Health & Beauty
หาคำตอบ มะเร็งเต้านม ร้ายกาจแค่ไหน ทำไมยิ่งตรวจเจอ ยิ่งไว ยิ่งช่วยเซฟชีวิต
22 ก.ย. 2022
Vimut x ลงทุนเกิร์ล
แค่นึกถึง “มะเร็ง” โรคร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิด หลายคนก็ขยาด
ยิ่งผู้หญิงอย่างเรา ๆ มะเร็งที่น่ากลัวที่สุด คงหนีไม่พ้น “มะเร็งเต้านม”
ซึ่งเป็นมะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย
ยิ่งผู้หญิงอย่างเรา ๆ มะเร็งที่น่ากลัวที่สุด คงหนีไม่พ้น “มะเร็งเต้านม”
ซึ่งเป็นมะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมมะเร็งเต้านม ถึงกลายเป็นมฤตยูที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยมหาศาล ?
และปลายทางของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ต้องตัดเต้านมทิ้ง เพื่อยื้อชีวิตใช่หรือไม่ ?
และปลายทางของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ต้องตัดเต้านมทิ้ง เพื่อยื้อชีวิตใช่หรือไม่ ?
ลงทุนเกิร์ลชวนทุกคนไปหาคำตอบจาก รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา ศัลยแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลวิมุต
ก่อนอื่น รศ.นพ.ประกาศิต บรรยายให้เห็นภาพว่า สถานการณ์มะเร็งเต้านมในประเทศไทย อย่างน่าสนใจว่า
จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2559-2561 พบว่า มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย โดยวัยที่มีแนวโน้มเสี่ยงสูง คือ ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 50-60 ปี
จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2559-2561 พบว่า มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย โดยวัยที่มีแนวโน้มเสี่ยงสูง คือ ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 50-60 ปี
ความน่ากลัวของมะเร็งเต้านม คือ จนถึงขณะนี้ ยังไม่สามารถหาสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัดได้
แถมยังเป็นภัยเงียบ ที่มักไม่แสดงอาการในระยะแรกเริ่ม
กว่าจะรู้ตัวอีกที ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงเข้าสู่ระยะ 2 หรือ 3 ซึ่งเป็นระยะที่มีการลุกลามของโรค จนทำให้หลายครั้งต้องมีการตัดเต้านมทิ้ง
“ในทางการแพทย์เรารู้เพียงว่า 8-10% ของมะเร็งเต้านม เกิดจากพันธุรรรม ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของยีน จนทำให้คนไข้กลุ่มนี้ เป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุยังน้อย
ส่วนอีก 80-90% เป็นกลุ่มที่เป็นมะเร็งเต้านมโดยไม่ทราบสาเหตุ”
ส่วนอีก 80-90% เป็นกลุ่มที่เป็นมะเร็งเต้านมโดยไม่ทราบสาเหตุ”
แต่พบว่ามีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น
- อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
- มีประวัติตรวจพบก้อนที่เต้านมมาก่อน หรือมีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
- ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย หรือเมื่ออายุมากขึ้น แต่ประจำเดือนไม่หมดสักที รวมไปถึงกลุ่มสาวโสด, ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วไม่มีบุตร, มีบุตรน้อย หรือมีบุตรแล้ว ไม่ได้เลี้ยงด้วยน้ำนมแม่
- มีประวัติตรวจพบก้อนที่เต้านมมาก่อน หรือมีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
- ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย หรือเมื่ออายุมากขึ้น แต่ประจำเดือนไม่หมดสักที รวมไปถึงกลุ่มสาวโสด, ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วไม่มีบุตร, มีบุตรน้อย หรือมีบุตรแล้ว ไม่ได้เลี้ยงด้วยน้ำนมแม่
เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ร่างกายได้รับฮอร์โมนเพศหญิงอย่าง เอสโตรเจน (Estrogen) ยาวนาน โดยไม่มีช่วงที่ร่างกายได้พัก
คำถามคือ ในเมื่อมะเร็งเต้านม ป้องกันไม่ได้ แต่ตรวจเจอแต่เนิ่น ๆ ได้ แล้วเราควรทำอย่างไร ?
รศ.นพ.ประกาศิต บอกว่า ที่ผ่านมาหลายคนมักเข้าใจผิดว่า ถ้าไม่อยากเป็นมะเร็งเต้านม ให้หมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเอง ถ้าคลำเจอก้อนเนื้อ ให้รีบมาพบแพทย์
ซึ่งความเป็นจริงแล้ว การหมั่นตรวจเต้านมเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่ควรรอจนคลำเจอก้อน หรือมีของเหลวไหลออกมาจากหัวนมแล้ว จึงมาพบแพทย์ อาจจะสายเกินไป
เพราะถ้ารอจนมีอาการ แสดงว่า อาการของมะเร็งเต้านม กำลังลุกลามสู่ระยะที่ 2 หรือ 3 แล้ว
ทำให้อัตราการรอดชีวิตลดลง
ทำให้อัตราการรอดชีวิตลดลง
จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถค้นพบภัยเงียบ อย่างมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม (ระยะศูนย์ หรือระยะที่ 1)
เพราะยิ่งพบร่องรอยของโรคเร็วเท่าไร ยิ่งหมายถึงโอกาสในการรอดชีวิตที่มากขึ้น
เพราะยิ่งพบร่องรอยของโรคเร็วเท่าไร ยิ่งหมายถึงโอกาสในการรอดชีวิตที่มากขึ้น
แล้วเราจะทำอย่างไร เพื่อให้ตรวจเจอโรคไว ในเมื่อการหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ ก็อาจจะคลำไม่เจอก้อนหรือความผิดปกติ จึงไม่รู้ว่าป่วย ?
รศ.นพ.ประกาศิต ไขข้อข้องใจว่า ปกติมะเร็งเต้านม จะแสดงอาการเมื่อเข้าสู่ระยะ 2 หรือ 3
ขณะที่มะเร็งเต้านมระยะแรก จะไม่มีอาการ ดังนั้นต่อให้ตรวจเต้านมเองเป็นประจำ ก็อาจจะไม่เจอ
เพราะมะเร็งเต้านมระยะแรก ๆ จะมาด้วยก้อนเล็ก ๆ มีขนาดน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ทำให้คลำเจอได้ยาก
เพราะมะเร็งเต้านมระยะแรก ๆ จะมาด้วยก้อนเล็ก ๆ มีขนาดน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ทำให้คลำเจอได้ยาก
ดังนั้น เพื่อเพิ่มความอุ่นใจ รศ.นพ.ประกาศิต แนะนำว่า สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรมาพบแพทย์ ปีละครั้ง เพื่ออัลตราซาวด์เต้านม
ซึ่งสมัยนี้มีนวัตกรรมที่ก้าวล้ำ ทำให้แพทย์สามารถตรวจพบก้อนเนื้อที่มีขนาด 2-3 มิลลิเมตรได้
ซึ่งสมัยนี้มีนวัตกรรมที่ก้าวล้ำ ทำให้แพทย์สามารถตรวจพบก้อนเนื้อที่มีขนาด 2-3 มิลลิเมตรได้
หรือถ้าต้องการภาพที่แม่นยำและชัดเจนยิ่งขึ้น คุณหมออาจจะแนะนำให้ตรวจด้วย Three Dimensional (3-D) mammography และ Digital Breast Tomosynthesis (DBT) ซึ่งเป็นเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม เอกซเรย์เต้านมแบบ 3 มิติ สามารถตรวจพบจุดหินปูน ที่มีขนาดเล็กมาก น้อยกว่า 0.5 มิลลิเมตร
และเครื่องอัลตราซาวด์เต้านมซึ่งสามารถตรวจพบก้อนมะเร็ง ขนาดเล็ก ๆ 2-3 มิลลิเมตรได้
และเครื่องอัลตราซาวด์เต้านมซึ่งสามารถตรวจพบก้อนมะเร็ง ขนาดเล็ก ๆ 2-3 มิลลิเมตรได้
ข้อดีของการตรวจเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ คือ ทำให้คนไข้มีโอกาสรักษาชีวิต และมีทางเลือกในการรักษามากขึ้นนั่นเอง
เพราะหลายครั้งเมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม คนไข้มักกังวลว่าจะต้องสูญเสียเต้านม หรือเสียชีวิตหรือไม่
สำหรับเรื่องนี้ รศ.นพ.ประกาศิต ย้ำชัดว่า ไม่ใช่คนไข้มะเร็งเต้านมทุกคน ต้องตัดเต้านมทิ้ง หรือเสียชีวิต
ถ้าสามารถตรวจเจอตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ
ถ้าสามารถตรวจเจอตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ
เนื่องจากมีผลวิจัยชี้ชัดแล้วว่า ถ้าตรวจพบมะเร็งเต้านม เพียงแค่ 1-2 ก้อน, มีขนาดเล็ก ไม่เกิน 3 เซนติเมตร และผลจากภาพเอกซเรย์ แมมโมแกรม พบว่ามีเนื้องอก แค่ 1-2 จุดใกล้ ๆ กัน และไม่มีเลือดออกที่หัวนม
คนไข้เหล่านี้ สามารถเข้ารับการผ่าตัดแบบสงวนเต้า ด้วยการเอาก้อนมะเร็ง บวกเนื้อดีรอบ ๆ ออก
เพียงแต่หลังผ่าตัด เมื่อแผลหายแล้ว อาจต้องทำการฉายรังสีหรือฉายแสงร่วมด้วย
ข้อดีของการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ คือ มีอัตราการเกิดซ้ำและอัตราการรอดชีวิต เทียบเท่าการผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งเต้า
แต่สำหรับคนไข้บางราย อาจมีมะเร็งก้อนใหญ่ เช่น ขนาด 3-4 เซนติเมตร ไปจนถึง 5-6 เซนติเมตร หรือมีก้อนมะเร็งหลายก้อน และมีเลือดออกที่หัวนม
คนไข้เหล่านี้ ไม่สามารถผ่าแบบอนุรักษ์เต้านม อาจจะต้องตัดเต้านมออกทั้งเต้า
ซึ่งอาจจะฟังดูน่ากลัว แต่คนไข้กลุ่มนี้ ยังมีความหวังและมีทางเลือก ด้วยการผ่าตัดเสริมเต้านมใหม่
คนไข้เหล่านี้ ไม่สามารถผ่าแบบอนุรักษ์เต้านม อาจจะต้องตัดเต้านมออกทั้งเต้า
ซึ่งอาจจะฟังดูน่ากลัว แต่คนไข้กลุ่มนี้ ยังมีความหวังและมีทางเลือก ด้วยการผ่าตัดเสริมเต้านมใหม่
สำหรับกรณีนี้ ถ้ามาใช้บริการผ่าตัดที่โรงพยาบาลวิมุต ด้วยจุดแข็งของโรงพยาบาลที่มีทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว คนไข้จึงสามารถเลือกได้ว่า จะผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก พร้อมให้คุณหมอเสริมเต้านมใหม่ให้ในคราวเดียวกันหรือไม่
พูดง่าย ๆ ว่า ไหน ๆ ก็ตัดเนื้อร้ายออกแล้ว คุณหมอก็จะช่วยเสริมสร้างเต้านมใหม่ให้คนไข้สามารถมั่นใจ กลับไปใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขเหมือนเดิมด้วย
ทั้งนี้ แนวทางการผ่าตัดเสริมเต้านมใหม่ จะมี 3 วิธีหลัก ๆ คือ
1. การผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้า แล้วทำเสริมด้วยถุงเต้านมเทียมหรือซิลิโคน
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด รบกวนคนไข้น้อยที่สุด เหมาะกับคนไข้ที่เต้านมไม่ใหญ่มาก
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด รบกวนคนไข้น้อยที่สุด เหมาะกับคนไข้ที่เต้านมไม่ใหญ่มาก
2. การผ่าตัดเสริมเต้านม ร่วมกับการเสริมเต้านมด้วยกล้ามเนื้อหลัง
สำหรับคนที่ไม่อยากได้ซิลิโคน และเต้านมไม่ใหญ่มาก อาจจะประมาณคัพ B หรือ B+
โดยแพทย์จะผ่าตัดนำเนื้อเยื่อไขมันบวกกล้ามเนื้อหลัง ลอดผ่านรักแร้ มาสร้างเต้านมใหม่
สำหรับคนที่ไม่อยากได้ซิลิโคน และเต้านมไม่ใหญ่มาก อาจจะประมาณคัพ B หรือ B+
โดยแพทย์จะผ่าตัดนำเนื้อเยื่อไขมันบวกกล้ามเนื้อหลัง ลอดผ่านรักแร้ มาสร้างเต้านมใหม่
3. การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม ด้วยเนื้อเยื่อบริเวณหน้าท้อง
เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีเต้านมที่หย่อนคล้อยมาก เต้านมมีขนาดใหญ่ และมีเนื้อบริเวณหน้าท้องส่วนล่างที่ต่ำกว่าสะดือ ในปริมาณที่มาก
แพทย์สามารถผ่าตัดเอากล้ามเนื้อที่ท้อง มาทำเต้านมใหม่ให้คนไข้ได้
เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีเต้านมที่หย่อนคล้อยมาก เต้านมมีขนาดใหญ่ และมีเนื้อบริเวณหน้าท้องส่วนล่างที่ต่ำกว่าสะดือ ในปริมาณที่มาก
แพทย์สามารถผ่าตัดเอากล้ามเนื้อที่ท้อง มาทำเต้านมใหม่ให้คนไข้ได้
จะเห็นว่า ทั้ง 3 วิธีเป็นเหมือนตัวช่วยที่ทำให้คนไข้ที่ต้องตัดเต้านม สามารถรับมือกับโรคร้ายได้อย่างมีความหวัง
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในจุดแข็งของคนไข้ ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลวิมุต
เพราะมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถผ่าตัดเต้านม และเสริมเต้านมให้คนไข้ได้ในคราวเดียว
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในจุดแข็งของคนไข้ ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลวิมุต
เพราะมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถผ่าตัดเต้านม และเสริมเต้านมให้คนไข้ได้ในคราวเดียว
มาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า มะเร็งเต้านม อาจเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลกเป็นอันดับ 1 ก็จริง
แต่หากสามารถตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม โอกาสที่จะรักษาก็มากขึ้นตาม..
แต่หากสามารถตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม โอกาสที่จะรักษาก็มากขึ้นตาม..
“บางคนพอคิดจะมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ก็อาจจะกลัวเจ็บ แต่จริง ๆ แล้ว หมอแต่ละคนก็อาจจะมีเทคนิคในการตรวจที่แตกต่างกัน และไม่ได้ทำให้รู้สึกเจ็บแบบที่หลายคนกังวล
ที่สำคัญ ในเคสคนที่ไปศัลยกรรมหน้าอกก็สามารถมาตรวจได้
เพราะแพทย์จะมีท่าตรวจเฉพาะให้ หรือถ้าจะให้ดี ถ้าอายุไม่ถึง 35 ปี แต่ประสงค์จะเสริมหน้าอก ก็แนะนำให้มาตรวจก่อน อย่างน้อยจะได้อุ่นใจว่า ไม่มีความเสี่ยง หรือความผิดปกติ”
เพราะแพทย์จะมีท่าตรวจเฉพาะให้ หรือถ้าจะให้ดี ถ้าอายุไม่ถึง 35 ปี แต่ประสงค์จะเสริมหน้าอก ก็แนะนำให้มาตรวจก่อน อย่างน้อยจะได้อุ่นใจว่า ไม่มีความเสี่ยง หรือความผิดปกติ”
สำหรับคุณผู้หญิง ที่อยากลุกขึ้นมาดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้
โรงพยาบาลวิมุต มีโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วย Three Dimensional (3-D) mammography และ Digital breast tomosynthesis (DBT) ที่มีความแม่นยำและมีความละเอียดสูง
โรงพยาบาลวิมุต มีโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วย Three Dimensional (3-D) mammography และ Digital breast tomosynthesis (DBT) ที่มีความแม่นยำและมีความละเอียดสูง
โดยทีมแพทย์ที่มีความชำนาญ สามารถตรวจหาความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม แม้ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ ในราคา 3,565 บาท
สะดวกและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคดิจิทัลสุด ๆ
เพราะใช้เวลาตรวจประมาณ 30 นาที สามารถรอฟังผล หรือจะดาวน์โหลด APP โรงพยาบาลไว้ เพื่อรับผลออนไลน์ได้เช่นกัน
เพราะใช้เวลาตรวจประมาณ 30 นาที สามารถรอฟังผล หรือจะดาวน์โหลด APP โรงพยาบาลไว้ เพื่อรับผลออนไลน์ได้เช่นกัน
สุดท้ายนี้ ถ้าถามว่าโปรแกรมนี้ เหมาะกับใคร ?
ต้องบอกว่าเหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป แต่เคสคนไข้ที่มีอายุน้อยก็สามารถตรวจได้ ถ้ามีอาการที่ผิดปกติ
ต้องบอกว่าเหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป แต่เคสคนไข้ที่มีอายุน้อยก็สามารถตรวจได้ ถ้ามีอาการที่ผิดปกติ
เพราะมะเร็งเต้านม อาจจะเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว แต่ถ้าเป็นแล้วรู้ไว โอกาสรับมือกับโรคก็มีสูง
ที่สำคัญ สมัยนี้ ยังมีนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ช่วยให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ได้เหมือนเดิม..
ที่สำคัญ สมัยนี้ ยังมีนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ช่วยให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ได้เหมือนเดิม..
สอบถามเพิ่มเติม Line : https://lin.ee/PAqG9d4 หรือ เว็บไซต์ https://bit.ly/3bkRM4g
แผนที่โรงพยาบาล : https://goo.gl/maps/EjdDBBVdpB1iJZ7H9
แผนที่โรงพยาบาล : https://goo.gl/maps/EjdDBBVdpB1iJZ7H9
ขั้นตอนการตรวจแมมโมแกรม
1. Register ที่ CS ชั้น 1
2. ติดต่อ ศูนย์เต้านม ที่ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 4
พยาบาลดูแลชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง สัญญาณชีพ
1. Register ที่ CS ชั้น 1
2. ติดต่อ ศูนย์เต้านม ที่ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 4
พยาบาลดูแลชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง สัญญาณชีพ
3. ไป Check up ชั้น 6 ทำ Mammogram และ Ultrasound เต้านม (ใช้เวลาประมาณ 30 นาที)
4. กลับมาที่ ศูนย์เต้านม ที่ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 4 เพื่อพบแพทย์ เพื่อฟังผล
References
-สัมภาษณ์โดยตรงจาก รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา ศัลยแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็งเต้านม ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลวิมุต
-หนังสือนวัตกรรมงานบริการพยาธิวิทยาเพื่อการรักษาโรคมะเร็งเต้านมแบบองค์รวม จัดทำโดย รศ.พญ.สุพินดา คูณมี อาจารย์ประจำภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
-สัมภาษณ์โดยตรงจาก รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา ศัลยแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็งเต้านม ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลวิมุต
-หนังสือนวัตกรรมงานบริการพยาธิวิทยาเพื่อการรักษาโรคมะเร็งเต้านมแบบองค์รวม จัดทำโดย รศ.พญ.สุพินดา คูณมี อาจารย์ประจำภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น