Business
รู้จักกับ ธนาคารไทยเครดิต ธนาคารแรกในรอบ 10 ปี ที่ IPO ในตลาดหุ้นไทย
26 ม.ค. 2024
ไทยเครดิต x ลงทุนเกิร์ล
หนี้นอกระบบ คือ หนึ่งในปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีมูลค่าตลาดของการกู้ยืมเงินในระบบอยู่ที่ 6.7 ล้านล้านบาท
ขณะที่มูลค่าตลาดของการกู้ยืมนอกระบบอยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาท
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีมูลค่าตลาดของการกู้ยืมเงินในระบบอยู่ที่ 6.7 ล้านล้านบาท
ขณะที่มูลค่าตลาดของการกู้ยืมนอกระบบอยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาท
เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้ลูกหนี้จำนวนไม่น้อยตัดสินใจกู้ยืมนอกระบบ แม้จะต้องแลกกับอัตราดอกเบี้ยที่สุดท้ายแล้วอาจจะสูงกว่าเงินต้นหลายเท่าตัว เพราะลูกหนี้ไม่สามารถเข้าถึงการกู้ยืมในระบบได้
อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาหนี้นอกระบบจะยังไม่ได้ถูกปลดล็อก
แต่หนึ่งในธนาคารพาณิชย์ที่มีความมุ่งมั่นจะเป็นส่วนหนึ่ง ในการตัดวงจรลูกหนี้จากนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบมาโดยตลอด คือ ธนาคารไทยเครดิต
แต่หนึ่งในธนาคารพาณิชย์ที่มีความมุ่งมั่นจะเป็นส่วนหนึ่ง ในการตัดวงจรลูกหนี้จากนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบมาโดยตลอด คือ ธนาคารไทยเครดิต
ซึ่งล่าสุด กำลังจะมีมูฟเมนต์สำคัญคือ เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จะ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ในรอบ 10 ปี
ธนาคารไทยเครดิต คือใคร ?
การ IPO ของธนาคารไทยเครดิตจะส่งผลดีอย่างไร ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
การ IPO ของธนาคารไทยเครดิตจะส่งผลดีอย่างไร ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
ธนาคารไทยเครดิต เริ่มต้นธุรกิจในปี 2513 ในชื่อของ บริษัท กรุงเทพสินทวี จำกัด
จากนั้นในปี 2526 เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ไทยเคหะ จำกัด
ก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ในปี 2550
และล่าสุด ได้รับการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบในปี 2566
จากนั้นในปี 2526 เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ไทยเคหะ จำกัด
ก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ในปี 2550
และล่าสุด ได้รับการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบในปี 2566
จุดเด่นของธนาคารไทยเครดิต คือ เป็นธนาคารพาณิชย์
ที่เน้นปล่อยสินเชื่อ ให้กลุ่มคนที่มักเข้าไม่ถึงแหล่งกู้เงินในระบบ มากว่า 10 ปี
ที่เน้นปล่อยสินเชื่อ ให้กลุ่มคนที่มักเข้าไม่ถึงแหล่งกู้เงินในระบบ มากว่า 10 ปี
โดยหลัก ๆ แล้ว ธนาคารไทยเครดิต จะปล่อยสินเชื่อ 2 ประเภท ได้แก่
- สินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (MSME) สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขนาดเล็ก
- สินเชื่อไมโครและนาโนไฟแนนซ์ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่มีแผงค้าในตลาด และร้านค้าขนาดเล็ก
- สินเชื่อไมโครและนาโนไฟแนนซ์ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่มีแผงค้าในตลาด และร้านค้าขนาดเล็ก
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล และสินเชื่อรายย่อยอื่น ๆ
ถ้าไปดูสัดส่วนพอร์ตสินเชื่อของธนาคาร ณ วันที่ 30 ก.ย. 66 ซึ่งมีมูลค่า 138,435 ล้านบาท จะประกอบด้วย
- สินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี 67.7%
- สินเชื่อไมโครและนาโนไฟแนนซ์ 15.3%
- สินเชื่อบ้านแลกเงิน 15.2%
- อื่น ๆ 1.8%
- สินเชื่อไมโครและนาโนไฟแนนซ์ 15.3%
- สินเชื่อบ้านแลกเงิน 15.2%
- อื่น ๆ 1.8%
จุดแข็งถัดมา คือ ธนาคารไทยเครดิตมีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจน และเข้าใจลูกค้า
โดยธนาคารไทยเครดิตเน้นตั้งสาขาสินเชื่อขนาดเล็ก ๆ ในชุมชน
พร้อมกันนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่คอยลงพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เข้าใจอินไซต์ของลูกค้า และสามารถแก้ปัญหาให้ลูกหนี้ได้อย่างตรงจุด
พร้อมกันนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่คอยลงพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เข้าใจอินไซต์ของลูกค้า และสามารถแก้ปัญหาให้ลูกหนี้ได้อย่างตรงจุด
ปัจจุบัน ณ 30 ก.ย. 66 ธนาคารไทยเครดิตมีสาขาสินเชื่อและ Kiosk รวมทั้งหมด 500 สาขา
กระจายอยู่ตามชุมชนทั่วประเทศไทย และมีสาขาเงินฝากอีก 27 สาขา
ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ
กระจายอยู่ตามชุมชนทั่วประเทศไทย และมีสาขาเงินฝากอีก 27 สาขา
ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ
จากจุดแข็งดังกล่าว ทำให้ธนาคารไทยเครดิตมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมั่นคง
- เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารไทยเครดิต มีอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ระหว่างปี 2563-2565 อยู่ที่ 33% ต่อปี
ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในกลุ่มสถาบันการเงิน
ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในกลุ่มสถาบันการเงิน
- ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ หรือ Net Interest Margin (NIM) ของธนาคารไทยเครดิต สำหรับงวด 12 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 66 อยู่ที่ 8.2%
ซึ่งจัดว่าอยู่ในอันดับต้น ๆ ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์
ซึ่งจัดว่าอยู่ในอันดับต้น ๆ ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์
- อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้รวม (Cost to Income Ratio) สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 36.2%
ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในบรรดาธนาคารพาณิชย์
ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในบรรดาธนาคารพาณิชย์
เหตุผลหลัก ๆ มาจากโมเดลธุรกิจของธนาคารไทยเครดิตที่เน้นตั้งสาขาต้นทุนต่ำ สำหรับการให้บริการสินเชื่อในชุมชน จึงมีต้นทุนต่อสาขาที่ต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ
มาถึงคำถามที่น่าจะคาใจหลาย ๆ คนว่า การที่ธนาคารไทยเครดิตเน้นปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า และร้านค้าขนาดเล็ก โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน จะเสี่ยงต่อการเกิดหนี้เสียหรือไม่
ต้องบอกว่า แม้กลุ่มลูกค้าหลักของธนาคารจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
แต่ด้วยการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม ทำให้ธนาคารไทยเครดิตมีอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพหรือ NPL Ratio ใน 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 4% เท่านั้น
แต่ด้วยการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม ทำให้ธนาคารไทยเครดิตมีอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพหรือ NPL Ratio ใน 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 4% เท่านั้น
นอกจากนี้ ธนาคารไทยเครดิตได้ตั้งสำรองหนี้สูญต่อหนี้ที่ไม่ทำให้เกิดรายได้ หรือ NPL Coverage ใน 9 เดือนแรกของปี 2566 ไว้ที่ 165% และได้รับการค้ำประกันจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมากกว่า 60% ของ NPL ทั้งหมดอีกด้วย
จากจุดแข็งและจุดเด่นในการบริหารงาน เราลองมาดูผลประกอบการของธนาคารไทยเครดิตกันบ้าง
ปี 2563 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 6,370.9 ล้านบาท กำไร 1,372.9 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 8,493.6 ล้านบาท กำไร 1,935.0 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 11,052.3 ล้านบาท กำไร 2,352.5 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 8,493.6 ล้านบาท กำไร 1,935.0 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 11,052.3 ล้านบาท กำไร 2,352.5 ล้านบาท
- รายได้เติบโตเฉลี่ยสะสม ระหว่างปี 2563-2565 (CAGR) 31.7% ต่อปี
- กำไรเติบโตเฉลี่ยสะสม ระหว่างปี 2563-2565 (CAGR) 30.9% ต่อปี
- กำไรเติบโตเฉลี่ยสะสม ระหว่างปี 2563-2565 (CAGR) 30.9% ต่อปี
และ 9 เดือนแรกของปี 2566
รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 9,783.8 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,816.7 ล้านบาท
รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 9,783.8 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,816.7 ล้านบาท
จะเห็นว่า ธนาคารไทยเครดิตถือเป็นหนึ่งในธนาคารที่มีผลประกอบการเติบโตดีที่สุดในอุตสาหกรรม
และมีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 21.8%
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลุ่มของผู้ให้บริการทางการเงินที่มี ROE สูงสุด
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลุ่มของผู้ให้บริการทางการเงินที่มี ROE สูงสุด
ด้วยจุดแข็งและผลงานดังกล่าวนี้เอง ทำให้ล่าสุดธนาคารไทยเครดิตตัดสินใจเดินเกมรุกครั้งใหญ่
ด้วยการเสนอขายหุ้น IPO
ด้วยการเสนอขายหุ้น IPO
เป้าหมายหลัก ๆ ก็เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุนธนาคารฯ เพื่อขยายเงินลงทุนของพอร์ตสินเชื่อ
รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งมูฟเมนต์ที่น่าจับตา
จากนี้ก็ต้องติดตามว่า ธนาคารไทยเครดิต ในฐานะหุ้นธนาคารแห่งที่ 12 ของตลาดหุ้นไทย จะเป็นอย่างไรต่อไป..
จากนี้ก็ต้องติดตามว่า ธนาคารไทยเครดิต ในฐานะหุ้นธนาคารแห่งที่ 12 ของตลาดหุ้นไทย จะเป็นอย่างไรต่อไป..
Reference:
-ตัวเลขอัตราส่วนทางการเงินในบทความ อ้างอิงจากงวด 9 เดือน สิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2566
-ตัวเลขอัตราส่วนทางการเงินในบทความ อ้างอิงจากงวด 9 เดือน สิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2566