Business
โอกาสของ ธุรกิจงานศพสัตว์เลี้ยง กับมูลค่าตลาด 8.7 แสนล้านบาท
18 มิ.ย. 2021
โอกาสของ ธุรกิจงานศพสัตว์เลี้ยง กับมูลค่าตลาด 8.7 แสนล้านบาท /โดยลงทุนเกิร์ล
การจากลามีหลายรูปแบบ แต่ “การสูญเสีย” คงเป็นหนึ่งในการจากลาที่เจ็บปวดที่สุด
ถึงแม้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
และการ “จัดงานศพ” ก็คงเป็นสิ่งที่เราจะทำต่อไป เพื่อแสดงความระลึกถึง
แล้วถ้าหากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของเรา เราจะทำอย่างไร ?
วันนี้ลงทุนเกิร์ลจะแนะนำให้รู้จักธุรกิจจัดงานศพให้กับ “สัตว์เลี้ยง”
ที่สำคัญคือ ปัจจุบันตลาดนี้ทั่วโลกมีมูลค่าอยู่ที่ 8.7 แสนล้านบาท และถือเป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมาก
แล้วทำไมธุรกิจหลังความตายของสัตว์เลี้ยง จึงน่าสนใจ ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
เทรนด์การเลี้ยงสัตว์กำลังเป็นกระแสที่มาแรงมากในขณะนี้
โดยในปี 2020 ตลาดสัตว์เลี้ยงจากทั่วโลก มีมูลค่า 7 ล้านล้านบาท
และมีแนวโน้มที่จะโตขึ้นกว่า 40% เป็น 10 ล้านล้านบาท ภายในอีก 6 ปีข้างหน้า
ซึ่งสิ่งที่กระตุ้นเศรษฐกิจสัตว์เลี้ยง ก็คือ “เจ้าของ”
ที่ต้องการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างดี จนบางครั้งก็เทียบได้กับสมาชิกในครอบครัว
และนั่นก็ทำให้เกิดธุรกิจสินค้าและบริการสัตว์เลี้ยงระดับไฮคลาสต่าง ๆ มากมาย
เช่น บริการสปา การฝากเลี้ยงกับผู้เชี่ยวชาญ หรือแม้แต่อาหารที่ปรุงสดใหม่ และวิตามินเสริมต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะอยากปรนนิบัติสัตว์เลี้ยง ให้ได้ตลอดไป
แต่สัตว์เลี้ยงก็ไม่สามารถอยู่ยงคงกระพัน และเมื่อถึงวันที่ต้องจากลา
จึงกลายเป็นโอกาสให้อีกหนึ่งบริการเกิดขึ้น นั่นก็คือ “บริการหลังความตาย”
โดยบริการเหล่านี้ ก็เรียกได้ว่า “ครบวงจร” ไม่แพ้ธุรกิจงานศพทั่วไปเลย
เริ่มตั้งแต่บริการการจัดงานศพ จำหน่ายโลงศพและทำพิธีต่าง ๆ รวมถึงของที่ระลึก
ซึ่งค่าบริการก็จะแบ่งตามแพ็กเกจ และบางแพ็กเกจก็มีค่าใช้จ่ายสูงถึงหลักหมื่นบาทต่อครั้งเลยทีเดียว
แม้ว่าจะเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงพอตัว แต่หากเป็นสิ่งสุดท้ายที่เจ้าของสามารถทำได้ ก่อนการจากไปอย่างชั่วนิรันดร์ของสัตว์เลี้ยงแล้ว
สำหรับคนที่ดูแลพวกมันด้วยความรักและความผูกพัน นี่ก็คงเป็นราคาที่คุ้มค่า
ซึ่งจริง ๆ แล้ว บริการฌาปนกิจให้กับสัตว์เลี้ยงก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่
เพราะยังมีอีกหลายประเทศที่มีบริการเหล่านี้ รวมทั้งในประเทศไทยเองด้วย
แต่หนึ่งในประเทศที่สามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลจากธุรกิจนี้ก็คือ ออสเตรเลีย
เหตุผลส่วนหนึ่ง คือ ประเทศออสเตรเลียมีสัดส่วนคนเลี้ยงสัตว์มากที่สุดในโลก
โดยในปี 2019 ตัวเลขสัดส่วนนี้ สูงถึง 61%
และมียอดใช้จ่ายสินค้าและบริการสำหรับสัตว์เลี้ยง อยู่ที่ประมาณ 4 แสนล้านบาทต่อปี เลยทีเดียว
และยิ่งพอเกิดวิกฤติโรคระบาดขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้าน
จึงเริ่มหันมาซื้อสัตว์เลี้ยงอยู่เป็นเพื่อนยามเหงามากขึ้น
แปลว่าจำนวนของสัตว์เลี้ยง ก็น่าจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนั้นยังมีอีกหนึ่งตัวเลขที่น่าสนใจ คือ
20% ของผู้เลี้ยงสัตว์ที่เป็น Gen Y หรือกลุ่มคนที่มีอายุ 30-40 ปี ได้ซื้อประกันสำหรับสัตว์เลี้ยงไว้อีกด้วย
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงเป็นเหมือนโอกาสทางธุรกิจของเหล่าบริษัทประกัน
ให้เริ่มหันมาลงทุนกับธุรกิจสินค้าและบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงกันมากขึ้น
เห็นได้จากหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ ในตลาดหลักทรัพย์ของออสเตรเลีย (ASX)
ซึ่งทำธุรกิจประกัน หรือมีธุรกิจเสริมเป็นนายหน้าขายประกัน เช่น Coles, Medibank และ Woolworths
ที่นอกจากจะมีการขายประกันของสัตว์เลี้ยงแล้ว
ยังได้เพิ่มนโยบายครอบคลุมค่าบริการจัดงานศพและฌาปนกิจเข้าไปด้วย
ซึ่งผลจากเรื่องนี้ ก็น่าจะส่งผลให้ธุรกิจงานศพของสัตว์เลี้ยง เติบโตขึ้นไปด้วยเช่นกัน
และเมื่อมีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งโอกาสให้กับผู้ที่อยู่ในธุรกิจนี้อยู่แล้ว
อย่าง InvoCare บริษัทที่ให้บริการจัดงานศพ
ซึ่งให้บริการทั้งภายในประเทศออสเตรเลีย และต่างประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์
ก็ได้ตัดสินใจขยายธุรกิจ มาสู่การจัดงานศพสัตว์เลี้ยง ตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
และล่าสุดในปี 2020 บริษัท InvoCare ยังลงทุนเงินกว่า 1.6 พันล้านบาท
ในการเข้าซื้อบริษัท Pet in Peace และ Family Pet Care ไว้ในมือเพื่อขยายตลาด
โดยในปี 2020 ได้มีคนใช้บริการกับ Pet in Peace กว่า 15,000 งาน
และ Family Pet Care อีกกว่า 52,000 งาน
ทำให้รายได้ในส่วนของธุรกิจงานศพสัตว์เลี้ยง อยู่ที่ 110 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 141%
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันรายได้ในส่วนของธุรกิจงานศพสัตว์เลี้ยง
จะคิดเป็นเพียง 1% ของรายได้รวม InvoCare
แต่ก็ถือเป็นเพียงธุรกิจเดียวของบริษัท ที่มีการเติบโต
ในขณะที่ธุรกิจงานศพและฝังศพ ลดลง 26% และ 9% ตามลำดับ
เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด ทำให้มีข้อจำกัดในการรวมตัวของผู้คน
บริษัทจึงไม่สามารถจัดงานศพได้อย่างเคย ส่งผลให้รายได้ในส่วนนี้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
แต่สำหรับบริการฌาปนกิจสัตว์เลี้ยงนั้น สามารถจัดได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคนมางานจำนวนมาก
จึงทำให้บริษัท InvoCare มีรายได้ตรงส่วนนี้เข้ามาเสริม
อย่างไรก็ตามสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยงบางคน ที่ไม่สามารถทำใจปล่อยสัตว์เลี้ยงไป
หรือไม่สามารถจัดงานศพให้กับสัตว์เลี้ยงได้ ก็ยังมีอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจ
นั่นก็คือ “การสตัฟฟ์ซากสัตว์” หรือการคงสภาพซากสัตว์ไว้ให้เหมือนยังมีชีวิต
ซึ่งบริการนี้เริ่มเป็นที่นิยมมากในประเทศทางแถบตะวันตก
เพื่อที่จะรักษาสภาพสัตว์ที่เรารักให้คงอยู่ตลอดกาล
อย่าง Downunder Taxidermy Studio บริษัทสตัฟฟ์ซากสัตว์จากการล่า
ที่เปิดบริการมายาวนานกว่า 20 ปี ก็เริ่มสนใจที่จะลองตลาดสัตว์เลี้ยงบ้าง
โดยใช้เทคนิคการแช่แข็งซากสัตว์ ซึ่งสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวก็จะมีราคาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความยากง่าย
แต่ค่าบริการโดยรวม ก็อยู่ในอัตราที่สูงมากถึงหลักแสนบาท
ซึ่งแม้จะเปิดให้บริการมาได้ไม่นาน แต่รายได้ 30% ของบริษัทก็มาจากบริการนี้
และคาดว่าจะมีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของตลาด
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็คงเห็นแล้วว่าธุรกิจหลังความตายของสัตว์เลี้ยง
ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
ตามเทรนด์ของการมีสัตว์เลี้ยง ที่นอกจากจะมีแต่เพิ่มขึ้นแล้ว
ยังมีเทรนด์การเลี้ยงสัตว์แบบ Pet Parent หรือเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเหมือนลูก
ที่ทำให้เรายอมจ่าย เพื่อที่จะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับสัตว์เลี้ยงของเรา
ไม่ว่าจะเป็นเวลาไหน หรือแม้จะเป็นยามที่มันจากโลกนี้ไปแล้วก็ตาม..
References:
-https://funeraldirectordaily.com/australias-invocare-pays-us-36-4-million-for-pet-cremation-businesses/
-https://www.theguardian.com/lifeandstyle/2021/jan/04/funeral-for-fido-as-pet-ownership-levels-rise-so-does-the-end-of-life-care-business
-https://www.abc.net.au/news/2021-01-05/pet-industry-boom-australia-business/13009742
-https://www.downundertaxidermy.com/
-https://www.petangel.com.au/
-https://www.globenewswire.com/news-release/2021/06/01/2239215/0/en/Global-Pet-Market-Insights-Competition-and-Forecast-Report-2021-Market-was-Valued-at-223-54-Billion-in-2020-Forecast-to-2026.html
-https://deathcareindustry.com/how-the-pet-loss-industry-has-become-worth-billions/
-https://www.invocare.com.au/content/dam/invocare/invocare-corp/pdfs/investor-relations/annual-reports/InvoCare-AnnualReport2020-FINAL.pdf
ถึงแม้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
และการ “จัดงานศพ” ก็คงเป็นสิ่งที่เราจะทำต่อไป เพื่อแสดงความระลึกถึง
แล้วถ้าหากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของเรา เราจะทำอย่างไร ?
วันนี้ลงทุนเกิร์ลจะแนะนำให้รู้จักธุรกิจจัดงานศพให้กับ “สัตว์เลี้ยง”
ที่สำคัญคือ ปัจจุบันตลาดนี้ทั่วโลกมีมูลค่าอยู่ที่ 8.7 แสนล้านบาท และถือเป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมาก
แล้วทำไมธุรกิจหลังความตายของสัตว์เลี้ยง จึงน่าสนใจ ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
เทรนด์การเลี้ยงสัตว์กำลังเป็นกระแสที่มาแรงมากในขณะนี้
โดยในปี 2020 ตลาดสัตว์เลี้ยงจากทั่วโลก มีมูลค่า 7 ล้านล้านบาท
และมีแนวโน้มที่จะโตขึ้นกว่า 40% เป็น 10 ล้านล้านบาท ภายในอีก 6 ปีข้างหน้า
ซึ่งสิ่งที่กระตุ้นเศรษฐกิจสัตว์เลี้ยง ก็คือ “เจ้าของ”
ที่ต้องการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างดี จนบางครั้งก็เทียบได้กับสมาชิกในครอบครัว
และนั่นก็ทำให้เกิดธุรกิจสินค้าและบริการสัตว์เลี้ยงระดับไฮคลาสต่าง ๆ มากมาย
เช่น บริการสปา การฝากเลี้ยงกับผู้เชี่ยวชาญ หรือแม้แต่อาหารที่ปรุงสดใหม่ และวิตามินเสริมต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะอยากปรนนิบัติสัตว์เลี้ยง ให้ได้ตลอดไป
แต่สัตว์เลี้ยงก็ไม่สามารถอยู่ยงคงกระพัน และเมื่อถึงวันที่ต้องจากลา
จึงกลายเป็นโอกาสให้อีกหนึ่งบริการเกิดขึ้น นั่นก็คือ “บริการหลังความตาย”
โดยบริการเหล่านี้ ก็เรียกได้ว่า “ครบวงจร” ไม่แพ้ธุรกิจงานศพทั่วไปเลย
เริ่มตั้งแต่บริการการจัดงานศพ จำหน่ายโลงศพและทำพิธีต่าง ๆ รวมถึงของที่ระลึก
ซึ่งค่าบริการก็จะแบ่งตามแพ็กเกจ และบางแพ็กเกจก็มีค่าใช้จ่ายสูงถึงหลักหมื่นบาทต่อครั้งเลยทีเดียว
แม้ว่าจะเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงพอตัว แต่หากเป็นสิ่งสุดท้ายที่เจ้าของสามารถทำได้ ก่อนการจากไปอย่างชั่วนิรันดร์ของสัตว์เลี้ยงแล้ว
สำหรับคนที่ดูแลพวกมันด้วยความรักและความผูกพัน นี่ก็คงเป็นราคาที่คุ้มค่า
ซึ่งจริง ๆ แล้ว บริการฌาปนกิจให้กับสัตว์เลี้ยงก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่
เพราะยังมีอีกหลายประเทศที่มีบริการเหล่านี้ รวมทั้งในประเทศไทยเองด้วย
แต่หนึ่งในประเทศที่สามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลจากธุรกิจนี้ก็คือ ออสเตรเลีย
เหตุผลส่วนหนึ่ง คือ ประเทศออสเตรเลียมีสัดส่วนคนเลี้ยงสัตว์มากที่สุดในโลก
โดยในปี 2019 ตัวเลขสัดส่วนนี้ สูงถึง 61%
และมียอดใช้จ่ายสินค้าและบริการสำหรับสัตว์เลี้ยง อยู่ที่ประมาณ 4 แสนล้านบาทต่อปี เลยทีเดียว
และยิ่งพอเกิดวิกฤติโรคระบาดขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้าน
จึงเริ่มหันมาซื้อสัตว์เลี้ยงอยู่เป็นเพื่อนยามเหงามากขึ้น
แปลว่าจำนวนของสัตว์เลี้ยง ก็น่าจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนั้นยังมีอีกหนึ่งตัวเลขที่น่าสนใจ คือ
20% ของผู้เลี้ยงสัตว์ที่เป็น Gen Y หรือกลุ่มคนที่มีอายุ 30-40 ปี ได้ซื้อประกันสำหรับสัตว์เลี้ยงไว้อีกด้วย
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงเป็นเหมือนโอกาสทางธุรกิจของเหล่าบริษัทประกัน
ให้เริ่มหันมาลงทุนกับธุรกิจสินค้าและบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงกันมากขึ้น
เห็นได้จากหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ ในตลาดหลักทรัพย์ของออสเตรเลีย (ASX)
ซึ่งทำธุรกิจประกัน หรือมีธุรกิจเสริมเป็นนายหน้าขายประกัน เช่น Coles, Medibank และ Woolworths
ที่นอกจากจะมีการขายประกันของสัตว์เลี้ยงแล้ว
ยังได้เพิ่มนโยบายครอบคลุมค่าบริการจัดงานศพและฌาปนกิจเข้าไปด้วย
ซึ่งผลจากเรื่องนี้ ก็น่าจะส่งผลให้ธุรกิจงานศพของสัตว์เลี้ยง เติบโตขึ้นไปด้วยเช่นกัน
และเมื่อมีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งโอกาสให้กับผู้ที่อยู่ในธุรกิจนี้อยู่แล้ว
อย่าง InvoCare บริษัทที่ให้บริการจัดงานศพ
ซึ่งให้บริการทั้งภายในประเทศออสเตรเลีย และต่างประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์
ก็ได้ตัดสินใจขยายธุรกิจ มาสู่การจัดงานศพสัตว์เลี้ยง ตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
และล่าสุดในปี 2020 บริษัท InvoCare ยังลงทุนเงินกว่า 1.6 พันล้านบาท
ในการเข้าซื้อบริษัท Pet in Peace และ Family Pet Care ไว้ในมือเพื่อขยายตลาด
โดยในปี 2020 ได้มีคนใช้บริการกับ Pet in Peace กว่า 15,000 งาน
และ Family Pet Care อีกกว่า 52,000 งาน
ทำให้รายได้ในส่วนของธุรกิจงานศพสัตว์เลี้ยง อยู่ที่ 110 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 141%
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันรายได้ในส่วนของธุรกิจงานศพสัตว์เลี้ยง
จะคิดเป็นเพียง 1% ของรายได้รวม InvoCare
แต่ก็ถือเป็นเพียงธุรกิจเดียวของบริษัท ที่มีการเติบโต
ในขณะที่ธุรกิจงานศพและฝังศพ ลดลง 26% และ 9% ตามลำดับ
เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด ทำให้มีข้อจำกัดในการรวมตัวของผู้คน
บริษัทจึงไม่สามารถจัดงานศพได้อย่างเคย ส่งผลให้รายได้ในส่วนนี้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
แต่สำหรับบริการฌาปนกิจสัตว์เลี้ยงนั้น สามารถจัดได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคนมางานจำนวนมาก
จึงทำให้บริษัท InvoCare มีรายได้ตรงส่วนนี้เข้ามาเสริม
อย่างไรก็ตามสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยงบางคน ที่ไม่สามารถทำใจปล่อยสัตว์เลี้ยงไป
หรือไม่สามารถจัดงานศพให้กับสัตว์เลี้ยงได้ ก็ยังมีอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจ
นั่นก็คือ “การสตัฟฟ์ซากสัตว์” หรือการคงสภาพซากสัตว์ไว้ให้เหมือนยังมีชีวิต
ซึ่งบริการนี้เริ่มเป็นที่นิยมมากในประเทศทางแถบตะวันตก
เพื่อที่จะรักษาสภาพสัตว์ที่เรารักให้คงอยู่ตลอดกาล
อย่าง Downunder Taxidermy Studio บริษัทสตัฟฟ์ซากสัตว์จากการล่า
ที่เปิดบริการมายาวนานกว่า 20 ปี ก็เริ่มสนใจที่จะลองตลาดสัตว์เลี้ยงบ้าง
โดยใช้เทคนิคการแช่แข็งซากสัตว์ ซึ่งสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวก็จะมีราคาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความยากง่าย
แต่ค่าบริการโดยรวม ก็อยู่ในอัตราที่สูงมากถึงหลักแสนบาท
ซึ่งแม้จะเปิดให้บริการมาได้ไม่นาน แต่รายได้ 30% ของบริษัทก็มาจากบริการนี้
และคาดว่าจะมีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของตลาด
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็คงเห็นแล้วว่าธุรกิจหลังความตายของสัตว์เลี้ยง
ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
ตามเทรนด์ของการมีสัตว์เลี้ยง ที่นอกจากจะมีแต่เพิ่มขึ้นแล้ว
ยังมีเทรนด์การเลี้ยงสัตว์แบบ Pet Parent หรือเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเหมือนลูก
ที่ทำให้เรายอมจ่าย เพื่อที่จะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับสัตว์เลี้ยงของเรา
ไม่ว่าจะเป็นเวลาไหน หรือแม้จะเป็นยามที่มันจากโลกนี้ไปแล้วก็ตาม..
References:
-https://funeraldirectordaily.com/australias-invocare-pays-us-36-4-million-for-pet-cremation-businesses/
-https://www.theguardian.com/lifeandstyle/2021/jan/04/funeral-for-fido-as-pet-ownership-levels-rise-so-does-the-end-of-life-care-business
-https://www.abc.net.au/news/2021-01-05/pet-industry-boom-australia-business/13009742
-https://www.downundertaxidermy.com/
-https://www.petangel.com.au/
-https://www.globenewswire.com/news-release/2021/06/01/2239215/0/en/Global-Pet-Market-Insights-Competition-and-Forecast-Report-2021-Market-was-Valued-at-223-54-Billion-in-2020-Forecast-to-2026.html
-https://deathcareindustry.com/how-the-pet-loss-industry-has-become-worth-billions/
-https://www.invocare.com.au/content/dam/invocare/invocare-corp/pdfs/investor-relations/annual-reports/InvoCare-AnnualReport2020-FINAL.pdf