history
Wine Window วัฒนธรรมเก่าแก่กว่า 500 ปีของอิตาลี กำลังคืนชีพ
26 ธ.ค. 2020
Wine Window วัฒนธรรมเก่าแก่กว่า 500 ปีของอิตาลี กำลังคืนชีพ /โดย ลงทุนเกิร์ล
แม้ว่าการระบาดของโควิด 19 จะทำให้หลายงานต้องถูกยกเลิก
แต่วิกฤตินี้กลับทำให้วัฒนธรรมที่หายไปกว่า 3 ศตวรรษ ในอิตาลี ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง
นั่นก็คือ “Wine Window” หรือ การส่งไวน์ผ่านหน้าต่างบานเล็ก
แต่วิกฤตินี้กลับทำให้วัฒนธรรมที่หายไปกว่า 3 ศตวรรษ ในอิตาลี ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง
นั่นก็คือ “Wine Window” หรือ การส่งไวน์ผ่านหน้าต่างบานเล็ก
แล้วทำไมเขาต้องส่งไวน์ผ่านเจ้าหน้าต่างบานเล็กๆ นี้?
Wine Window คืออะไรและเกิดขึ้นมาเพื่ออะไร?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟังค่ะ
Wine Window คืออะไรและเกิดขึ้นมาเพื่ออะไร?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟังค่ะ
ย้อนกลับไปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยที่เมืองฟลอเรนซ์ ยังเป็นเมืองหลวงของอิตาลี
ตอนนั้นยุโรปกำลังอยู่ในช่วงยุคเรอเนสซองส์ หรือยุคแห่งการฟื้นฟูด้วยศิลปะ
ซึ่งคนอิตาลี ก็มีการนำศิลปะมาประยุกต์ฟื้นฟูบ้านเมืองที่ทรุดโทรม
ซึ่งคนอิตาลี ก็มีการนำศิลปะมาประยุกต์ฟื้นฟูบ้านเมืองที่ทรุดโทรม
แต่นอกเหนือจากการมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามแล้ว อิตาลียังเป็นศูนย์รวมทางการค้าขายของทวีปยุโรป
ทำให้ฟลอเรนซ์กลายเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้า
ที่มีพ่อค้าจากทั่วทุกมุมโลกแวะเวียนมาไม่ขาดสาย
ทำให้ฟลอเรนซ์กลายเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้า
ที่มีพ่อค้าจากทั่วทุกมุมโลกแวะเวียนมาไม่ขาดสาย
และด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้เมืองฟลอเรนซ์ ต้องประสบกับปัญหาโรคระบาดครั้งยิ่งใหญ่
นั่นก็คือโรค “กาฬโรค” หรือ “Black Death” ที่เคยส่งผลให้ผู้คนล้มตายกันเกือบครึ่งทวีปยุโรป
นั่นก็คือโรค “กาฬโรค” หรือ “Black Death” ที่เคยส่งผลให้ผู้คนล้มตายกันเกือบครึ่งทวีปยุโรป
การแพร่ระบาดของกาฬโรคนี้ สามารถติดต่อจากการไอจาม และการสัมผัส
ทำให้คนในยุคนั้นต้องมีมาตรการ “เว้นระยะห่าง” เหมือนในปัจจุบัน
ทำให้ “Buchette Del Vino” หรือ “Wine Window” เป็นที่พบเห็นได้ทั่วไป
ทำให้คนในยุคนั้นต้องมีมาตรการ “เว้นระยะห่าง” เหมือนในปัจจุบัน
ทำให้ “Buchette Del Vino” หรือ “Wine Window” เป็นที่พบเห็นได้ทั่วไป
Wine Window คือ รูบนกำแพงที่ถูกเจาะให้มีรูปร่างเหมือนหน้าต่างขนาดเล็ก
มีความสูงเพียง 30 เซนติเมตร และกว้างเพียง 20 เซนติเมตร
มีไว้สำหรับเป็นช่องทางซื้อขายไวน์ โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องสัมผัสโดนกันและกัน
มีความสูงเพียง 30 เซนติเมตร และกว้างเพียง 20 เซนติเมตร
มีไว้สำหรับเป็นช่องทางซื้อขายไวน์ โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องสัมผัสโดนกันและกัน
แต่จุดเริ่มต้นจริงๆ ของ Wine Window ต้องย้อนกลับไปไกลกว่านั้น
ในช่วงปี 1532 ครอบครัว Medici ซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูลที่ร่ำรวยและมีอิทธิพลทางการเมืองที่สุดของเมืองฟลอเรนซ์ในยุคนั้น
มีการส่งเสริมให้เหล่าเจ้าของที่ดิน หันมาปลูกมะกอกและองุ่น
ด้วยการยกเว้นภาษี และการอนุญาตให้ขายสินค้าเหล่านี้โดยตรงให้กับลูกค้าได้เลย
มีการส่งเสริมให้เหล่าเจ้าของที่ดิน หันมาปลูกมะกอกและองุ่น
ด้วยการยกเว้นภาษี และการอนุญาตให้ขายสินค้าเหล่านี้โดยตรงให้กับลูกค้าได้เลย
ซึ่งช่องทางการขาย ก็คือ Wine Window นั่นเอง
เรื่องนี้ถือเป็นการตัดพ่อค้าคนกลางออกจากกระบวนการ
ทำให้ประชาชนทั่วไป สามารถซื้อไวน์ได้ในราคาที่สมเหตุสมผลมากขึ้น
และมีส่วนทำให้การบริโภคไวน์กลายเป็นที่นิยมในวงกว้าง
ทำให้ประชาชนทั่วไป สามารถซื้อไวน์ได้ในราคาที่สมเหตุสมผลมากขึ้น
และมีส่วนทำให้การบริโภคไวน์กลายเป็นที่นิยมในวงกว้าง
เราลองมาดูวิธีการใช้ช่อง “Wine Window” นี้กันค่ะ
เริ่มแรกตัวช่องหน้าต่างเล็กๆ นี้ จะถูกปิดด้วยประตูหน้าต่างที่ทำจากไม้
เมื่อลูกค้าต้องการซื้อไวน์ ก็จะส่งสัญญาณด้วยการเคาะ “ก๊อก ก๊อก” ที่แผ่นไม้
หลังจากนั้นเจ้าของร้าน ก็จะยื่นขวดไวน์ผ่านทางช่องนี้ออกมาส่งให้
เมื่อลูกค้าต้องการซื้อไวน์ ก็จะส่งสัญญาณด้วยการเคาะ “ก๊อก ก๊อก” ที่แผ่นไม้
หลังจากนั้นเจ้าของร้าน ก็จะยื่นขวดไวน์ผ่านทางช่องนี้ออกมาส่งให้
โดยลูกค้าสามารถซื้อไวน์ได้ทั้งแบบเป็นขวด หรือจะรีฟิลใส่ขวดของตัวเองก็ได้
ซึ่งหากต้องการแบบรีฟิล คนขายก็จะรินไวน์ผ่านท่อเหล็กที่ยื่นออกมาจากหน้าต่างบานนั้นแทน
ซึ่งหากต้องการแบบรีฟิล คนขายก็จะรินไวน์ผ่านท่อเหล็กที่ยื่นออกมาจากหน้าต่างบานนั้นแทน
ส่วนการจ่ายเงินนั้นก็ปราศจากการสัมผัสตัว
เพราะผู้ซื้อจะวางเงินลงบนถาดเหล็ก
หลังจากนั้นเจ้าของร้านก็จะนำเงินไปล้างกับน้ำส้มสายชูเพื่อฆ่าเชื้อ
เพราะผู้ซื้อจะวางเงินลงบนถาดเหล็ก
หลังจากนั้นเจ้าของร้านก็จะนำเงินไปล้างกับน้ำส้มสายชูเพื่อฆ่าเชื้อ
อย่างไรก็ตามเมื่อการระบาดของโรคจบลง
หน้าต่างส่งไวน์เหล่านี้ ก็ค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลา
บ้างก็ถูกโบกปูนทับ บ้างก็ถูกทำลายทิ้ง
บางแผ่นไม้ก็หายไปพร้อมกับน้ำท่วมครั้งใหญ่
หน้าต่างส่งไวน์เหล่านี้ ก็ค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลา
บ้างก็ถูกโบกปูนทับ บ้างก็ถูกทำลายทิ้ง
บางแผ่นไม้ก็หายไปพร้อมกับน้ำท่วมครั้งใหญ่
จนกระทั่ง เมื่อมีการระบาดของโควิด 19 อย่างรุนแรง
ผู้คนในอิตาลี จึงถูกบีบบังคับให้กลับมาใช้ชีวิตแบบเว้นระยะห่างอย่างเคร่งครัดอีกครั้ง
ผู้คนในอิตาลี จึงถูกบีบบังคับให้กลับมาใช้ชีวิตแบบเว้นระยะห่างอย่างเคร่งครัดอีกครั้ง
ทำให้หลายร้านในเมืองฟลอเรนซ์ ดึงเอาเสน่ห์ของ หน้าต่างส่งไวน์
มาปรับให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน และนำมาเป็นกลยุทธ์ทางการค้า
มาปรับให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน และนำมาเป็นกลยุทธ์ทางการค้า
จากช่องที่เอาไว้ส่งไวน์ในอดีต ก็เปลี่ยนมาเป็นช่องสำหรับส่งอาหารแบบ “Grab & Go” แทน
ซึ่งมีขายทั้งไวน์ เครื่องดื่มอื่นๆ ไอศกรีม และอาหารต่างๆ
ซึ่งมีขายทั้งไวน์ เครื่องดื่มอื่นๆ ไอศกรีม และอาหารต่างๆ
แม้ว่าในภาพรวมโควิด 19 จะเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายไม่ใช่น้อย
แต่ท่ามกลางวิกฤติ ก็มักจะมีสิ่งที่เรียกว่า “โอกาส”
แต่ท่ามกลางวิกฤติ ก็มักจะมีสิ่งที่เรียกว่า “โอกาส”
อย่างโรคระบาดในครั้งนี้ แม้จะทำให้ผู้คนต้องห่างเหินกัน
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็เป็นการพาเสน่ห์อันเก่าแก่ ที่เคยหายไปหลายศตวรรษ
ให้กลับมาใกล้ชิดเราอีกครั้ง..
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็เป็นการพาเสน่ห์อันเก่าแก่ ที่เคยหายไปหลายศตวรรษ
ให้กลับมาใกล้ชิดเราอีกครั้ง..
Reference: