Economy
ประเทศญี่ปุ่นเริ่มสนับสนุน “ผู้ประกอบการหญิง” ให้มีบทบาทมากขึ้นในวงการธุรกิจ
25 ต.ค. 2021
<อัปเดต> ประเทศญี่ปุ่นเริ่มสนับสนุน “ผู้ประกอบการหญิง” ให้มีบทบาทมากขึ้นในวงการธุรกิจ
ล่าสุด ประเทศญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เริ่มโครงการสนับสนุนบทบาทของผู้ประกอบการหญิงมากขึ้น ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจพลังผู้หญิง (Womenomics)” เพื่อช่วยขับเคลื่อนสังคมผ่านความหลากหลาย และช่วยฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจผ่านมุมมองผู้ประกอบการหญิง
โดยที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่น นับเป็นอีกประเทศที่ “ผู้หญิง” ต้องเผชิญความท้าทายอย่างมากในการทำธุรกิจ
ซึ่งหากถามว่า บทบาทของผู้ประกอบการหญิงในญี่ปุ่นที่ผ่านมานั้น น้อยแค่ไหน ?
มีข้อมูลจากผลสำรวจของ Mastercard ปี 2020 เรื่องสภาพแวดล้อมการทำงานสำหรับผู้หญิง และการสนับสนุนเพื่อสร้างความก้าวหน้าในการเป็นผู้ประกอบการหญิง
โดยจากการประเมินทั้งหมด 58 ประเทศ พบว่าประเทศญี่ปุ่นอยู่อันดับที่ 47 เลยทีเดียว
เรียกได้ว่า อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่า ประเทศในเอเชียด้วยกัน อย่าง ประเทศไทย และไต้หวัน ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 11 และ 12 ตามลำดับ
ซึ่งดัชนีนี้สะท้อนถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น วัฒนธรรมเกี่ยวกับการยอมรับผู้ประกอบการหญิงที่เริ่มต้นธุรกิจ, เงื่อนไขในการสนับสนุนการสร้างธุรกิจ และการนำเสนอเรื่องราวของผู้หญิง ที่สามารถเป็นต้นแบบให้กับผู้ประกอบการอื่น
อย่างไรก็ตาม จากปัญหาดังกล่าว จึงทำให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้กันมากขึ้น เพื่อสร้างความหลากหลายที่มากขึ้น ในสังคมญี่ปุ่น
โดยมีหลาย ๆ บริษัท ที่แสดงความต้องการจะลงทุนในบริษัท ที่มีผู้หญิงเป็นผู้ก่อตั้ง
อย่าง Coly บริษัทเกมออนไลน์ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 ซึ่งจับกลุ่มผู้ใช้งานผู้หญิงเป็นหลัก รวมถึงยังมีพนักงานผู้หญิงมากกว่า 70% ของพนักงานทั้งหมด ก็ได้เปิดตัวโครงการที่จะให้เงินลงทุนหลายสิบล้านเยน เพื่อสนับสนุนกิจการที่มีผู้หญิงเป็นผู้ก่อตั้ง
ซึ่งถ้าถามว่า ทำไมบริษัท Coly จึงเลือกลงทุนในกิจการของผู้หญิงในญี่ปุ่น ?
ก็คงตอบได้ว่า เพราะบริษัท Coly ก่อตั้งโดย 2 หญิงสาวพี่น้องเช่นกัน
และด้วยความที่เธอทั้งคู่เป็นผู้หญิง ทำให้พวกเธอรับรู้ถึงความท้าทาย ในการเป็นผู้ประกอบการหญิงในประเทศญี่ปุ่น ได้เป็นอย่างดี
และด้วยความที่เธอทั้งคู่เป็นผู้หญิง ทำให้พวกเธอรับรู้ถึงความท้าทาย ในการเป็นผู้ประกอบการหญิงในประเทศญี่ปุ่น ได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ Coly วางแผนจะสนับสนุน 10 ธุรกิจที่มีผู้หญิงเป็นผู้ก่อตั้ง
ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องเงินทุนแล้ว ทางบริษัทยังจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการ, การฝึกอบรมพนักงาน รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมอีกด้วย
ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องเงินทุนแล้ว ทางบริษัทยังจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการ, การฝึกอบรมพนักงาน รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมอีกด้วย
นอกจาก Coly แล้ว ก็ยังมีบริษัทบริหารเงินทุนรายใหญ่อย่าง ANRI ที่ได้ประกาศในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ว่าจะเพิ่มสัดส่วนของการลงทุนไปยังบริษัทที่ “ผู้หญิงก่อตั้ง” ขึ้นเป็นมากกว่า 20% ของการลงทุน
รวมถึง MPower Partners Fund ซึ่งเป็นบริษัทบริหารเงินทุนที่ก่อตั้งโดยผู้หญิง 3 คน ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้เอง ก็ได้รับความสนใจในฐานะผู้สนับสนุนผู้ประกอบการหญิง เช่นกัน
โดยหนึ่งในผู้ก่อตั้ง คือคุณ Kathy Matsui อดีตรองประธานของ Goldman Sachs Japan
ที่เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนแนวคิด “เศรษฐกิจพลังผู้หญิง (Womenomics)” หรือแนวคิดที่ว่าการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของผู้หญิงมีส่วนสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมด้วย
ที่เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนแนวคิด “เศรษฐกิจพลังผู้หญิง (Womenomics)” หรือแนวคิดที่ว่าการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของผู้หญิงมีส่วนสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมด้วย
ซึ่งก็มีการคาดว่า เงินลงทุนของบริษัทนี้ จะเพิ่มขึ้นจนแตะ 16,000 ล้านเยน หรือประมาณ 4,635 ล้านบาท
หลังจากที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่ ๆ เช่น บริษัทประกันชีวิต ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม, สังคม และธรรมาภิบาล
หลังจากที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่ ๆ เช่น บริษัทประกันชีวิต ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม, สังคม และธรรมาภิบาล
นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของการสนับสนุน “Femtech” หรือบริษัทที่นำเสนอสินค้าและบริการ ที่ช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพของผู้หญิง ด้วยเทคโนโลยี
และไม่ใช่แค่บริษัทหรือองค์กรเอกชนเท่านั้นที่ออกมาสนับสนุนเรื่องนี้
เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นเอง ก็ออกมาแสดงความสนใจกับ “Femtech” เช่นกัน
ด้วยความหวังที่จะสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงให้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในสังคม
เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นเอง ก็ออกมาแสดงความสนใจกับ “Femtech” เช่นกัน
ด้วยความหวังที่จะสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงให้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในสังคม
โดยในปีนี้ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ได้จัดตั้งกองทุนสำหรับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ “Femtech” ซึ่งมี 20 กว่าโครงการ ที่ได้รับการสนับสนุน
อาทิ โครงการพัฒนาแผ่นบราแบบพิเศษสำหรับผู้หญิงที่ตรวจพบมะเร็งเต้านม,
บริการการแพทย์ทางไกลสำหรับผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก
และบริการให้คำปรึกษาทางนรีเวชสำหรับสตรีวัยทำงาน
บริการการแพทย์ทางไกลสำหรับผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก
และบริการให้คำปรึกษาทางนรีเวชสำหรับสตรีวัยทำงาน
ทั้งหมดนี้ ก็คือความเคลื่อนไหวดี ๆ ล่าสุดของประเทศญี่ปุ่น ต่อบทบาทของผู้ประกอบการหญิง
ซึ่งจริง ๆ แล้วหลายท่านอาจไม่ทราบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผู้หญิง ถูกจำกัดบทบาทในฐานะ “แม่บ้าน” พอสมควร แต่พอยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงไป ก็ทำให้ผู้หญิงมีบทบาทเพิ่มขึ้นในหลากหลายมิติ
ส่วนในประเทศไทยเอง นับว่าผู้หญิงมีบทบาทเพิ่มขึ้นสูงมากในวงการธุรกิจทุกวันนี้
โดยเราอาจเห็นได้จากธุรกิจใหญ่ ๆ ที่มีผู้หญิง เป็นผู้บริหาร เช่น คุณปลา Iberry, คุณเฟิร์น สุกี้ตี๋น้อย หรือคุณเป้ ชาตยา ประธานบริหารฟู้ดแพชชั่น เจ้าของบาร์บีคิว พลาซ่า เป็นต้น
โดยเราอาจเห็นได้จากธุรกิจใหญ่ ๆ ที่มีผู้หญิง เป็นผู้บริหาร เช่น คุณปลา Iberry, คุณเฟิร์น สุกี้ตี๋น้อย หรือคุณเป้ ชาตยา ประธานบริหารฟู้ดแพชชั่น เจ้าของบาร์บีคิว พลาซ่า เป็นต้น