Business
moreloop เปลี่ยน “ผ้าเหลือ” จากโรงงาน ให้ทำเงินได้อีกครั้ง
28 พ.ย. 2022
moreloop เปลี่ยน “ผ้าเหลือ” จากโรงงาน ให้ทำเงินได้อีกครั้ง /โดย ลงทุนเกิร์ล
ทุกวันนี้ เศรษฐกิจโลก ถูกขับเคลื่อนด้วยระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่มีเจ้าของกิจการ แรงงาน และผู้บริโภค เป็น 3 ตัวละครหลัก
พล็อตของละครเรื่องนี้ ยังมาพร้อมกับจุดยืนที่ขัดแย้งกันของทั้งสามฝ่าย
โดยนายทุนต้องการกำไรสูงที่สุด ด้วยการลดต้นทุน และเพิ่มราคาขาย
ขณะที่แรงงานต้องการขึ้นค่าแรง
ส่วนผู้บริโภคอยากซื้อของในราคาที่ถูกที่สุด
โดยนายทุนต้องการกำไรสูงที่สุด ด้วยการลดต้นทุน และเพิ่มราคาขาย
ขณะที่แรงงานต้องการขึ้นค่าแรง
ส่วนผู้บริโภคอยากซื้อของในราคาที่ถูกที่สุด
แต่ในคำนิยามของระบบทุนนิยมนั้น
กลับละเลยที่จะพูดถึง “ฉากหลัง” อย่าง “สิ่งแวดล้อม”
กลับละเลยที่จะพูดถึง “ฉากหลัง” อย่าง “สิ่งแวดล้อม”
จนทำให้หลายคนคงมองว่า เรื่องของสิ่งแวดล้อมและทุนนิยม เป็นเหมือนเส้นขนาน
แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ยังมีอีกหลายคนที่กำลังพยายามทำให้เส้นขนานทั้งสอง มาบรรจบกัน
แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ยังมีอีกหลายคนที่กำลังพยายามทำให้เส้นขนานทั้งสอง มาบรรจบกัน
โดยวันนี้ลงทุนเกิร์ล มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณพล-อมรพล หุวะนันทน์ และคุณแอ๋ม-ธมลวรรณ วิโรจน์ชัยยันต์
สองผู้ก่อตั้ง moreloop (มอร์ลูป)
แบรนด์ที่นำผ้าเหลือจากอุตสาหกรรม มาขายบนแพลตฟอร์ม
และผู้ที่ อยากพิสูจน์ว่า ทุนนิยมและสิ่งแวดล้อม สามารถเดินไปด้วยกันได้จริง
แบรนด์ที่นำผ้าเหลือจากอุตสาหกรรม มาขายบนแพลตฟอร์ม
และผู้ที่ อยากพิสูจน์ว่า ทุนนิยมและสิ่งแวดล้อม สามารถเดินไปด้วยกันได้จริง
เบื้องลึกเบื้องหลังของ moreloop คืออะไร ?
แล้วอะไรทำให้ moreloop ที่มีจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อม ยังทำธุรกิจได้จนถึงปัจจุบัน ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
แล้วอะไรทำให้ moreloop ที่มีจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อม ยังทำธุรกิจได้จนถึงปัจจุบัน ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
แรกเริ่ม คุณพลและคุณแอ๋ม มองสิ่งเดียวกันจากคนละมุม
คุณพลหมกมุ่นกับเรื่อง “ของเหลือจากอุตสาหกรรม” (Industrial Waste) สิ่งที่คนมักมองไม่เห็นคุณค่า แต่เขาเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้น โดนด้อยค่า เพราะการติดป้ายว่า “ขยะ” ให้กับมัน
ดังนั้น เขาจึงพยายามมองหาโอกาส
เพื่อหาธุรกิจที่สามารถ อัปไซเคิลขยะอะไรบางอย่าง
เพื่อหาธุรกิจที่สามารถ อัปไซเคิลขยะอะไรบางอย่าง
ส่วนทางด้าน คุณแอ๋ม ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
เธออยู่กับกองผ้า ที่เหลือจากการผลิต
และโรงงานต้องจำใจชั่งกิโลขายในราคาถูก
และโรงงานต้องจำใจชั่งกิโลขายในราคาถูก
ซึ่งคุณแอ๋มบอกว่า เธอเสียดาย เพราะเธอรู้ว่าผ้าเหลือเหล่านั้น มันมีค่ามากกว่าราคาที่ถูกขายไป
เมื่อ “Pain Point” ของคุณแอ๋ม มาบรรจบกับ “Passion” ที่คุณพลมี
“moreloop” จึงถือกำเนิดขึ้น
“moreloop” จึงถือกำเนิดขึ้น
คุณแอ๋มบอกว่า ผ้าที่เหลือในโรงงานนั้น ไม่ใช่แค่เศษผ้าชิ้นเล็ก ๆ แต่เหลือเป็นม้วนเป็นพับเลยทีเดียว และคุณภาพของผ้าก็ไม่ได้แย่ เพราะเป็นผ้าสำหรับออร์เดอร์สั่งตัดจากแบรนด์ดัง ๆ ทั้งนั้น
ในขณะเดียวกัน คุณพลกับคุณแอ๋ม ก็ได้พบว่ายังมีกลุ่มคนที่ต้องการผ้าคุณภาพ เพื่อนำไปสร้างสรรค์ผลงานต่อ เช่น แฟชั่นดิไซเนอร์รายย่อย
ทั้งสองจึงอาสาเป็นตัวกลางอำนวยความสะดวก ให้ทั้งสองกลุ่มมาเจอกัน
โดยเริ่มจากรวบรวมผ้าเหลือจากโรงงานที่รู้จัก มาลงขายบนเว็บไซต์ ก่อนที่จะมีหลายโรงงานติดต่อนำผ้ามาขายเอง จนปัจจุบันมีกว่า 70 โรงงาน ที่นำผ้าเหลือมาขายบนเว็บไซต์ของ moreloop
ซึ่งผ้าที่นำมาขายบนแพลตฟอร์มนั้น มีเกณฑ์เพียงข้อเดียวคือ ต้องเป็นผ้าที่เหลือจริง ๆ
ส่วนราคาขายนั้น moreloop ให้โรงงานตั้งราคาเอง
แต่ก็จะมีราคาแนะนำที่ยุติธรรมกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
แต่ก็จะมีราคาแนะนำที่ยุติธรรมกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ส่วนรายได้ของ moreloop จะมาจากค่าบริการระบบที่หักจากยอดขาย
โดย moreloop มีบริการที่ช่วยแก้ Pain Point ของโรงงาน ด้วยการเป็นตัวกลางที่ครบวงจร ทั้งถ่ายรูปลงเว็บไซต์ จัดหมวดหมู่ชนิดของผ้า ลวดลาย หรือความหนา
รวมถึงมีโชว์รูม และช่วยให้ข้อมูล เพื่อให้ดิไซเนอร์เลือกซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
ซึ่งนอกจากรวบรวมผ้ามาขายแล้ว moreloop ยังอัปไซเคิล ด้วยการนำผ้าเหล่านี้ มาผลิตเป็นเสื้อผ้าขายด้วย
โดยแบ่งเป็น 2 ขา คือ
-ผลิตแบรนด์ของตัวเอง (B2C)
-รับจ้างผลิตสินค้าสำเร็จรูปสำหรับองค์กร เช่น เสื้อ, หน้ากากผ้า, กระเป๋าผ้า (B2B)
-ผลิตแบรนด์ของตัวเอง (B2C)
-รับจ้างผลิตสินค้าสำเร็จรูปสำหรับองค์กร เช่น เสื้อ, หน้ากากผ้า, กระเป๋าผ้า (B2B)
และที่สำคัญ คือ เสื้อที่ moreloop ผลิต นอกจากทำมาจากผ้าคุณภาพดีแล้ว ยังตัดเย็บด้วยความละเอียด เพื่อความคงทน แถมยังตั้งราคาที่สมเหตุสมผล
ทั้งหมดนี้ ก็เพราะคุณพลและคุณแอ๋ม เชื่อว่า ธุรกิจจะยั่งยืนได้ ต้องไม่ได้มีแค่ “สตอรี” เพียงอย่างเดียว
แต่สินค้าและบริการที่ดี ก็ถือเป็นอีกปัจจัยที่ห้ามมองข้าม
โดยตลอดระยะเวลาเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา
moreloop ช่วยลดการผลิตผ้าขึ้นใหม่ได้ถึง 42,124 กิโลกรัม
ถือเป็นการประหยัดการปล่อยคาร์บอน เท่ากับการขับรถยนต์รอบโลกถึง 133 รอบทีเดียว
moreloop ช่วยลดการผลิตผ้าขึ้นใหม่ได้ถึง 42,124 กิโลกรัม
ถือเป็นการประหยัดการปล่อยคาร์บอน เท่ากับการขับรถยนต์รอบโลกถึง 133 รอบทีเดียว
เรียกได้ว่า แม้ moreloop จะยังไม่ใช่ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ จนใหญ่โต
แต่ก็ถือเป็นก้าวเล็ก ๆ อีกหนึ่งก้าว ที่ช่วยพาให้เราเดินไปสู่ถนนสายใหม่
ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ทุนนิยม ก็อาจจะสามารถ เดินควบคู่ไปกับ การรักษาสิ่งแวดล้อมได้..
แต่ก็ถือเป็นก้าวเล็ก ๆ อีกหนึ่งก้าว ที่ช่วยพาให้เราเดินไปสู่ถนนสายใหม่
ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ทุนนิยม ก็อาจจะสามารถ เดินควบคู่ไปกับ การรักษาสิ่งแวดล้อมได้..
Reference:
-สัมภาษณ์พิเศษกับ คุณพล-อมรพล หุวะนันทน์ และคุณแอ๋ม-ธมลวรรณ วิโรจน์ชัยยันต์ ผู้ก่อตั้ง moreloop
-สัมภาษณ์พิเศษกับ คุณพล-อมรพล หุวะนันทน์ และคุณแอ๋ม-ธมลวรรณ วิโรจน์ชัยยันต์ ผู้ก่อตั้ง moreloop