เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน K PLUS shop จะช่วยพาให้ธุรกิจรอดได้อย่างไร
Business

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน K PLUS shop จะช่วยพาให้ธุรกิจรอดได้อย่างไร

11 ก.พ. 2022
K PLUS shop x ลงทุนเกิร์ล
รู้หรือไม่ ในแต่ละปี ประเทศไทย จะมี SME ที่ปิดกิจการไปเป็นจำนวนนับหมื่นราย
ปี 2562 ปิดกิจการ 22,332 ราย
ปี 2563 ปิดกิจการ 33,370 ราย
10 เดือนแรกของปี 2564 ปิดกิจการ 8,749 ราย แต่โดยปกติแล้ว ตัวเลขมักจะสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในช่วงเดือนท้าย ๆ ของปี
แน่นอนว่า ถ้าเราไม่ต้องการเป็นหนึ่งในธุรกิจที่กำลังจะปิดตัว ก็ต้อง “ปรับตัว”
และถ้าถามว่าจะปรับตัวอย่างไร สำหรับในยุคนี้ หนึ่งในคำตอบแรก ๆ ที่เกิดขึ้น คงจะเป็น “การเข้าสู่โลกออนไลน์”
ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด โดยเฉพาะจากสถานการณ์โรคระบาด ที่บังคับให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมเข้าสู่โลกออนไลน์เร็วขึ้น
ประกอบกับปัจจัยด้านห่วงโซ่อุปทาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดส่งสินค้า รวมถึงช่องทางการชำระเงิน ที่สะดวกและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคมากขึ้น
โดยในปี 2564 ขนาดตลาดอีคอมเมิร์ซไทย อยู่ที่ประมาณ 3 แสนล้านบาท เติบโตจากปีก่อน 30% เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจนี้ แลกมาด้วย “การแข่งขัน” อันดุเดือดเช่นกัน
ที่สำคัญ การหลอกลวง ผ่านธุรกรรมออนไลน์ ก็ดูเหมือนจะพบเห็นได้บ่อยอีกด้วย
และแม้ว่า การเปิดร้านบนโลกออนไลน์ จะดูเหมือนไม่ได้มีต้นทุนอะไรมากมาย แต่ความจริงแล้ว ต้องเตรียมตัว เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าไม่น้อย
เช่น กรณีที่มีลูกค้าต่างชาติ หรือลูกค้าที่ต้องการชำระด้วยบัตรเครดิต แต่เรากลับไม่มีระบบที่จะรองรับการชำระเงินลักษณะนี้ ก็อาจทำให้เสียโอกาสในการขายสินค้าได้
หรือในเรื่องการจัดการสถานะของลูกค้าแต่ละคน ถ้าขายดีก็อาจจะทำให้ส่งสินค้าแบบตกหล่น และยังมีในกรณีที่ลูกค้าแจ้งขอคืนเงินอีก วุ่นวายไปหมด
พอเรื่องเป็นแบบนี้ วันนี้ลงทุนเกิร์ลจึงจะมาแนะนำ K PLUS shop ตัวช่วยจัดการร้านค้าออนไลน์ รวมถึงคนที่มีหน้าร้านอยู่แล้ว และต้องการจะขยายมาสู่โลกออนไลน์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าด้วย
แล้ว K PLUS shop จะเข้ามาช่วยเราทำธุรกิจอย่างไร ?
ถ้าอธิบายง่าย ๆ เราอาจมองว่า K PLUS shop เป็นแอปพลิเคชันสำหรับรับชำระเงิน แต่จริง ๆ แล้วความสามารถของแอปพลิเคชันนี้ ยังเป็นผู้ช่วยที่รู้ใจธุรกิจมากกว่านั้น
เริ่มจากฟีเจอร์หลักอย่าง “การรับชำระเงิน”
K PLUS shop ก็รองรับการชำระเงินได้เกือบทุกรูปแบบเลยทีเดียว
สามารถสร้าง QR Code เพียงอันเดียวก็รองรับการจ่ายเงินทุกธนาคาร รวมถึงจ่ายด้วยบัตรเครดิต/เดบิต
ซึ่งตรงนี้คงตอบโจทย์ร้านออนไลน์ได้เป็นอย่างดี เพราะน่าจะเคยเจอลูกค้าถามว่ารับบัตรเครดิตหรือไม่ ดังนั้น K PLUS shop จึงเข้ามาแก้ Pain Point ในจุดนี้ได้
นอกจากนี้ยังสามารถรับชำระด้วย E-wallet อย่าง Alipay และ WeChat Pay เพิ่มโอกาสในการขายให้ร้านที่รับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อีกทาง เนื่องจากตอนนี้เราเริ้มกลับมาเปิดประเทศแล้ว หากต้องการให้ธุรกิจเติบโต เราก็ต้องอำนวยความสะดวกลูกค้ากลุ่มนี้ด้วย
ไม่หมดเพียงแค่นั้นเพราะ K PLUS shop ยังรองรับการชำระด้วย K Point ที่ลูกค้าใช้จ่ายแทนเงินสดได้ ซึ่งฟีเจอร์นี้น่าจะถูกใจลูกค้าที่ชอบเบิร์นพอยต์แน่ ๆ ยิ่งทำให้ร้านที่ใช้ K PLUS shop เพิ่มความยืดหยุ่นและตัวเลือกให้ลูกค้าอย่างหลากหลาย
ทั้งหมดนี้ เรียกได้ว่าตอบโจทย์สังคมไร้เงินสด ที่นับวันคนจะพกเงินสดกันน้อยลงเรื่อย ๆ ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ลูกค้ายังมีความกังวล และยังต้องการลดการสัมผัส ให้ได้มากที่สุด
ซึ่งเมื่อเงินเข้า ก็ไม่ต้องคอยมานั่งเช็กว่าลูกค้าส่งสลิปมาให้หรือยัง หรือสลิปที่ได้มาเป็นของจริงหรือไม่
เพราะ K PLUS shop มี “เสียงแจ้งเตือน” เงินเข้าแบบเรียลไทม์ เป็นเสียงพูดจำนวนเงินที่โอนเข้ามา เช่น 300 บาท 1,000 บาท ซึ่งถ้ากดเข้าไปในแอปพลิเคชัน ก็จะแสดงเลยว่า เงินที่เข้ามาจากลูกค้าคนไหน และธนาคารใดบ้าง
เวลาอยาก “ปิดยอด” เพื่อโอนเงินเข้าบัญชี ก็สามารถทำได้ทันที ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องรอจนถึงสิ้นวัน หรือมีเครดิตเทอมแบบแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอื่น
ที่สำคัญ การทำธุรกิจให้ไปรอดนั้น ต้องคิดเผื่ออนาคต
ซึ่งปัจจุบันเราคงเคยได้ยินคนที่บอกให้นำ “ข้อมูล” มาวิเคราะห์ต่อยอด แต่จะให้ทำจริงอาจเริ่มต้นไม่ถูก
ดังนั้น ภายใน K PLUS shop จึงมีสรุปข้อมูลการขายเอาไว้ให้ ทั้งแบบรายชั่วโมง รายวัน หรือรายเดือน รวมถึงประเภทสินค้าไหนที่ขายดี สาขาใดลูกค้ามาใช้บริการบ่อย หรือแม้กระทั่งสัดส่วนระหว่างลูกค้าประจำและลูกค้าจร สามารถส่งเข้าอีเมล ในรูปแบบ File PDF หรือ Excel เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ต่อได้ง่าย
เจ้าของธุรกิจ สามารถนำข้อมูลส่วนนี้มาวางแผนจัดการต่อได้ เช่น การบริหารสต็อกสินค้าให้เพียงพอ การจัดโปรโมชันเพิ่มยอดขาย หรือการออกโปรแกรมรอยัลตี เพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ
ซึ่ง K PLUS shop ก็มีฟีเจอร์สำหรับ “การทำโปรโมชันและการสะสมแสตมป์” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ร้านค้าเช่นกัน
นอกจากนั้น ทางร้านยังสามารถ “จัดการสถานะของลูกค้า” ได้ทั้งหมดภายในแอปพลิเคชัน ดูได้ตั้งแต่การรับชำระเงิน การจัดส่งสินค้าที่จัดการได้เลย ไปจนถึงการคืนเงิน หากเกิดความผิดพลาด
และในกรณีที่มองไกลถึงการขยายธุรกิจ เราก็ยังสามารถใช้ข้อมูลจาก K PLUS shop มาประกอบการขอสินเชื่อได้ ลดความยุ่งยากในการรวบรวมเอกสาร เพราะมีข้อมูลการขาย และข้อมูลเงินเข้าออกบัญชีธนาคารอยู่แล้ว จึงเพิ่มโอกาสในการอนุมัติ ซึ่ง KBank เองก็มีสินเชื่อเพื่อร้านออนไลน์โดยเฉพาะด้วย ตอบโจทย์โดนใจร้านค้าออนไลน์ไปเต็มๆ
เรียกได้ว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ “ครบเครื่อง” และเข้ามาช่วยธุรกิจที่อยากปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างแท้จริง
ซึ่งหากใครอ่านแล้วสนใจ ขั้นตอนการสมัครก็ไม่ยากเลย แค่ดาวน์โหลด K PLUS shop และกดสมัครในแอปพลิเคชัน โดยลงทะเบียนยืนยันตัวตนผ่าน K PLUS
ไม่มีทั้งค่าธรรมเนียมแรกเข้า หรือค่าธรรมเนียมรายปี ส่วนค่าธรรมเนียมในการรับชำระส่วนใหญ่ก็ฟรีเช่นเดียวกัน และตอนนี้มีโปรโมชันพิเศษ ลดค่าธรรมเนียมรับชำระผ่าน QR บัตรเครดิตเหลือเพียง 1% เท่านั้น
สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://kbank.co/31wQQV8
References:
-รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
-ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
© 2024 Longtungirl. All rights reserved. Privacy Policy.