Business
เปิดแนวคิด หญิงไทยอายุ 28 ที่ปลุกปั้นยูนิคอร์น ในอินโดนีเซีย
2 พ.ย. 2021
เปิดแนวคิด หญิงไทยอายุ 28 ที่ปลุกปั้นยูนิคอร์น ในอินโดนีเซีย /โดย ลงทุนเกิร์ล
ล่าสุด Ajaib แพลตฟอร์มซื้อขายหุ้นออนไลน์ ได้รับการประเมินว่ามีมูลค่ากว่า 33,000 ล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นยูนิคอร์นตัวล่าสุดของประเทศอินโดนีเซีย
โดยความน่าสนใจของเรื่องนี้มันอยู่ที่ว่า หนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ มีสาวไทย ที่ปัจจุบันอายุเพียง 28 ปีเท่านั้น อยู่ด้วย
เธอเป็นใคร และกลายไปเป็นส่วนสำคัญในยูนิคอร์นอินโดนีเซียได้อย่างไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
คุณญาดา ปิยะจอมขวัญ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Ajaib และปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น CPO หรือหัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท
Ajaib คือสตาร์ตอัปโบรกเกอร์ออนไลน์ เพิ่งก่อตั้งในปี 2019 ที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยสองเพื่อนร่วมชั้นจากสแตนฟอร์ด คุณ Anderson Sumarli และคุณญาดา ปิยะจอมขวัญ
โดย Ajaib แปลว่า เวทมนตร์หรือความมหัศจรรย์ ซึ่งก็เป็นความตั้งใจของทั้งคู่ ที่ต้องการจะสร้างประสบการณ์การลงทุน ให้เป็นเรื่องที่ง่ายและน่าตื่นเต้น แทนที่จะเป็นสิ่งที่เครียด
ทั้งจริง ๆ แล้ว คุณญาดา ไม่ได้มีความรู้ด้านการเขียนโคด หรือแม้แต่ประสบการณ์การทำงานด้านการเงินมาก่อน
เนื่องจากเมื่อเธอเรียนจบปริญญาตรีจากด้านการตลาด ก็ได้เข้าทำงานในสายงานที่ปรึกษา ก่อนจะมาศึกษาต่อปริญญาโทด้านการบริหารจัดการ หรือ MBA ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
นอกจากนั้น การก้าวเข้ามาสู่วงการสตาร์ตอัป ก็ไม่ใช่สิ่งที่คุณญาดาคิดฝันมาก่อนเลยด้วย
แต่ด้วยความที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จะโฟกัสเกี่ยวกับเรื่อง การเป็น “ผู้ประกอบการ”
ทำให้คุณญาดาได้รับการปลูกฝังมาว่า แม้การเป็นเจ้าของธุรกิจจะมีความเสี่ยง
แต่แทนที่จะ “กลัว” เราควรเอาเวลาเหล่านั้น มาหาวิธีลดความเสี่ยงดีกว่า
แต่แทนที่จะ “กลัว” เราควรเอาเวลาเหล่านั้น มาหาวิธีลดความเสี่ยงดีกว่า
อย่างเช่น ที่บางคนมักจะไม่กล้าระดมทุน เพราะกลัวจะเสียอำนาจการควบคุม ซึ่งจริง ๆ แล้วเราควรจะเอาเวลานั้น มาหานักลงทุนที่มีวิสัยทัศน์ที่ตรงกัน และเชื่อสิ่งเดียวกันแทน
เพราะมันจะช่วยทำให้เราสามารถโฟกัสในสิ่งที่อยากทำได้เต็มที่ ไม่ต้องทั้งลงแรง แถมยังต้องลงเงิน แล้วยังต้องแบกรับความเสี่ยงไปเสียทั้งหมด
ไม่เพียงเท่านั้น หลาย ๆ คลาสเรียน ยังมีการเชิญผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์ตอัปใหญ่ ๆ มาแชร์ประสบการณ์
ซึ่งพอคุณญาดาได้ฟังแล้ว ก็ทำให้มุมมองต่อคนเหล่านั้นเปลี่ยนไป
จากเดิมที่คิดว่า คนที่ปั้นสตาร์ตอัปจนสำเร็จ จะต้องเป็นคนอัจฉริยะ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อสิ่งนี้
จากเดิมที่คิดว่า คนที่ปั้นสตาร์ตอัปจนสำเร็จ จะต้องเป็นคนอัจฉริยะ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อสิ่งนี้
เพราะจริง ๆ แล้วพวกเขาก็เป็นเหมือนคนทั่วไป ที่เคยตัดสินใจผิดพลาด ล้มเหลว และท้อใจไม่ต่างกัน
แต่สิ่งที่มันต่างออกไปก็คือ ความเชื่อมั่นและความตั้งใจจริง นั่นเอง
แล้วทำไมคุณญาดา ถึงเลือกที่จะทำสตาร์ตอัปเกี่ยวกับธุรกิจการเงิน ?
เรื่องนี้เป็นเพราะ เธอและผู้ร่วมก่อตั้งอีกคน มาจากสายงานที่ปรึกษาเหมือนกัน
ทำให้ทั้งคู่พอเข้าใจภาพกว้างของแต่ละอุตสาหกรรม
ทำให้ทั้งคู่พอเข้าใจภาพกว้างของแต่ละอุตสาหกรรม
พวกเขาจึงเริ่มจากลองไล่แต่ละอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศในอาเซียน เนื่องจากบ้านเกิดของคนทั้งสอง ก็มาจากภูมิภาคนี้
ทำให้ได้พบว่า ภาคการเงินของอินโดนีเซีย ซึ่งมันแทบจะไม่มีการพัฒนามาถึง 2 ทศวรรษแล้ว
โดยเฉพาะเรื่องการลงทุน ก็ยังเป็นแบบดั้งเดิม ต้องเดินทางไปสาขาธนาคาร หรือติดต่อโบรกเกอร์ที่เป็นคน เน้นจับกลุ่มแต่คนที่มีสินทรัพย์จำนวนมาก
แต่คนทั่วไป กลับไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจ หรือเข้าถึงการลงทุน
ดังนั้น ทั้งสองจึงมองเรื่องนี้เป็นโอกาส และเลือกที่จะใช้ Ajaib มาเติมเต็มช่องว่างนี้
แต่ด้วยความที่เป็น “FinTech” ก็ทำให้ การปลุกปั้น มีความซับซ้อนกว่าธุรกิจประเภทอื่นอยู่บ้าง เพราะไม่ได้มีแค่ฝั่งดีมานด์และซัปพลาย แต่ยังต้องมีหน่วยงานกำกับดูแล เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย
และถ้ามองในกลุ่มคนที่ทำงานในสายสตาร์ตอัป ก็คงไม่ถูกกับเรื่องระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ มากนัก
อย่างไรก็ตาม คุณญาดากลับมองว่า Ajaib ก็ต้องอยู่ภายใต้การควบคุม ไม่ต่างจากโบรกเกอร์ทั่วไป ดังนั้นถ้าคนอื่นผ่านมาได้ เธอก็ต้องทำได้เช่นเดียวกัน
ที่น่าสนใจอีกเรื่องก็คือ มุมมองการจ้างงานของเธอ ก็ยังมีความผสมผสานระหว่างคนฝั่งเทคโนโลยี และคนที่ทำงานในสายการเงินแบบดั้งเดิม เพราะเชื่อว่าน่าจะมีความรู้และประสบการณ์ที่เรียนรู้กันได้
ซึ่งผ่านมาประมาณ 2 ปีครึ่ง ปัจจุบัน Ajaib ก็กลายเป็นบริษัทที่มีพนักงานกว่า 200 คนเป็นที่เรียบร้อย
แล้วรายได้ของ Ajaib มาจากไหน ?
อย่างที่ได้กล่าวไป Ajaib ก็เป็นโบรกเกอร์ เพียงแค่ทุกอย่างย้ายมาอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์เท่านั้น
แต่รายได้ ก็ยังมาจาก “ค่าธรรมเนียม” การซื้อขาย
แต่รายได้ ก็ยังมาจาก “ค่าธรรมเนียม” การซื้อขาย
ซึ่งแม้ว่า ค่าธรรมเนียม ของ Ajaib จะต่ำกว่าโบรกเกอร์เจ้าอื่นอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้มากนัก เพราะพวกเขาไม่ต้องการแข่งขันด้วยราคา โดยอยากจะโฟกัสกับประสบการณ์การใช้งานที่ง่ายมากกว่า
และพอพูดว่า “ง่าย” แล้ว ก็ต้องถึงระดับที่ คนไม่มีความรู้ด้านการลงทุนมาก่อน ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาแล้ว สามารถทดลองซื้อขายได้ทันที
ดังนั้น อย่างแรกจึงต้องโฟกัสที่ “ความสะดวก” ทำให้มีอุปสรรคการใช้งานน้อยที่สุด สามารถจัดการทุกอย่างผ่านออนไลน์ได้ และยังไม่กำหนดขั้นต่ำในการเปิดบัญชีหรือการซื้อขาย
เนื่องจากพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ จะชอบลองก่อน แล้วถ้าถูกใจแล้วถึงจะค่อย ๆ เพิ่มจำนวนเงิน
Ajaib จึงพยายามทำให้ทุกอย่างง่ายที่สุด สำหรับการซื้อขายครั้งแรก
Ajaib จึงพยายามทำให้ทุกอย่างง่ายที่สุด สำหรับการซื้อขายครั้งแรก
นอกจากนั้น Ajaib ก็ยังเน้นไปที่การให้ความรู้ผู้ใช้งานด้วย
โดยมีทั้งการไลฟ์ให้ความรู้ในตอนเช้า ระบบแช็ตกันภายในแอปพลิเคชัน สำหรับคนที่อยากติดตามข่าว รวมถึงเครื่องมือที่ครบถ้วน ทั้งบทวิเคราะห์ การวิเคราะห์กราฟ อัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ไปจนถึงการจัดอันดับในอุตสาหกรรม พร้อมคำอธิบายต่าง ๆ
เรียกได้ว่าเป็น One Stop Service สำหรับนักลงทุน ก็คงไม่ผิดนัก
ซึ่งปัจจุบัน หลังจากเปิดตัวแพลตฟอร์มประมาณปีกว่า ๆ ยอดคนเปิดบัญชีก็แตะ 1 ล้านราย เป็นที่เรียบร้อย
แต่คุณญาดาก็มองว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น และตลาดนี้ยังสามารถขยายไปได้อีกมาก
อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะเริ่มอยากรู้กันแล้วว่า คุณญาดา มีบทบาทอะไรใน Ajaib ?
อย่างที่บอกไปว่า เธอทำหน้าที่ CPO หรือหัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ ทั้งที่เธอก็ไม่ได้มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อนเลย
เรื่องนี้ก็เป็นเพราะ สำหรับธุรกิจให้บริการทางการเงิน สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ด้านการตลาด
แต่ต้องเป็น “ผลิตภัณฑ์” ที่มีความน่าเชื่อถือ เวลาลูกค้ามาลงทุนแล้วเงินไม่หาย
แต่ต้องเป็น “ผลิตภัณฑ์” ที่มีความน่าเชื่อถือ เวลาลูกค้ามาลงทุนแล้วเงินไม่หาย
ดังนั้น จึงให้หนึ่งในผู้ก่อตั้งมาดูแล ซึ่งก็คือคุณญาดานั่นเอง
ซึ่งแม้ว่าเธอจะไม่ได้ถึงขั้นต้องไปเขียนโคดเอง แต่ก็ต้องไปคุมทีมที่เขียนโคดอยู่ดี
ในช่วงนั้นเธอจึงคุยกับคนเยอะมาก ทั้งหาเมนเทอร์ ที่มีประสบการณ์โปรดักต์เมเนเจอร์มาก่อน รวมถึงฝ่ายวิศวกร เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการทำงานของพวกเขา
เพื่อที่จะได้สามารถจัดการหรือกำหนดทิศทางได้อย่างถูกต้อง
สุดท้ายนี้ คุณญาดา ก็ได้ฝากแนวคิดสำหรับ ผู้ประกอบการทุกคน
แม้วันนี้เราจะเห็นแต่ความสำเร็จของ Ajaib
แต่จริง ๆ แล้วการทำสตาร์ตอัป มีช่วงที่ล้มเหลว มากกว่า ช่วงความสำเร็จ
เพียงแค่ ความล้มเหลวเหล่านั้น ไม่ได้รับการนำเสนอ
แต่จริง ๆ แล้วการทำสตาร์ตอัป มีช่วงที่ล้มเหลว มากกว่า ช่วงความสำเร็จ
เพียงแค่ ความล้มเหลวเหล่านั้น ไม่ได้รับการนำเสนอ
ซึ่งถ้าหากย้อนเวลากลับไปได้ คุณญาดาก็ยังอยากคุยกับเมนเทอร์มากกว่านี้
เพราะโลกมันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อาศัยแค่ความรู้จากที่ร่ำเรียนมาไม่ได้
และการที่ได้พูดคุยกับผู้ที่มีประสบการณ์จริง ก็น่าจะช่วยให้เราเกิดความผิดพลาดน้อยลง..
เพราะโลกมันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อาศัยแค่ความรู้จากที่ร่ำเรียนมาไม่ได้
และการที่ได้พูดคุยกับผู้ที่มีประสบการณ์จริง ก็น่าจะช่วยให้เราเกิดความผิดพลาดน้อยลง..
Reference:
-บทสัมภาษณ์จาก คุณญาดา ปิยะจอมขวัญ
-บทสัมภาษณ์จาก คุณญาดา ปิยะจอมขวัญ