Business
SHUND เฟอร์นิเจอร์ไม้สักสัญชาติไทย ที่ก่อตั้งโดยคู่รักวัย 24 ปี
26 ก.ค. 2021
SHUND เฟอร์นิเจอร์ไม้สักสัญชาติไทย ที่ก่อตั้งโดยคู่รักวัย 24 ปี /โดย ลงทุนเกิร์ล
“เฟอร์นิเจอร์ที่แม่ชอบ.. กับที่เราชอบ” วลีเด็ดที่มักเห็นตามโซเชียล
ทำไมเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกจริตของคนรุ่นก่อน ถึงได้มีแต่ “ไม้สักเคลือบมันเงา” ที่จะไม่ค่อยเข้ากับบ้านสไตล์โมเดิร์น ทั้งที่จริงแล้ว “ไม้สัก” เป็นของราคาสูง แถมยังทนทาน แต่กลับดูเชยในสายตาคนรุ่นใหม่
ทำไมเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกจริตของคนรุ่นก่อน ถึงได้มีแต่ “ไม้สักเคลือบมันเงา” ที่จะไม่ค่อยเข้ากับบ้านสไตล์โมเดิร์น ทั้งที่จริงแล้ว “ไม้สัก” เป็นของราคาสูง แถมยังทนทาน แต่กลับดูเชยในสายตาคนรุ่นใหม่
แต่ถ้าหากคุณได้มาเห็นเฟอร์นิเจอร์ไม้สักของ SHUND หรือ “ชุนด์” โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จากจังหวัดแพร่ ก็น่าจะทำให้ความคิดแบบเดิม ๆ หายไปทันที
เพราะ SHUND สามารถแปลงโฉมให้เฟอร์นิเจอร์ไม้สักสุดคลาสสิกของรุ่นคุณแม่ กลายมาเป็นไอเทมที่จะสร้างบรรยากาศให้บ้านราวกับเป็นโฮมคาเฟได้อย่างลงตัว
ซึ่งวันนี้ลงทุนเกิร์ลได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณเจตน์ สุขสกล หนึ่งในผู้ก่อตั้งร้าน SHUND ที่ไม่เพียงแต่เข้ามาเพิ่มมูลค่าให้ “ไม้สัก” แต่ยังเข้ามาส่งเสริม “ช่างฝีมือท้องถิ่น” ในจังหวัดแพร่อีกด้วย
แล้วร้าน SHUND เพิ่มมูลค่าให้ไม้สักได้อย่างไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
ร้าน SHUND คือร้านเฟอร์นิเจอร์งานคราฟต์จากจังหวัดแพร่ ก่อตั้งคุณเจตน์ สุขสกล และคุณสุจารี อินตา คู่รักรุ่นใหม่ในวัย 24 ปี ที่ดูเผิน ๆ เหมือนเป็นน้องใหม่ในวงการเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก เพราะร้านเพิ่งจะมีอายุครบ 1 ปีเมื่อไม่นาน
แต่หากพูดถึงความรู้เรื่องไม้สักของคุณเจตน์ เขากลับมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากเขาเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของ “เรือนชบาแก้ว” โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก จากจังหวัดแพร่ ที่เปิดตั้งแต่รุ่นทวด ทำให้เขาได้คลุกคลีอยู่กับไม้สักมาตั้งแต่เด็ก
ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีก่อน ในสมัยรุ่นคุณทวด เรือนชบาแก้วยังรับผลิตแค่งานไม้ชิ้นเล็ก ๆ อย่าง บานประตูและบานหน้าต่าง
ก่อนที่จะขยับขยายสู่การผลิตเรือนไม้สักขนาดใหญ่ เพื่อส่งให้กับรีสอร์ตและบังกะโล
นอกจากนี้ยังมีเฟอร์นิเจอร์ไม้สักชิ้นเล็ก ๆ ประปราย เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ และโซฟาที่มีสีแดงเข้มเคลือบมันเงา พร้อมกับการแกะสลักลวดลายที่เราเห็นกันจนชินตา
นอกจากนี้ยังมีเฟอร์นิเจอร์ไม้สักชิ้นเล็ก ๆ ประปราย เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ และโซฟาที่มีสีแดงเข้มเคลือบมันเงา พร้อมกับการแกะสลักลวดลายที่เราเห็นกันจนชินตา
แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป โรงงานไม้สักเก่าแก่นี้ก็ได้รับผลกระทบตามมา ทำให้เฟอร์นิเจอร์ไม้สักชิ้นเล็ก ๆ ของโรงงานผลิตน้อยลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสินค้าขายพ่วง แถมไปกับเรือนไม้ในราคาที่แทบจะไม่ได้กำไร
บวกกับภาวะเศรษฐกิจซบเซาจากวิกฤติโรคระบาด จึงส่งผลให้รีสอร์ตและโรงแรมต้องชะลอการสั่งสินค้า
และเรือนไทยที่เป็นสินค้าหลักของโรงงานก็ขายได้ยากขึ้นและถูกสั่งน้อยลงเรื่อย ๆ
และเรือนไทยที่เป็นสินค้าหลักของโรงงานก็ขายได้ยากขึ้นและถูกสั่งน้อยลงเรื่อย ๆ
แต่ก่อนที่สถานการณ์โรงงานเรือนชบาแก้วจะถึงขั้นวิกฤติ คุณเจตน์ผู้เป็นลูกหลานชาวไม้สัก จึงเริ่มหาหนทางที่จะกอบกู้ให้กิจการของที่บ้านอยู่รอด
โดยเริ่มจากวิเคราะห์ต้นตอของปัญหา และมองหาจุดด้อยของเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก
ซึ่งคำตอบของเรื่องนี้ก็คือ ไม้สักและทีมช่างฝีมือมักจะถูก “ลดคุณค่า”
ซึ่งคำตอบของเรื่องนี้ก็คือ ไม้สักและทีมช่างฝีมือมักจะถูก “ลดคุณค่า”
เนื่องจากโรงงานไม้สักยุคเก่าแข่งขันกันที่สินค้าราคาถูก และเน้นไปที่ปริมาณการผลิต มากกว่า “คุณภาพสินค้า”
ดังนั้น คนจึงนิยมเลือกซื้อไม้สักที่มีราคาถูก เพื่อลดต้นทุน และจ้างช่างที่ค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อเน้นการผลิตจำนวนครั้งละมาก ๆ โดยไม่ใส่ใจในงานฝีมือ รวมทั้งไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงการออกแบบ หรือประยุกต์เฟอร์นิเจอร์ให้เข้ากับยุคสมัย
แต่สำหรับคุณเจตน์กลับเห็นต่างออกไป จึงได้มุ่งมั่นที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับ “ไม้สัก” ของจังหวัดแพร่แทน
เมื่อเรื่องราวเป็นแบบนี้ SHUND ร้านเฟอร์นิเจอร์ไม้สักจากช่างฝีมือในท้องถิ่นจึงได้เริ่มต้นขึ้น
โดยคุณเจตน์เริ่มต้นจากลงพื้นที่ เพื่อพูดคุยกับช่างฝีมือตามท้องถิ่นในจังหวัดแพร่ ถึงไอเดียประยุกต์ให้เฟอร์นิเจอร์ไม้สักมีรูปร่างที่สวยงามและดูทันสมัยยิ่งขึ้น
และเขาก็ค้นพบว่าจริง ๆ แล้ว ไม้สักที่เราคุ้นตาในโทนสีส้มแดงเคลือบเงา สามารถประยุกต์ให้กลายเป็นไม้สักสีอ่อนที่มีสีเรียบเนียนเสมอกันทุกชิ้นได้
เพียงแต่โรงงานส่วนใหญ่มองว่าการประยุกต์สีไม้เป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลา ทำให้ช่างไม่เคยได้อวดฝีมือ
เพียงแต่โรงงานส่วนใหญ่มองว่าการประยุกต์สีไม้เป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลา ทำให้ช่างไม่เคยได้อวดฝีมือ
คุณเจตน์จึงได้เริ่มศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาโทนสีไม้สักอย่างจริงจัง ผ่านหลักสูตรออนไลน์จากต่างประเทศ ลองผิดลองถูกมานานกว่า 5 เดือน และในที่สุดผลงานเฟอร์นิเจอร์ไม้สักสีอ่อนตัวแรกของทางร้านก็คลอดออกมา
ถึงแม้ว่าในตอนแรกทายาทรุ่นก่อน จะไม่เห็นด้วยกับความคิดของคุณเจตน์ แต่เขาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าความคิดของเขามาถูกทาง เพราะยอดสั่งซื้อสินค้าก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
จากเดิมที่มีออร์เดอร์วันละ 2 ชิ้น กลายเป็น 200 ชิ้นต่อเดือน
ซึ่งการพัฒนาสีไม้สักนี่เอง ที่สามารถลบข้อด้อยของลายไม้สัก ซึ่งไม่สม่ำเสมอเวลาประกอบชิ้นงาน
รวมทั้งยังสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น ทั้งตามบ้าน คาเฟ และร้านอาหาร เนื่องจากมีสีสันให้เลือกหลายเฉดสี โดยปัจจุบันทางร้านสามารถผสมสีได้มากกว่า 9 เฉดสี และสีเฉพาะของทางร้าน อย่างสี Icy Wood ก็ใช้เวลาพัฒนานานถึง 1 ปีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนสีไม้สักอย่างเดียว ก็คงไม่สามารถดึงดูดลูกค้าได้มากขนาดนี้
เรามาดูกันว่าร้าน SHUND ยังมีองค์ประกอบอะไรอีกบ้าง ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก
เรามาดูกันว่าร้าน SHUND ยังมีองค์ประกอบอะไรอีกบ้าง ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก
อันดับแรก คัดสรรไม้สักที่มีคุณภาพ
ก่อนอื่นเรามาดูเกร็ดความรู้เล็ก ๆ ของไม้สักกันค่ะ ซึ่งไม้สักที่ดีควรเป็นไม้ที่แห้งและไม่นำความชื้น
รวมทั้งไม่ควรเป็น “กระพี้” หรือไม้สักที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เนื่องจากมันจะคลายความชื้นและทำให้ไม้บวมได้
รวมทั้งไม่ควรเป็น “กระพี้” หรือไม้สักที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เนื่องจากมันจะคลายความชื้นและทำให้ไม้บวมได้
โดยงานของร้าน SHUND มี 2 ประเภทคือ “ไม้สักเก่า” และ “ไม้สักแก่”
ไม้สักเก่า คือไม้ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ทำให้ไม้มีคุณสมบัติคลายความชื้นจนหมดแล้ว
ซึ่งได้มาจากการประมูลบ้านเรือนไทยที่จะถูกรื้อถอน โดยทางร้านก็จะเลือกประมูลไม้สักที่มีคุณภาพดีที่สุดไม้สักแก่ที่ไม่ผ่านการใช้งานมาก่อน แต่จะเป็นไม้สักที่คุณภาพสูงและอายุเยอะมากพอ จนไม่มีความชื้นหลงเหลืออยู่
ซึ่งได้มาจากการประมูลบ้านเรือนไทยที่จะถูกรื้อถอน โดยทางร้านก็จะเลือกประมูลไม้สักที่มีคุณภาพดีที่สุดไม้สักแก่ที่ไม่ผ่านการใช้งานมาก่อน แต่จะเป็นไม้สักที่คุณภาพสูงและอายุเยอะมากพอ จนไม่มีความชื้นหลงเหลืออยู่
ซึ่งทรัพยากรทั้งหมดที่กล่าวมามีต้นทุนที่สูงมาก แต่คุณเจตน์ก็เลือกที่จะไม่ลดต้นทุนเพื่อป้องกันปัญหาตอนผู้ซื้อใช้งานในระยะยาว
ลำดับต่อมา คือ ให้ความสำคัญกับ “ช่างฝีมือผู้ชำนาญการ”
นอกจากร้าน SHUND จะขายสินค้าที่ทางร้านออกแบบเองแล้ว ลูกค้ายังสามารถออกแบบสินค้าเองได้ ซึ่งจะถูกผลิตชิ้นต่อชิ้นโดยช่างฝีมือที่มีความชำนาญ ทำให้สินค้ามีความประณีต ละเอียดอ่อน และไม่เหมือนใคร
และสิ่งที่พิเศษก็คือ ทีมงานทั้งหมดในโรงงาน เป็นคนในชุมชนจังหวัดแพร่ ตั้งแต่ทีมช่าง บรรจุสินค้า ขนของ ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า
มากไปกว่านั้นคุณเจตน์ยังได้ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารคนอีกด้วย จากเดิมที่ช่างฝีมือส่วนใหญ่ถูกกดราคา และกดดันระยะเวลาการทำงาน ทำให้ผลิตงานออกมาได้คุณภาพไม่ดีนัก
คุณเจตน์จึงเปลี่ยนให้ช่างเป็นผู้ประเมินราคาและระยะเวลาการทำงานด้วยตนเอง โดยไม่เข้าไปแทรกแซงวิธีการทำงาน
ซึ่งวิธีนี้ยังถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการกระจายรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย เพราะช่างก็กระจายงานต่อกันเองเป็นทอด ๆ ทำให้ชุมชนสามารถกระจายรายได้เป็นเหมือนใยแมงมุม
ประเด็นสุดท้ายคือ สื่อสารกับลูกค้าอย่าง “ซื่อสัตย์”
การขายเฟอร์นิเจอร์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากลูกค้าบางคนอยากสัมผัสและเห็นสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า
ซึ่งสำหรับร้าน SHUND แล้ว กลับมีลูกค้าจากกรุงเทพฯ ชลบุรี และอยุธยา ที่แวะเวียนมาสั่งสินค้าอยู่ไม่ขาดสาย
และที่เป็นแบบนั้นได้ก็เพราะทางร้านให้ข้อมูลลูกค้าอย่างจริงใจเสมอ ซึ่งรูปเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นจะไม่ผ่านการแต่งรูป โดยถ่ายผ่านกล้องไอโฟนในแสงธรรมชาติ ทำให้ลูกค้าไม่ต้องมาคอยลุ้นว่าสินค้าจะตรงปกหรือไม่
นอกจากนั้นยังคอยแทรกคอนเทนต์เชิงให้ความรู้ การดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์เสมอ ๆ
รวมทั้งยังคอยให้คำแนะนำลูกค้าตามความจริง หากการออกแบบไหนไม่สามารถผลิตได้ หรือหากผลิตออกมาแล้วจะมีผลเสียในระยะยาว ทางร้านก็เลือกที่จะไม่ทำตั้งแต่ต้น
ซึ่งรายละเอียดเล็ก ๆ อย่างการไม่ลดคุณภาพ รักษามาตรฐาน และใส่ใจลูกค้านี่เอง ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจ และตัดสินใจซื้อสินค้า แม้จะไม่เคยสัมผัสของจริงมาก่อน
อ่านมาถึงตรงนี้ การเพิ่มมูลค่าให้ไม้สักและช่างในชุมชน ไม่ได้เพียงแต่สร้างความภูมิใจให้กับคนในจังหวัดแพร่เท่านั้น แต่ยังส่งพลังและเป็นคุณค่าทางจิตใจของผู้ที่ได้รับสินค้าอีกด้วย
ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมร้าน SHUND ที่ก่อตั้งมาเพียงแค่ 1 ปี แต่กลับสามารถรักษาฐานลูกค้า
และยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาเรื่อย ๆ ในช่วงที่โควิด 19 กำลังระบาด
และยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาเรื่อย ๆ ในช่วงที่โควิด 19 กำลังระบาด
ท้ายที่สุดนี้ เจตนารมณ์ของ 2 ผู้ก่อตั้งก็ไม่ได้หยุดเพียงแค่การประยุกต์เฟอร์นิเจอร์ไม้สักเท่านั้น แต่ยังต้องการเป็นแรงกำลังเล็ก ๆ ในการทำให้จังหวัดแพร่มีตัวตน รวมถึงเป็นจังหวัดที่คน “ตั้งใจมาเที่ยว” ไม่ใช่เป็นจุดแวะพักเพื่อเป็นทางผ่าน
ไม่แน่ในอนาคตเราอาจจะได้ไปนั่งจิบกาแฟอยู่ในคาเฟ ที่รายล้อมไปด้วยเฟอร์นิเจอร์ SHUND และสินค้าชื่อดังของคนในชุมชนจังหวัดแพร่ตามความฝันของคุณเจตน์ก็เป็นได้..
Reference:
-สัมภาษณ์ตรงกับคุณเจตน์ สุขสกล ผู้ก่อตั้งร้าน SHUND
-สัมภาษณ์ตรงกับคุณเจตน์ สุขสกล ผู้ก่อตั้งร้าน SHUND