากลั่น ที่มีประวัติเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น
ซึ่งกล่าวกันว่า มีการคิดค้นมาตั้งแต่ 600 ปีที่แล้ว
โดยอาวาโมริ จะผลิตแค่เฉพาะในจังหวัดโอกินาวะ
และมีวัตถุดิบสำคัญเป็น “ข้าวไทย” ที่ใช้ผลิตเหล้าชนิดนี้มาตั้งแต่แรก จนถึงปัจจุบัน
ซึ่งกล่าวกันว่า มีการคิดค้นมาตั้งแต่ 600 ปีที่แล้ว
โดยอาวาโมริ จะผลิตแค่เฉพาะในจังหวัดโอกินาวะ
และมีวัตถุดิบสำคัญเป็น “ข้าวไทย” ที่ใช้ผลิตเหล้าชนิดนี้มาตั้งแต่แรก จนถึงปัจจุบัน
เรื่องราวจุดเริ่มต้นของ อาวาโมริ จะน่าสนใจอย่างไร ?
และทำไมถึงต้องใช้ข้าวไทย ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
และทำไมถึงต้องใช้ข้าวไทย ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
หากย้อนกลับไปเมื่อ 600 ปีก่อน
จังหวัดโอกินาวะ ในตอนนั้นคือ “อาณาจักรรีวกีว” ที่รุ่งเรืองด้านการเดินเรือไปค้าขายกับนานาประเทศ
จังหวัดโอกินาวะ ในตอนนั้นคือ “อาณาจักรรีวกีว” ที่รุ่งเรืองด้านการเดินเรือไปค้าขายกับนานาประเทศ
โดยหนึ่งในจุดหมายที่เรือได้มาเทียบท่า ก็คือ “อาณาจักรอยุธยา”
ซึ่งสินค้าที่ชาวญี่ปุ่นนิยมมาซื้อกันเป็นอย่างมาก เช่น
-หนังกวาง ที่นิยมนำไปทำเป็นเสื้อเกราะ
-ไม้กฤษณา ไม้หอมราคาสูง และเป็นที่ต้องการของชนชั้นนำในญี่ปุ่น
-ไม้ฝาง ที่ใช้สำหรับย้อมสีแดง ซึ่งถือว่าเป็นสีหลักในวัฒนธรรมญี่ปุ่น
-หนังกวาง ที่นิยมนำไปทำเป็นเสื้อเกราะ
-ไม้กฤษณา ไม้หอมราคาสูง และเป็นที่ต้องการของชนชั้นนำในญี่ปุ่น
-ไม้ฝาง ที่ใช้สำหรับย้อมสีแดง ซึ่งถือว่าเป็นสีหลักในวัฒนธรรมญี่ปุ่น
แต่นอกเหนือจากสินค้าที่นำเข้ามาค้าขายแล้ว
พวกเขายังได้มาพบกับการทำ “เหล้ากลั่น” จาก “ข้าว” ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในอยุธยาสมัยนั้น จนเป็นที่ติดอกติดใจ และนำกลับไปยังบ้านเกิด
พวกเขายังได้มาพบกับการทำ “เหล้ากลั่น” จาก “ข้าว” ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในอยุธยาสมัยนั้น จนเป็นที่ติดอกติดใจ และนำกลับไปยังบ้านเกิด
ซึ่งหลังจากกลับไปยังรีวกีว พวกเขาก็เริ่มประยุกต์วิธีการกลั่นเหล้า ในแบบฉบับของตัวเอง
โดยการนำ เมล็ดข้าวจากไทย มาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ และนำไปนึ่ง
จากนั้นใส่หัวเชื้อ “โคจิดำ” ซึ่งจะเป็นการใส่เชื้อราชนิดหนึ่งลงไปในข้าว ทำให้เกิดกรดซิทริก ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
จากนั้นใส่หัวเชื้อ “โคจิดำ” ซึ่งจะเป็นการใส่เชื้อราชนิดหนึ่งลงไปในข้าว ทำให้เกิดกรดซิทริก ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
ซึ่งโคจิดำ จะผลิตกรดซิทริกได้มากกว่า โคจิแบบทั่ว ๆ ไป จึงนิยมนำมาใช้ในการทำอาวาโมริโดยเฉพาะ เนื่องจากเหมาะกับสภาพอากาศของรีวกีว ที่เป็นแบบกึ่งเขตร้อนและชื้น ทำให้อาหารเน่าเสียง่ายกว่าปกติ
หลังจากนั้น ก็จะนำไปผ่านกระบวนการ ทั้งการหมัก การกลั่น และอื่น ๆ จนเกิดออกมาเป็น อาวาโมริ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนกับสาเก หรือโชจูของญี่ปุ่น
แล้วทำไมถึงต้องใช้ข้าวไทย แทน ข้าวญี่ปุ่น ?
ข้าวญี่ปุ่น ถูกจัดอยู่ในกลุ่มข้าวจาปอนิกา (Japonica) ที่มีเมล็ดสั้นป้อม เหนียวนุ่ม และเมื่อหุงสุก เมล็ดข้าวก็จะเกาะติดกัน จึงอาจทำให้พ่นหัวเชื้อราโคจิได้ไม่ทั่วถึง
ส่วนข้าวไทย จะอยู่ในกลุ่มข้าวอินดิกา (Indica) ที่มีเมล็ดเรียวยาว มีความแข็ง ลื่น และไม่ค่อยจับตัวเป็นก้อน แม้ว่าจะหุงสุกแล้ว ทำให้ง่ายต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราโคจิดำ
รวมถึงข้าวไทยยังจะให้กลิ่นและรสชาติเฉพาะตัว ที่ทำให้เหล้าอาวาโมริมีเอกลักษณ์ชัดเจนอีกด้วย
นอกจากประเด็นเรื่องวัตถุดิบแล้ว ปัจจัยที่ทำให้อาวาโมริ ยิ่งมีมูลค่า ก็คือ “เวลา”
เพราะอาวาโมริ เป็นเหล้าที่ยิ่งเก็บหรือบ่มไว้นาน ก็จะยิ่งมีราคาสูง
เพราะอาวาโมริ เป็นเหล้าที่ยิ่งเก็บหรือบ่มไว้นาน ก็จะยิ่งมีราคาสูง
โดยเหล้าอาวาโมริ ที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป จะถูกเรียกว่า เหล้าโคะชุ (คูซุ)
แต่ตัวเลข 3 ปีนี้ อาจจะดูกระจิริดไปทันที
ถ้าเรารู้ว่า จริง ๆ แล้ว เหล้าอาวาโมริ สามารถบ่มได้นานถึง 100 หรือ 200 ปีเลยทีเดียว
ถ้าเรารู้ว่า จริง ๆ แล้ว เหล้าอาวาโมริ สามารถบ่มได้นานถึง 100 หรือ 200 ปีเลยทีเดียว
แต่น่าเสียดาย..
เหล้าอายุนับร้อยปีเหล่านี้ ในปัจจุบันแทบไม่เหลือให้เห็นแล้ว
เหล้าอายุนับร้อยปีเหล่านี้ ในปัจจุบันแทบไม่เหลือให้เห็นแล้ว
เพราะหลังจากการสู้รบกันในสงครามโลกครั้งที่สอง
ไม่เพียงแค่ทำให้การผลิตอาวาโมริหยุดชะงักเท่านั้น
แต่เหล้าอาวาโมริ อายุเป็นร้อย ๆ ปีที่ถูกเก็บไว้ ก็ถูกทำลายไปด้วยเช่นกัน
ไม่เพียงแค่ทำให้การผลิตอาวาโมริหยุดชะงักเท่านั้น
แต่เหล้าอาวาโมริ อายุเป็นร้อย ๆ ปีที่ถูกเก็บไว้ ก็ถูกทำลายไปด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่สงครามจบลง ผู้คนก็เริ่มกลับมาผลิตอาวาโมริอีกครั้ง
และก็ยังคงใช้ ข้าวไทย เป็นวัตถุดิบหลักเช่นเดิม
และก็ยังคงใช้ ข้าวไทย เป็นวัตถุดิบหลักเช่นเดิม
โดยปัจจุบัน มีโรงกลั่นอาวาโมริ มากกว่า 40 แห่ง ซึ่งทั้งหมดอยู่ในจังหวัดโอกินาวะ ซึ่งในหนึ่งปีจะมีการผลิตอาวาโมริสูงถึง 22 ล้านตัน หรือคิดเป็นมากกว่า 12 ล้านขวด
และส่วนใหญ่ จะถูกบริโภคกันเองภายในจังหวัดโอกินาวะ
และส่วนใหญ่ จะถูกบริโภคกันเองภายในจังหวัดโอกินาวะ
ขณะเดียวกัน โรงกลั่นอาวาโมริหลายแห่ง ก็ยังถูกต่อยอดมาเป็น ธุรกิจท่องเที่ยว ที่ให้คนได้มาศึกษาประวัติศาสตร์อายุนับร้อยปี ที่ถูกเก็บรักษาไว้ในที่แห่งนี้..
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมานี้
รัฐบาลญี่ปุ่น ยอมลดอัตราการจัดเก็บ “ภาษี” สำหรับเหล้าอาวาโมริ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมในท้องถิ่น
รัฐบาลญี่ปุ่น ยอมลดอัตราการจัดเก็บ “ภาษี” สำหรับเหล้าอาวาโมริ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมในท้องถิ่น
และแม้ว่า ล่าสุดรัฐบาลกลางจะตัดสินใจยกเลิกสิทธิพิเศษนี้ แต่ก็ยังคงยืดระยะเวลาให้จนถึงปี 2032 เพื่อให้ผู้ผลิตรายเล็กมีเวลาได้ปรับตัว..
---------------------------------------
Sponsored by JCB
เอกสิทธิ์สไตล์ญี่ปุ่นเหนือระดับกับบัตรเครดิต JCB สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจ ทั้งเกร็ดความรู้จากประเทศญี่ปุ่น และสิทธิพิเศษเฉพาะผู้ถือบัตรเครดิต JCB ได้ www.facebook.com/JCBCardThailandTH และ LINE Official Account : @JCBThailand (https://bit.ly/JCBTHLine)
#JCBใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา #JCBThailand #JCBOwnHappinessOwnStory
---------------------------------------
References
-หนังสือ หนังกวาง ไม้ฝาง ช้าง ของป่า การค้าอยุธยา สมัยพุทธศตวรรษที่ 22-23
-https://okinawa.stripes.com/food-drink/taste-okinawa-get-spirit-awamori
-https://www.japantimes.co.jp/life/2022/04/19/food/awamori-anniversary-okinawa/
-https://visitokinawajapan.com/discover/food-and-longevity/awamori-okinawa-spirit/
-https://mfa.go.th/th/content/5d5bd19615e39c3060025601?cate=5d5bcb4e15e39c3060006843
-https://okinawa-awamori.or.jp/awamori/?lang=en
-https://www.asahi.com/ajw/articles/14494719
-หนังสือ หนังกวาง ไม้ฝาง ช้าง ของป่า การค้าอยุธยา สมัยพุทธศตวรรษที่ 22-23
-https://okinawa.stripes.com/food-drink/taste-okinawa-get-spirit-awamori
-https://www.japantimes.co.jp/life/2022/04/19/food/awamori-anniversary-okinawa/
-https://visitokinawajapan.com/discover/food-and-longevity/awamori-okinawa-spirit/
-https://mfa.go.th/th/content/5d5bd19615e39c3060025601?cate=5d5bcb4e15e39c3060006843
-https://okinawa-awamori.or.jp/awamori/?lang=en
-https://www.asahi.com/ajw/articles/14494719