การปลุกปั้น “Lady Dior” กระเป๋าหรูในตำนาน ผ่านเรื่องราวของ Bernard Arnault
Business

การปลุกปั้น “Lady Dior” กระเป๋าหรูในตำนาน ผ่านเรื่องราวของ Bernard Arnault

22 ส.ค. 2024
การปลุกปั้น “Lady Dior” กระเป๋าหรูในตำนาน ผ่านเรื่องราวของ Bernard Arnault /โดย ลงทุนเกิร์ล
ปฏิเสธไม่ได้ว่า แบรนด์หรูแทบทุกแบรนด์จะมีกระเป๋าระดับตำนานอยู่สัก 1 รุ่น เช่น
Hermès จะนึกถึงกระเป๋า Hermès Birkin สัญลักษณ์แห่งความหรูหราและความยากในการครอบครองChanel จะนึกถึงกระเป๋า Chanel Classic ดิไซน์เรียบหรู คลาสสิก ไม่เคยตกยุคFendi จะนึกถึงกระเป๋า Fendi Baguette ที่เป็นที่รู้จักจากซีรีส์ Sex and the City
เช่นเดียวกับแบรนด์ Dior ที่ทุกคนคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่านึกถึงกระเป๋า “Lady Dior”
เรื่องราวของกระเป๋า Lady Dior น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นต้องย้อนไปช่วงต้นปี ค.ศ. 1970 จุดเริ่มต้นที่น่าสนใจของคุณ Arnault กับแบรนด์ Christian Dior เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัท LVMH
โดยช่วงที่คุณ Arnault เดินทางไปสหรัฐอเมริกา เพื่อไปเจรจาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของที่บ้าน
เขาได้ถามคนขับรถแท็กซี่ในนิวยอร์กว่า “คุณรู้จักประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันหรือไม่ ?”
แต่คนขับรถแท็กซี่กลับตอบมาว่า “ผมรู้จักชื่อคนฝรั่งเศสเพียงคนเดียว นั่นก็คือ Christian Dior”
จากบทสนทนาเพียงคำถามเดียว ที่แม้ว่าคนขับรถแท็กซี่เองจะตอบคำถามไม่ตรงประเด็น แต่นี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณ Arnault สนใจเกี่ยวกับแบรนด์หรูฝรั่งเศสขึ้นมา
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1984 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นปีแห่งโอกาสทองของคุณ Arnault เมื่อบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและการผลิตขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าของ Dior เกิดล้มละลาย
คุณ Arnault จึงใช้โอกาสนี้ เข้าโน้มน้าวรัฐบาลของฝรั่งเศสให้ขายกิจการให้กับเขา ซึ่งในตอนนั้น Dior มีหน้าร้านเพียง 3 แห่ง และมียอดขายประมาณ 3,600 ล้านบาท
ซึ่งเหตุผลที่คุณ Arnault อยากควบรวมกิจการแบรนด์หรูหลาย ๆ แบรนด์ นั่นก็เพราะ เขาเชื่อว่าแบรนด์หรูสามารถเติบโตยิ่งใหญ่ได้มากกว่าที่ใคร ๆ จะจินตนาการได้
เพราะแบรนด์หรูไม่ใช่ธุรกิจที่ขายแค่สิ่งของที่จับต้องได้ แต่คือการขายเรื่องราว หรือคุณค่าบางอย่าง ที่แบรนด์มอบให้กับผู้ครอบครอง
นอกจากนี้ หลังจากซื้อกิจการ Dior ยังทำให้คุณ Arnault เกิดแนวคิดว่าการมีหลายแบรนด์ไว้ในครอบครอง ก็คือการเสริมความแข็งแกร่งซึ่งกันและกัน
โดยแบรนด์ที่แข็งแกร่งกว่าจะชดเชยให้กับแบรนด์ที่อ่อนแอกว่า และยังเป็นการให้เวลาสำหรับแบรนด์ใหม่ ที่ต้องสร้างเอกลักษณ์จนเติบโตได้ในอนาคต
ทีนี้กลับมาที่ต้นกำเนิดของกระเป๋า Lady Dior ซึ่งในตอนนั้นคุณ Arnault ก็ตั้งใจให้แบรนด์ Dior มีกระเป๋าถือใบใหม่ที่สามารถเทียบเคียงกับคู่แข่งอย่าง Chanel ได้
โดย Lady Dior ออกแบบโดยคุณ Gianfranco Ferré ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ในขณะนั้น
เขาตั้งใจออกแบบกระเป๋ารูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหูจับโค้งมน และได้แรงบันดาลใจในการสร้างลวดลายตารางในชื่อ “Cannage” ซึ่งมาจากเก้าอี้หวายสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3
อีกทั้งมีเครื่องประดับห้อยกระเป๋าเมทัลลิก ที่ใช้ตัวอักษรตามชื่อแบรนด์ ห้อยอยู่ที่หูจับด้านบน โดยตั้งชื่อกระเป๋านี้ว่า “Chouchou” ที่มีความหมายว่า “ที่โปรดปราน”
ซึ่งในเวลาต่อมา Lady Diana เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ได้เดินทางมายังปารีส เพื่อเข้าชมนิทรรศการศิลปะ Paul Cézanne ร่วมกับประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศสและภรรยา
และเพื่อเป็นเกียรติในการเยี่ยมเยือนครั้งนี้ ภรรยาของท่านประธานาธิบดีจึงมอบของขวัญให้กับเจ้าหญิง Diana เป็นกระเป๋า Chouchou หนังแกะสีดำ
ต่อมา ก็ได้มีภาพถ่ายของเจ้าหญิง Diana หยิบกระเป๋าที่ได้รับเป็นของขวัญนี้มาใช้ จนเป็นกระแสโด่งดังเลยทีเดียว
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้คุณ Arnault ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อกระเป๋าจาก Chouchou ให้กลายเป็น Lady Dior เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าหญิง Diana
ความชื่นชอบในกระเป๋า Lady Dior ของเจ้าหญิง Diana นั้นถึงขั้นที่เคยขอให้แบรนด์ Dior ผลิตกระเป๋าสีน้ำเงินเพื่อให้เข้ากับสีดวงตา และชุดที่จะใช้ออกงาน MET Gala อีกด้วย
ตรงนี้เราจะเห็นว่า กระเป๋า Lady Dior ได้บังเอิญสะท้อนถึงชื่อเก่าอย่าง Chouchou หรือการเป็นที่โปรดปรานได้อย่างลงตัว
เพราะผู้คนได้จดจำกระเป๋า Lady Dior จากการเป็นกระเป๋าใบโปรดที่เจ้าหญิง Diana ใช้ออกงานเป็นไอเทมคู่กายเป็นประจำ แถมยังสามารถเข้าได้กับทุกลุคอีกด้วย
ซึ่งความไวรัลของกระเป๋าในสมัยนั้น ส่งผลให้ Lady Dior สามารถขายได้หลายแสนใบ
กระแสเงินสดที่หลั่งไหลเข้ามาเพียงพอที่ทำให้คุณ Arnault สามารถยกเลิกสัญญากับผู้ผลิตสินค้าของแบรนด์ Dior ที่มีอยู่เดิม ซึ่งเหตุผลหลักก็เพื่อที่จะเข้าควบคุมคุณภาพและราคาให้ทำกำไรได้มากขึ้น
ทั้งนี้คุณ Arnault ยังเปลี่ยนกระบวนการผลิต และเปลี่ยนกลยุทธ์จากเดิมที่เคยลดราคาสินค้า ก็เปลี่ยนเป็นกลยุทธ์ผลิตสินค้าออกมาในจำนวนจำกัด เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นเจ้าของสิ่งที่พิเศษและหาได้ยาก
ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของกระเป๋าระดับตำนานอย่าง Lady Dior ที่แม้เวลาจะผ่านไปนานขนาดไหน แต่ความนิยมไม่เคยลดลง
กระเป๋ารุ่นนี้ยังคงเป็นไอเทมที่สาว ๆ หลายคนใฝ่ฝัน แบรนด์ยังคงเปิดตัว Lady Dior ในหลาย ๆ รุ่น หลาย ๆ สี และหลาย ๆ ขนาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
อีกทั้งการที่มีบุคคลสำคัญอย่าง เจ้าหญิง Diana ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับ Lady Dior โดยปริยาย
ความสำเร็จนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของโชคช่วยเท่านั้น แต่เป็นผลมาจากวิสัยทัศน์และกลยุทธ์อันชาญฉลาดของคุณ Bernard Arnault ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง นั่นเอง..
— โดยหุ้น LVMH อยู่ในกองทุน MEGA10EURO
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัททรงอิทธิพลในยูโรโซน กับ MEGA10EURO
กองทุนเปิด MEGA10EURO ชนิดสะสมมูลค่า (MEGA10EURO-A) ชนิดเพื่อการออม (MEGA10EURO-SSF) และกองทุนเปิด MEGA10EURO เพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA10EURORMF) เป็นกองทุนที่จะเข้าไปลงทุนในบริษัทที่อยู่ใน Euro Stoxx 50 ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มประเทศยูโรโซน
โดยคัดเลือกมาจากบริษัท ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูง และมีสภาพคล่องสูง จำนวน 10 บริษัท เช่น LVMH, L'Oréal, Hermès, Inditex (เจ้าของ Zara) และ EssilorLuxottica*
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
MEGA10EURO-A เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
MEGA10EURO-SSF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว
MEGA10EURORMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
ผู้สนับสนุนการขาย ได้แก่
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัดธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ และเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน
กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ และ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
© 2024 Longtungirl. All rights reserved. Privacy Policy.