Business
ย้อนรอย ความสำเร็จ ของนาดาว บางกอก
10 พ.ค. 2022
ย้อนรอย ความสำเร็จ ของนาดาว บางกอก /โดย ลงทุนเกิร์ล
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงนี้ทางเพจ นาดาว บางกอก ได้ออกจดหมายยุติบทบาท 12 ปี ของการเป็นบริษัทพัฒนาและดูแลศิลปิน รวมถึงเป็นผู้ผลิตซีรีส์ ละคร หรือผลงานเพลง โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้เป็นต้นไป
แม้ว่าเราจะได้ยินข่าวลือเรื่องการปิดตัวบริษัทมาสักพัก รวมถึงการตบเท้าออกจากบริษัทจากศิลปินในสังกัด
แต่เมื่อเกิดขึ้นจริง เชื่อว่าแฟนคลับหลาย ๆ คนก็ยังคงใจหายอยู่ดี..
แต่เมื่อเกิดขึ้นจริง เชื่อว่าแฟนคลับหลาย ๆ คนก็ยังคงใจหายอยู่ดี..
ซึ่งก่อนจะจากลากันนี้ เรามาย้อนรอยดูความสำเร็จของนาดาว บางกอกกันค่ะ
เรื่องราวของบริษัทนี้ มีความน่าสนใจอย่างไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
จุดเริ่มต้นของ นาดาว บางกอก เกิดขึ้นเมื่อปี 2552 โดยเป็นบริษัทในเครือของ GDH รับหน้าที่ดูแลศิลปิน และได้คุณย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์ ผู้กำกับมากความสามารถ มานั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท
ด้วยความที่เป็นบริษัทเปิดใหม่ ทีมงานจึงมีเพียงแค่ 7-8 คน ทำให้เวลามีโปรเจกต์ขึ้นมาแต่ละครั้ง ก็ต้องใช้คนทั้งออฟฟิศเพื่อไปทำ ไม่สามารถแบ่งทีมงานออกเป็นหลายส่วน เพื่อไปรับงานจากหลายที่ได้
ที่ผ่านมา นาดาว บางกอก จึงทำเพียงผลิตผลงานให้กับบริษัทแม่ และค่ายอื่น ๆ
รวมถึงจัดการบริหารตารางงานอิเวนต์ หรือพรีเซนเตอร์ของศิลปินในสังกัดเท่านั้น
รวมถึงจัดการบริหารตารางงานอิเวนต์ หรือพรีเซนเตอร์ของศิลปินในสังกัดเท่านั้น
อย่างไรก็ตามจุดพลิกผันครั้งสำคัญของนาดาว บางกอกก็มาถึง เนื่องจากบริษัทต้องการต่อยอดความสามารถของศิลปินที่ตนดูแล
ประกอบกับความสามารถในการผลิตสื่อคอนเทนต์ที่มีอยู่ โปรเจกต์ซีรีส์ Hormones วัยว้าวุ่น จึงได้เริ่มต้นขึ้น และได้ออนแอร์เป็นตอนแรกในปี 2556
Hormones กลายเป็นซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และชื่อของนาดาว บางกอก ก็ได้กลายเป็นกระแสโด่งดังบนโลกออนไลน์ ทำให้หลังจากซีรีส์จบลง ก็ได้รับการติดต่อจากสปอนเซอร์ จนสามารถถ่ายทำต่อไปได้อีก 3 ซีซัน
ซึ่งผลงานชิ้นนี้ไม่เพียงสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับบริษัท แต่ยังเป็นการแจ้งเกิดของศิลปินในค่ายนาดาว บางกอก อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ได้จุดประกายให้นาดาว บางกอก ผลิต “ออริจินัลคอนเทนต์” ของตัวเองต่อมาเรื่อย ๆ
แรก ๆ กลุ่มเป้าหมายของนาดาว บางกอก คือ กลุ่มวัยรุ่น ต่อมาบริษัทต้องการขยายกลุ่มผู้ชม จึงได้ผลิตละคร “เลือดข้นคนจาง” ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย โดยร่วมทุนกับบริษัท 4Nologue
ซึ่งผลตอบรับก็ดีตามคาด เพราะละครเรื่องนี้เป็นกระแสอย่างมาก สร้างปรากฏการณ์วุ่นวายกันทั้งโซเชียลกับแฮชแทก #ใครฆ่าประเสริฐ
ที่สำคัญคือ นอกจากเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ชมกลุ่มเดิมแล้ว ยังสามารถจับตลาดในกลุ่มเจนเอ็กซ์ได้อีกด้วย โดยสามารถทำเรตติงเฉลี่ยไปกว่า 1.345% ซึ่งถือว่าสูงมากสำหรับละครที่ฉายทางทีวีดิจิทัล
อย่างไรก็ตาม ละครเรื่องนี้กลับเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้ว ทางนาดาว บางกอก และ 4Nologue วางแผนให้ละครเป็นเหมือนการเปิดตัว ของโปรเจกต์บอยแบนด์ 9x9 หรือ “ไนน์ บาย นาย”
ซึ่งต้องการปั้นสมาชิกทั้ง 9 คน ให้เป็นทั้งนักแสดงและนักร้อง
ซึ่งต้องการปั้นสมาชิกทั้ง 9 คน ให้เป็นทั้งนักแสดงและนักร้อง
ที่น่าสนใจคือ 9x9 เป็นโปรเจกต์อายุประมาณ 1 ปี แต่ก็ได้รับผลตอบรับดีเกินคาด จนถึงขั้นมีคนต้องการเข้าชมคอนเสิร์ตปิดโปรเจกต์มากเกือบแสนคน
ต่อมาในปี 2562 นาดาว บางกอก ได้เปิดตัวซีรีส์ “MY AMBULANCE รักฉุดใจนายฉุกเฉิน” โดยมีศิลปินในสังกัดอย่าง ไอซ์-พาริส และ แพรวา-ณิชาภัทร มาร้องเพลง “รักติดไซเรน” ซึ่งเป็นเพลงประกอบซีรีส์ และกลายเป็นเพลงฮิตติดหูอยู่ช่วงหนึ่งเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่า นาดาว บางกอก กำลังค่อย ๆ ก้าวเข้าสู่ธุรกิจเพลง และในที่สุดก็มีการตั้ง “นาดาว มิวสิค” ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ในปี 2562 โดยได้คุณเบล-สุพล พัวศิริรักษ์ มาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท
ซึ่งนั่นก็ทำให้นาดาว บางกอกมีผลงานเพลง, อิเวนต์, คอนเสิร์ต, แฟนมีตติง และงานโฆษณา เพิ่มขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ
เช่น งานแฟนมีตติงที่ต่อยอดจากเรื่อง “แปลรักฉันด้วยใจเธอ” ซึ่งได้นักแสดงมาร้องเพลงประกอบละครเอง หรือเพลง “ดี๊ดี (UNEXPECTED)” ในแคมเปญสินค้าใหม่ของ NESCAFÉ ที่มีคุณไอซ์-พาริส และคุณเจเจ-กฤษณภูมิ ไปร่วมร้อง
และล่าสุดนาดาว บางกอก ยังเริ่มขยายฐานแฟนคลับสู่ต่างประเทศอีกด้วย
เรียกได้ว่าทิศทางธุรกิจของบริษัท ก็เหมือนจะเป็นไปในทิศทางที่ดีไม่น้อย
เรียกได้ว่าทิศทางธุรกิจของบริษัท ก็เหมือนจะเป็นไปในทิศทางที่ดีไม่น้อย
อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 รายได้ของนาดาว บางกอก กลับมีผลประกอบการที่ลดลง และนี่จึงอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่บริษัทประกาศยุติบทบาทลง
ผลประกอบการบริษัท นาดาว บางกอก จำกัด
ปี 2561 รายได้ 246 ล้านบาท กำไร 21 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 392 ล้านบาท กำไร 40 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 313 ล้านบาท กำไร 29 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 392 ล้านบาท กำไร 40 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 313 ล้านบาท กำไร 29 ล้านบาท
แต่เมื่อจะไม่มีบริษัทที่ชื่อว่านาดาว บางกอกอีกต่อไป
อาจมีบางคนสงสัยว่า แล้วงานที่ยังค้างไว้ จะเป็นอย่างไรต่อ
อาจมีบางคนสงสัยว่า แล้วงานที่ยังค้างไว้ จะเป็นอย่างไรต่อ
เรื่องนี้ทางบริษัทได้แจ้งว่า ผลงานซีรีส์ จะถูกส่งต่อไปยังโปรดิวเซอร์ หรือผู้กำกับ ให้ไปทำต่อบนการตัดสินใจของพวกเขาเอง ส่วนงานเพลง จะดำเนินต่อไปในนามของศิลปิน จนกว่าแต่ละคนจะถูกพาไปแนะนำในสายงานที่สนใจต่อไป..