Health & Beauty
TikTok ปล่อยฟีเชอร์ใหม่ ที่ช่วยแก้ปัญหา “สุขภาพจิต” ในวัยรุ่น
16 ก.ย. 2021
TikTok ปล่อยฟีเชอร์ใหม่ ที่ช่วยแก้ปัญหา “สุขภาพจิต” ในวัยรุ่น /โดย ลงทุนเกิร์ล
เมื่อไม่กี่วันมานี้ TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยม
ได้ออกฟีเชอร์ใหม่ เพื่อช่วยแก้ปัญหา “สุขภาพจิต” ในวัยรุ่น
ได้ออกฟีเชอร์ใหม่ เพื่อช่วยแก้ปัญหา “สุขภาพจิต” ในวัยรุ่น
โดยสืบเนื่องมาจากผลการศึกษาของ Facebook ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่เน้นรูปภาพเป็นหลักอย่าง Instagram ส่งผลต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่น โดยเฉพาะในวัยรุ่นหญิง เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถแยกภาพของชีวิตจริงออกจากภาพบนจอได้
แล้วเรื่องนี้ เกี่ยวกับ Tik Tok ยังไง ?
เนื่องจาก TikTok เป็นแพลตฟอร์ม ที่เราสามารถผลิตวิดีโอสั้น ๆ ซึ่งแต่เดิมก็เป็นที่นิยมอยู่แล้ว และพอมาประกอบกับช่วงล็อกดาวน์ จึงยิ่งทำให้ TikTok กลายเป็นอีกหนึ่ง “งานอดิเรก” แก้เหงาเลยก็ว่าได้
โดยผู้ใช้ส่วนมาก ก็หนีไม่พ้น “เด็กและวัยรุ่น” โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิง ที่หลายคนผันตัวไปเป็นดาว TikTok จนทำเงินได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ในขณะเดียวกัน ทางฝั่งผู้ใช้งานที่เป็นคนดูเอง ก็หมดเวลาไปกับ TikTok ไม่น้อย ด้วยอัลกอริทึมที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี แม้จิตใจจะเข้มแข็งแค่ไหน รู้ตัวอีกที ก็อาจจะผ่านไปเป็นชั่วโมงแล้ว
ซึ่งก็คงเป็น อาการเดียวกับที่เราไถฟีด เฝ้าดูชีวิตคนอื่นบน Facebook หรือ Instagram จนลืมเวลา
อย่างไรก็ตาม นี่กลับเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา
โดยมีผลการวิจัยมากมาย ที่บ่งชี้ว่า การเสพติดคอนเทนต์มากเกินไป อาจทำให้เกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า โรคการกินผิดปกติ หรืออื่น ๆ ได้
เรื่องนี้ทำให้ทาง TikTok เริ่มพยายามทำอะไรบางอย่าง เพื่อวัยรุ่นที่กำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้
และล่าสุด ทางแพลตฟอร์ม TikTok ก็ได้ปล่อยฟีเชอร์ Safety Center หรือศูนย์ความปลอดภัยสำหรับวัยรุ่น ที่ช่วยให้ความรู้ในด้านต่างๆ
เช่น โรคการกินผิดปกติ การป้องการการข่มเหงรังแก การฆ่าตัวตายและทำร้ายตัวเอง เป็นต้น
โดยชุดข้อมูลในฟีเชอร์นี้ ถูกออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจาก National Eating Disorders Association, Butterfly Foundation, Bodywhys และ National Eating Disorder Information Center
ซึ่งความตั้งใจของ TikTok ในการทำฟีเชอร์นี้ ก็เพราะต้องการสนับสนุน “สุขภาพจิตของผู้ใช้งาน” อีกทั้งยังมีตัวช่วยแนะนำการใช้ฟีเชอร์ดังกล่าวสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยใช้
นอกจากนั้น ยังได้อัปเดตการแจ้งเตือน สำหรับคอนเทนต์ที่มีความละเอียดอ่อนด้วย ด้วยการกำหนดการคีย์เวิร์ด เช่น หากเราค้นหาคำว่า “Scary makeup” จะมีการขึ้นเตือนใต้ช่องค้นหาว่าเป็น “Distress content”
โดย TikTok ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าทางแพลตฟอร์ม ไม่สนับสนุนคอนเทนต์ที่ยกย่องการฆ่าตัวตายว่าเป็นเรื่องปกติ หรือคอนเทนต์การทำร้ายตัวเอง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในขณะเดียวกัน TikTok จะเลือกสนับสนุนคนที่อยากแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว ที่ส่งผลให้ผู้อื่นได้ตระหนักถึงเรื่องสุขภาพจิต เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยผู้อื่นที่อาจกำลังต้องการใครสักคนที่เข้าใจ
ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา TikTok ก็เพิ่งเพิ่มฟีเชอร์ที่ทำให้ผู้ติดตาม สามารถค้นหาปัญหาเกี่ยวกับความผิดปกติในการกินหรือการฆ่าตัวตาย เพื่อให้เราตรงไปยังแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมได้เลย
เช่น เมื่อเราพิมพ์คำว่า #Suicide ก็จะมีแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับกรมสุขภาพจิตขึ้นมา ให้สามารถติดต่อไปยังแหล่งที่เหมาะสมได้โดยตรงทันที
เราจะเห็นได้ว่า TikTok ค่อนข้างมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตของวัยรุ่น ซึ่งมักจะเกิดจากการเสพติดคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย จนสะบัดมันออกจากโลกความจริงไม่ออก
ทีนี้ มาดูในฝั่งเจ้าของงานวิจัยกันบ้าง
ที่ผ่านมา หลายฝ่ายได้วิพากษ์วิจารณ์ Facebook และ Instagram มานานแล้ว เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ายอมรับเนื้อหาที่เป็นอันตราย รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้า โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและเด็ก
ซึ่งทาง Facebook และ Instagram ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหานี้เช่นกัน
อย่างที่ผ่านมาก็มีการให้ผู้ใช้สามารถซ่อนยอดไลก์ของโพสต์ตัวเอง รวมไปถึงรีแอคชันต่าง ๆ ได้บนหน้าฟีดของพวกเขา
นอกจากนี้ คุณ Karina Newton หัวหน้าด้านนโยบายสาธารณะของ Instagram ได้ออกมาไขข้อสงสัยว่า
แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Instagram นั้น สรุปแล้วมันดีหรือไม่ดีต่อคนกันแน่ ?
แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Instagram นั้น สรุปแล้วมันดีหรือไม่ดีต่อคนกันแน่ ?
โดยเธอบอกว่า ผลจากการศึกษามีทั้งดีและไม่ดีผสมกัน แพลตฟอร์มนี้มีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีข้อเสียที่ควรพึงระวังด้วยเช่นกัน
และยังได้อธิบายเพิ่มเติม ว่าได้เพิ่มงานเกี่ยวกับด้านสุขภาพจิต เช่น การฆ่าตัวตาย การกลั่นแกล้ง โรคการกินผิดปกติและการทำร้ายตัวเอง เพิ่มเติมในช่วงที่ผ่านมา เพื่อทำให้ Instagram เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
จะเห็นได้ว่า จริง ๆ แล้วแพลตฟอร์มที่เราใช้กันอยู่นั้น เหมือน “เหรียญ” ที่มี 2 ด้าน
สามารถเป็นประโยชน์ได้ และในทางกลับกัน ก็มีโทษอยู่พอสมควร หากไม่สามารถควบคุมการใช้ของตัวเองได้ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่ยังมีความอ่อนไหวทางด้านอารมณ์อยู่มาก
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ปัญหาเหล่านี้ จะต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งไม่ใช่แค่เจ้าของแพลตฟอร์ม
แต่หมายรวมถึง ทุกคนในสังคม ทั้งบนโลกแห่งความจริง และโลกออนไลน์ที่ไร้พรมแดนนี้..
แต่หมายรวมถึง ทุกคนในสังคม ทั้งบนโลกแห่งความจริง และโลกออนไลน์ที่ไร้พรมแดนนี้..